๑.มหากาฬผ่านมหายักษ์ ๒.รู้จักธรรม ๓.จำต้องคิด ๔.สนิทธรรม ๕.จำแขนขาด
๖.ราษฏร์ราชาโจร ๗.นั่งทนทุกข์ ๘.ยุคทมิฬ ๙.ถิ่นกาขาว ๑๐.ชาววิไล
*********
คำทำนายที่เคยมีช้านานนัก
เริ่มประจักษ์ให้เห็นเร้นไม่ได้
หลวงพ่อฤาษีลิงดำเคยทำนาย
เมื่อถึงปลายรัชกาลผ่านเข้ามา
ประเทศชาติจะรุ่งเรืองและเฟื่องฟุ้ง
น้ำมันผุดขึ้นมาจนเห็นค่า
พวกกาขาวจะบินรี้หนีเข้ามา
เป็นประชาจนเต็มพระนคร
ชนทั่วโลกจะยกพระองค์ท่าน
ชื่อกระฉ่อนร่อนทั่วทุกสิงขร
ออกพระนามลือชื่อดั่งทินกร
องค์อมรเอกบุรุษแห่งแผ่นดิน
ชาวประชาจะปิติยิ้มสดใส
แต่อกไหม้หนอนกินข้างในสิ้น
จะมีพวกกาฝากคอยกัดกิน
เพื่อให้ได้สิ่งถวิลสมจินตนา
จะมีการต่อตีกันกลางเมือง
ขุนนางเขื่องกังฉินกินทั่วหล้า
คอรัปชั่นจะกัดกร่อนทั้งพารา
ประดุจปลวกกินฝานั้นปะไร
ข้าราชการตงฉินถูกประนาม
สามคนหามสี่คนแห่มาลากไส้
เกิดวิกฤติผิดเพี้ยนโดยทั่วไป
โกลาหลหม่นไหม้ไร้ความดี
ประชาชีจะสับสนเรื่องดีชั่ว
ถ้วนทุกทั่วจะหมุดขุดรูหนี
ไม่แน่ใจสิ่งที่ทำนำความดี
เกรงเป็นผีตายตกไปตามกัน
พุทธศาสน์จะถูกรุกและล้ำ
มิตรเคยค้ำเป็นศัตรูมุ่งอาสัญ
เกิดวิกฤติธรรมชาติอุบาทว์ครัน
พายุลั่นน้ำถล่มดินทลาย
แผ่นดินแยกแตกเป็นสองปกครองยาก
เกิดวิบากทุกข์เข็ญระส่ำระสาย
เกิดการปราบจลาจลชนล้มตาย
เลือดเป็นสายน้ำตานองสองแผ่นดิน
ข้าเป็นนายนายเป็นข้าน่าสมเพช
ผู้มีบุญมีเดชจะสูญสิ้น
ทั้งพฤฒาอาจารย์ลือระบิล
จะร่วงรินดุจใบไม้ต้องสายลม
ความระทมจะถมทับนับเทวศ
ดั่งดวงเนตรมืดบอดสุดขื่นขม
คนที่ดีจะก้มหน้าสุดระทม
ส่วนคนชั่วหัวร่อร่าทำท่าดัง
จะมีหนึ่งนารีขี่ม้าขาว
ควงคฑามุ่งสู่ดาวสร้างความหวัง
ผู้ปกครองจะเป็นหญิงพึงระวัง
สายน้ำหลั่งกรากเชี่ยวหวาดเสียวใจ
ศิวิไลซ์จะบังเกิดในสยาม
หลังฝนคร้ามลั่นครืนจะยืนได้
จะเข้าสู่ยุคมหาชนพาไป
เปลี่ยนเมืองใหม่ศักราชแห่งประชา
คนชั่วจะถูกปราบราบคาบสิ้น
แผ่นดินเดือดสูญหายไร้ปัญหา
ประเทศชาติผ่านวิกฤติด้วยศรัทธา
ยามเมื่อฟ้าศรีทองผ่องอำไพ
รักอร... เสมอ เสียใจนะชีวิตผมมันนับถ้อยหลัง...แล้ว ผมอยากจะบอกอะไรมากมาย แต่ผมก็สื่อถึง อร.. ไม่ได้ ผมขอให้ อร ฟังเพลง รักคงยังไม่พอ .. ของเสือธนพล นะ นั้นคือความในใจของผม เพื่อสักวัน อร... จะให้อภัยผม..
Linux Ubuntu
▼
วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เรื่องราวเบื้องลึกเบื้องหลังของกลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬอีแลมในประเทศศรีลังกา
พยัคฆ์ทมิฬ สิ้นชาติ: Part I The New Justice
http://pantip.com/topic/31113823
พยัคฆ์ทมิฬ สิ้นชาติ: Part II The Tiger Rising
http://pantip.com/topic/31122705
พยัคฆ์ทมิฬ สิ้นชาติ: Part III Carnage
http://pantip.com/topic/31135673
พยัคฆ์ทมิฬ สิ้นชาติ: Epilogue “Nothing Ever Ends”
http://pantip.com/topic/31147710
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ฮิตเลอร์และวาทกรรมต้านประชาธิปไตย
Sat, 2012-07-07 22:17
หลักการสำคัญอย่างหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยในทุกประเทศคือ การปกครองโดยเสียงข้างมากในกรอบเวลาที่ชัดเจน หมายถึงการที่พรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้งโดยได้เสียงในสภามากที่สุดจะได้ สิทธิในการจัดตั้งรัฐบาล และดำเนินนโยบายบริหารประเทศ แต่ในสังคมไทย มักจะมีการผลิตวาทกรรมต่อต้านประชาธิปไตย โดยอ้างกันว่า ประชาธิปไตยที่เป็นอยู่คือเสียงข้างมากลากไป และที่มักจะใช้ยกตัวอย่างกันเสมอก็คือ การเลือกตั้งในเยอรมนี ที่นำมาซึ่งการครองอำนาจของฮิตเลอร์
ในที่นี้จึงจะขออธิบายก่อนว่า ในระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก มีการเลือกตั้งกันมาแล้วมากมาย แต่ก็ไม่ได้นำมาซึ่งการครองอำนาจแบบฮิตเลอร์ หรืออธิบายให้ชัดเจนขึ้นก็คือ การเกิดของระบอบแบบนาซีของฮิตเลอร์นั้นเป็นกรณีพิเศษที่ไม่ได้เกิดขึ้นทั่ว ไป และสิ่งที่มักจะมองข้ามไป คือ บริบทหรือสถานการณ์ที่นำมาซึ่งระบอบเช่นนั้น
อด็อฟ ฮิตเลอร์เกิดในออสเตรียเมื่อ ค.ศ.๑๘๘๙ เขาเป็นผู้ที่มีแนวคิดชาตินิยมเยอรมันแบบขวาจัด ในวัยหนุ่มของเขา ได้เป็นทหารในกองทัพเยอรมนีไปรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และได้รับเหรียญกล้าหาญ ต่อมา ฮิตเลอร์เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ไม่พอใจที่เยอรมนียอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรใน ค.ศ.๑๙๑๙ โดยเห็นว่าเยอรมนีไม่ได้พ่ายแพ้ในสมรภูมิรบ แต่ถูกหักหลังจากฝ่ายพลเรือนและพวกสังคมนิยม ดังนั้น ฮิตเลอร์ยิ่งยอมรับไม่ได้กับสัญญาแวร์ซาย ที่ทำให้เยอรมนีต้องรับผิดชอบในสงครามแต่ผู้เดียว ต้องเสียดินแดน เสียอาณานิคม เสียค่าปฏิกรรมสงคราม และต้องถูกกระทำจนสิ้นสภาพมหาอำนาจ
ใน ค.ศ.๑๙๒๑ เขาได้เป็นหัวหน้าพรรคสังคมชาตินิยม หรือ พรรคนาซี ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีแนวทางขวาจัดที่สุด ที่มุ่งจะพื้นอำนาจเยอรมนี ต่อมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.๑๙๒๓ เขาพยายามก่อรัฐประหารในเมืองมิวนิคที่รู้จักกันว่า กบฏโรงเบียร์ แต่ล้มเหลว ฮิตเลอร์ถูกจำคุกเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งในระหว่างนั้นเองที่เขาเขียนบันทึกความทรงจำเป็นหนังสือชื่อ ไมน์คัมพฟ์(การต่อสู้ของข้าพเจ้า) หลังได้รับการปล่อยตัวเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ.๑๙๒๔ เขาได้รับเสียงสนับสนุนมากขึ้นจากความมั่นคงในการโจมตีสนธิสัญญาแวร์ซาย และต่อต้านคอมมิวนิสต์ และจากการที่เขาเป็นนักพูดที่มีวาทศิลป์และจูงใจคน และหนังสือของเขาก็กลายเป็นหนังสือขายดี แต่กระนั้นในการเลือกตั้ง พรรคของเขาก็ยังได้คะแนนนิยมไม่มากนัก เช่น การเลือกตั้ง ค.ศ.๑๙๒๔ พรรคนาซีได้เสียง ๓ % ต่อมา เลือกตั้งใน ค.ศ.๑๙๒๘ พรรคนาซีเหลือ ๒.๖ % แต่พรรคนาซีมีลักษณะพิเศษคือ มีการจัดตั้งกองกำลังฝ่ายขวาของพรรคด้วย
ค.ศ.๑๙๒๙ เกิดเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ทำให้พรรคนาซีได้รับคะแนนนิยมมากขึ้น ฮิตเลอร์รับอิทธิพลของพรรคฟาสซิสม์อิตาลี และหวังว่าแนวทางแบบฟัสซิสม์จะนำมาใช้แก้ปัญหาของเยอรมนีได้ ปรากฏว่าในการเลือกตั้ง ค.ศ.๑๙๓๐ พรรคนาซีได้คะแนนถึง ๑๘.๓ % ทำให้ได้ที่นั่งในสภามากถึง ๑๐๗ เสียงจากจำนวน ๕๗๗ เสียง หลังจากนั้น พรรคนาซีก็ยิ่งได้คะแนนเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่เคยได้ถึงครึ่ง ใน ค.ศ.๑๙๓๒ ฮิตเลอร์ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานธิบดีกับนายพลฟอน ฮินเดนบูร์ก วีรบุรุษสงคราม ฮิตเลอร์ก็ยังพ่ายแพ้ แต่พรรคนาซีของเขาได้เสียงเพิ่มเป็น ๓๗.๓ % คิดเป็นที่นั่งในสภา ๒๓๐ ที่นั่ง ซึ่งยังไม่ถึงครึ่ง แต่เขาเริ่มได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นนำ ซึ่งหวาดวิตกในการเติบโตของฝ่ายสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้ยังเห็นว่า นโยบายชาตินิยมขวาจัดของพรรคนาซี ตอบสนองต่อประชาชนจำนวนที่ขมขื่นกับสภาวะของสัญญาแวร์ซาย ซึ่งจะทำให้เยอรมนีมีเสถียรภาพ และฟื้นเกียรติในสายตานานาชาติ
ดังนั้น กลุ่มชนชั้นนำเยอรมนี จึงผลักดันให้ประธานธิบดีฮินเดนบูร์กตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งรัฐบาลผสมหลายพรรคบริหารประเทศ โดยมีพรรคฝ่ายขวาอื่นเข้าร่วมด้วย นี่เป็นครั้งแรกที่ฮิตเลอร์เข้าสู่อำนาจ เมื่ออยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาขยายกองกำลังของพรรค และเริ่มใช้นโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์รุนแรงมากขึ้น
จากความขัดแย้งในรัฐบาลผสม ฮิตเลอร์จึงเสนอให้ประธานาธิบดียุบสภา และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนมีนาคม ค.ศ.๑๙๓๓ แต่ปรากฏว่าในวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ อาคารรัฐสภาเยอรมนีถูกวางเพลิง ฮิตเลอร์โจมตีว่าเป็นแผนการของฝ่ายคอมมิวนิสต์ และถือโอกาสออกกฤษฎีกาไฟไหม้สภา เพื่อควบคุมสิทธิพื้นฐานของประชาชน และเปิดโอกาสในการกวาดล้างสมาชิกสหภาพแรงงาน ยุบพรรคคอมมิวนิสต์และกวาดล้างสมาชิกพรรคและกลุ่มฝ่ายซ้าย ทำให้ผู้ต้องสงสัยกว่า ๔,๐๐๐ คนถูกจับกุม จากนั้นก็มีการโฆษณาชวนเชื่ออย่างหนักในเรื่องชาตินิยมเยอรมนี ที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์และฟื้นเกียรติยศแห่งชาติ ทำให้พรรคนาซีชนะได้เสียงมากที่สุดในการเลือกตั้ง แต่ก็ยังได้เสียงเพียง ๔๓.๙ % ได้ที่นั่ง ๒๘๘ ที่นั่งจาก ๖๔๗ ที่นั่ง และนี่เป็นการเลือกตั้งแบบหลายพรรคครั้งสุดท้ายในสมัยนาซี นั่นหมายความว่า ตามความจริงพรรคนาซีไม่เคยได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนในการเลือกตั้งเสรีเลย
หลังจากการเลือกตั้ง รัฐบาลฮิตเลอร์ได้เสนอรัฐบัญญัติยึดอำนาจ ให้รัฐสภาลงมติมอบอำนาจนิติบัญญัติให้รัฐบาลออกกฎหมาย โดยไม่ต้องผ่านสภาผู้แทนได้ ๔ ปี รัฐบาลใช้วิธีการคุกคามให้พรรคฝ่ายกลางสนับสนุน และริดรอนสิทธิพรรคฝ่ายซ้ายที่จะคัดค้าน ทำให้รัฐสภาต้องผ่านกฎหมายนี้ด้วยคะแนนเสียง ๔๔๔ ต่อ ๙๓ เสียง เมื่อได้อำนาจตามกฎหมายมาแล้ว รัฐบาลฮิตเลอร์ก็กลายเป็นเผด็จการเต็มรูปโดยการปราบคู่แข่ง ยุบพรรคสังคมประชาธิปไตยและพรรคฝ่ายกลางอื่น ยุบเลิกและทำลายสหภาพแรงงานทั่วประเทศ และกวาดล้างคู่แข่งทางการเมืองทั้งหมด ทำให้พรรคนาซีกลายเป็นพรรคการเมืองที่ถูกฎหมายเพียงพรรคเดียว จากนั้น จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.๑๙๓๓ โดยมีพรรคนาซีสมัครเพียงพรรคเดียว ทำให้ได้คะแนนเสียงทั้งหมด ๖๖๑ ที่นั่ง และนี่เป็นการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายภายใต้ระบบนาซี เพราะสภาชุดนี้ได้รับการต่ออายุจนสิ้นอำนาจของนาซี
เดือนสิงหาคม ค.ศ.๑๙๓๔ ประธานาธิบดีฮินเดนแบร์กถึงแก่อสัญกรรม รัฐบาลได้ออกกฎหมายรวมอำนาจของประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรี ฮิตเลอร์จึงกลายมาเป็นผู้นำสูงสุดอย่างเป็นทางการ เรียกว่า ฟือแรร์ หรือ ท่านผู้นำ ซึ่งโดยตำแหน่ง ฮิตเลอร์เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด บัญชาการกองทัพเยอรมนีด้วย การรวมตำแหน่งประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรีได้รับการอนุมัติโดยการลงประชามติ เมื่อ ค.ศ.๑๙๓๘ ซึ่งพรรคนาซีได้รับเสียงสนับสนุน ๙๐ % ของผู้ออกมาใช้สิทธิ
สรุปแล้วระบอบของฮิตเลอร์คือระบอบเผด็จการฝ่ายขวา การได้อำนาจของพรรคนาซีต้องถือว่ามาจากการยึดอำนาจ หรือการก่อรัฐประหารโดยการสนับสนุนของกลุ่มนายทุนและนักอุตสาหกรรม ไม่ได้มาจากกระบวนการประชาธิปไตย การรักษาอำนาจใช้การโฆษณาชวนเชื่ออย่างหนัก ให้ถืออุดมการณ์ชาตินิยมเยอรมันสุดขั้ว แล้วสร้างให้ยิวกับคอมมิวนิสต์เป็นศัตรูร้าย ความเสียหายเกิดขึ้นจากกการที่พรรคนาซีได้ใช้อำนาจในการขยายดินแดนในยุโรป แล้วร่วมมือกับอิตาลี กับ ญี่ปุ่น ก่อสงครามโลกครั้งที่สองที่สร้างความเสียหายไปทั่วโลก และการกีดกันเชื้อชาติโดยสังหารหมู่ชาวยิวอย่างเหี้ยมโหดผิดมนุษยธรรม
ตลอดเวลาที่พรรคนาซีอยู่ในอำนาจ ก็ไม่เคยมีศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลไหนมาควบคุมหรือถ่วงดุลเลย หรือกล่าวได้ว่าศาลทั้งหลายสมัยนาซีก็รับใช้พรรคนาซีทั้งสิ้น ไม่ได้มีเกียรติประวัติหรือความกล้าหาญในการตรวจสอบรัฐบาลฮิตเลอร์ อำนาจพรรคนาซีสิ้นสุดลงเพราะเยอรมนีแพ้สงครามใน ค.ศ.๑๙๔๕
กระบวนการของฮิตเลอร์จึงไม่มีอะไรที่จะเรียกได้ว่าเป็น”เผด็จการเสียงข้าง มาก” หรือ “เผด็จการรัฐสภา” เพราะพรรคนาซีไม่ได้เผด็จการโดยอาศัยรัฐสภาแต่อย่างใด และความจริง พรรคที่บริหารประเทศในระบอบประชาธิปไตย ก็ต้องเป็นพรรคที่ได้เสียงข้างมาก แต่ถ้าพรรคนั้นบริหารผิดพลาด คราวต่อไปก็จะเป็นสิทธิของพรรคอื่นที่จะต้องมาด้วยเสียงข้างมากเช่นกัน นี่เป็นกติกาประชาธิปไตย
ดังนั้นวาทกรรมเรื่องเผด็จการเสียงข้างมากก็เป็นวาทกรรมลวง และอ้างกันว่า ระบอบประชาธิปไตยนำมาซึ่งนักการเมืองฮิตเลอร์แล้วต้องเอาศาลมาปกป้องก็เป็น เรื่องอ้างผิด สะท้อนถึงความโง่ในการอ้างเหตุผลของพวกฝ่ายขวาไทยนั่นเอง
http://prachatai.com/journal/2012/07/41433
วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
คลิปวอลเลย์บอลสาวไทย
วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
* เรื่องคดีที่ดินรัชดาฯ ที่คุณหญิงพจมารซื้อ *
ประเด็นที่นักกฏหมายเค้าวิเคราะห์อีกประเด็น
คือคำว่าคู่สัญญาหรือการ เข้าทำสัญญากับรัฐของคุณหญิงพจมาน ว่าไม่ได้เป็นการทำสัญญาหรือสัมปทานตาม ความหมายมาตรา 100 เพราะกฏหมายว่าด้วยการประมูล เป็นกฏหมายเฉพาะ บัญญัติว่าผู้ที่ประมูลได้ ทรัพย์สินจะถูกโอนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประมูลทันทีที่เคาะไม้ โดยผลของกฏหมาย ไม่ต้องรอทำสัญญา(ตามมาตรา100) เพราะฉะนั้น คุณหญิงอ้อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินไปแล้ว โดยไม่ต้องเข้าเป็นคู่สัญญาตามมาตรา 100 พิธีการต่างๆ ที่กองทุนจัดให้ส่งเอกสารเพื่อทำสัญญารับโอนที่ดินตามปพพ.แพ่ง ลักษณะที่ดิน
จึงเป็นการกระทำที่เกินจำเป็น เนื่องจากมันมีผลตามกฏหมายไปแล้ว..อันนี้ก็เป็นอีกประเด็นที่ถกเถียงกันในแวดวงกฏหมาย
ม.100
ประเด็นที่ว่า มีอำนาจกำกับ ดูแล
การ ขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ไม่ต้องปฎิบัติตามคำสั่งมติคณะรัฐมนตรี — อังคารที่ 22 กันยายน 1998 18:32:00 น.
–ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุด นายชวน หลีกภัย)–วันที่ 22 กันยายน 2541–
ทำเนียบรัฐบาล–22 ก.ย.–บิสนิวส์
คณะ รัฐมนตรีอนุมัติการขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ พัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
*********
คลิป เรืองไกร วิเคราะห์ คดีรัชดา
*********
ประเด็นที่ตัดสิน ให้ผิดที่ ม.100(1) วรรค 3
ม.100(1) มีวรรคเดียว ไม่มีวรรค 3 ไม่มีในข้อกฏหมาย
แต่ตัดสินว่าให้มีความผิดที่มีใน กม. ก็มันไม่มีใน กม. ไง
ดู กม. ม.100(1) มี () 1 2 3 4 แต่ไม่ใน (1) มีวรรคเดียวครับไม่มีวรรค 3
*********
ประเด็นการตัดสิน เป็นคดีอาญาได้ต้องมี เจตนา
ที่พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 จึงเท่ากับว่าผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนที่ออกเสียงเป็นคนสุดท้ายได้ลงมติว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า น่าจะเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 39 วรรคสอง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 และมาตรา 184 จึงมีข้อพิจารณาว่าเป็นการลงมติที่ถูกต้องหรือไม่ คำพิพากษาคดีนี้สามารถยืนยันได้แท้จริงหรือไม่ว่าพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 ควรต้องรับโทษในทางอาญาหรือไม่
*********
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 39 บัญญัติว่า “บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลากระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้น จะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้ ใน คดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด”
2. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 บัญญัติว่า “ให้ศาลใช้ดุลพินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงอย่าพิพากษาลงโทษจนกว่า จะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น เมื่อมีความ สงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย”
3. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 184 บัญญัติว่า “ในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้อธิบดีผู้พิพากษา ข้าหลวงยุติธรรม หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้น หรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคนให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมากถ้าในปัญหาใดมีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย หรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไปจะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอมเห็นด้วยผู้พิพากษา ซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า”
*********
ประเด็นที่ว่า ธปท. เป็นหน่วยงานของรัฐหรือไม่ ในขณะที่ทำสัญญาซื้อขาย
สลิ่มมักอ้างตรงนี้ใน โซเชียล
พรบ.ธปท. ได้กำหนดให้มีสถานภาพเป็นนิติบุคลและเป็นหน่วยงานของรัฐมาตั้งแต่วันเริ่มออก พรบ.ในปี พ.ศ. 2485
ภาพข้างบนนี้นี้ มันเป็น พรบ. ฉบับปี 2551 ครับ...
ภาพข้างล่างนี้ เป็นของ จริง 2548 ครับ...
ตาม Link นี้นะครับ...
พรบ. ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548
*********
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นนิติบุคคล และได้เปิดดำเนินการ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485
ต่อมาได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เพื่อให้ความรับผิดชอบของ ธปท. ต่อสาธารณชนมีความชัดเจนยิ่งขึ้นและมีกลไกป้องกันวิกฤติเศรษฐกิจ ตลอดจนกระบวนการตัดสินใจของ ธปท. มีความโปร่งใสและสร้างธรรมาภิบาลในองค์กร รวมทั้งสาธารณชนสามารถตรวจสอบและ รับทราบการทำงานของ ธปท. มากยิ่งขึ้น โดยมีผลบังคับใช้พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2551
--------------------------------------------------------------------
นั่นคือ ก่อนวันที่ 4 มี.ค. 51 ----> ธปท.เป็น "นิติบุคคล" แน่นอน
และ เมื่อปี 2546 นั้น ได้สอบถามไปที่สำนักงานกฤษฎีกาแล้วซื้อได้หรือไม่ ซึ่ง สนง.กฤษฎีกา พิจารณาแล้วว่า กองทุนฟื้นฟูเป็นของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งระบุว่าเป็นนิติบุคคล ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐจึงไม่ได้เป็นคู่สัญญากับรัฐ สามารถซื้อได้
*********
แต่มีคน "เชื่อได้ว่า" เป็นหน่วยงานรัฐมาตั้งแต่ ปี 2485
โดย นำ พรบ. ปี 2542 มาประกอบการตัดสินใจ
อ่านดู ก็ดูมีเหตุผลนะครับ แต่ ถ้าจะอ้างตามนั้นก็...
พรบ. 2548 นั้น กำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่า เป็น นิติบุคคล
เพราะถ้าเป็นของรัฐแต่เดิม จะมาแก้ไข ม.6 ( ปี 2551 )ทำมัย...
และเมื่อ ธปท. เป็น นิติบุคคล แล้วทำมัย กองทุนฟื้นฟูของ ธปท. จึงไปเป็นหน่วยงานรัฐ
อ้างไม่ได้ ตาม พรบ. 2542 เพราะ ธปท. เป็น นิติบุคคล เอาเงิน นิติบุคคล ไปลงทุน กับ นิติบุคคล ไม่ใช่เงินรัฐ (ถึงจะเป็นเงินของรัฐ แต่รัฐให้สิทธิในการนำไปใช้ เพราะทำในนามนิติบุคคล) ไปลงทุนใน นิติบุคคล
การประมูลนั้น กองทุนฟื้นฟูฯ ทราบหรือไม่ว่าตัวเองเป็นของรัฐ
ถ้าทราบว่าตัวเองเป็นของรัฐ วันทำสัญญา รับเงินคุณหญิง
ไม่รู้เหรอครับว่าคุณหญิง เป็นเมียนายกฯ
แล้วเอกสาร ที่ท่านนายก เซ็นต์รับรองให้แนบไปด้วยนั้น
ก็ไม่รู้อีกว่า นายกชื่ออะไร
เป็นใครจะเชื่อครับว่า กองทุนฯ ไม่รู้
ผมว่าเค้ารู้ครับ ว่าคุณหญิงพจมาร เป็นภรรยาท่านนายก
แต่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็น หน่วยงานของรัฐต่างหาก
ประเด็น มันไม่ได้อยู่ที่ว่าท่านนายก เข้าประมูลงานรัฐ
แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า หน่วยงานนั้น ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นหน่วยงานรัฐ
อย่างนี้ฟ้องกลับได้มัย... ว่าหน่วยงานรัฐ ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ
ทำให้ ผู้ประมูลได้รับความเสียหาย
*********
เรื่อง ให้วันที่ 31 ธค. 46 เป็นวันทำงาน
เขาทำสัญญากันวันที่ 30 ธันวา 2546
แล้วที่เขาให้ทำงานกันวันที่ 31 ธันวา 2546 เพราะว่ามันเป็นวันพุธ
วันที่ 1 เป็นวันพฤหัส
* ราชการต้องมาทำงานกันวันศุกร์ *
แบบปกติ แถบสีแดง หยุด แถบสีเหลือง ยังต้องมาทำงาน
อ พ พฤ ศ ส อา
30 31 1 2 3 4
เค้าก็เลยปรับให้เป็นแบบนี้
อ พ พฤ ศ ส อา
30 31 1 2 3 4
เขาเลยเลื่อนออกไป 1 วัน จะได้หยุดยาว ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ไปเลย
ไม่ได้เกี่ยวกับวันทำสัญญาซักนิดเดียว
* การเลื่อนวันหยุดปีใหม่ เพื่อให้ได้ประโยชน์ *
มี การกล่าวอ้างว่าเหตุผลที่เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติเลื่อนวันหยุดปีใหม่ จากวันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันที่ 2 มกราคม โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้ประชาชนได้หยุดยาวตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 4 มกราคม พ.ศ. 2547 [1] เพื่อให้การซื้อขายที่ดินรัชดา สามารถดำเนินการได้ทันสิ้นปี เพื่อเสียค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน เฉพาะกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ในอัตราลดหย่อน เพียง 0.01% [2] ที่มีผลใช้บังคับถึงสิ้นปี พ.ศ. 2546 แต่ต่อมาในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2546 กรมที่ดินได้ขยายระยะเวลาใช้อัตราลดหย่อน ไปอีก 1 ปีจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2547 [3] และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจริงเกิดขึ้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2546″
จะเห็นได้ว่าแม้ทักษิณจะไม่ประกาศเลื่อนหยุด
จากวันที่ 31 ธ.ค.46 เป็นวันที่ 2 ม.ค.47
เขาก็โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ในอัตราลดหย่อน 0.01%
เพราะเขาโอนวันที่ 30 ธ.ค.46 ไม่ใช่วันที่ 31 ธ.ค.46
ตามที่มีการกล่าวหาหรือเข้าใจกันผิดๆ
แถมอัตราการลดหย่อนภาษีที่ดินก็ทำกันเรื่อยๆ
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทางอ้อมเพื่อให้คนเร่งตัดสินใจซื้อบ้าน
ก็จะมีการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ทำให้คนตกงานน้อยลง
และธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านอสังหาริมทรัพย์ก็จะบูมขึ้น
เศรษฐกิจจะได้ดีขึ้น เป็นมาตรการที่แทบจะทุกรัฐบาลใช้
ในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ค่อยจะดีนัก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น
แถมกรณีนี้ กรมที่ดินก็ยังต่อให้อีกในปี 47
ดังนั้นต่อให้เขาเซ็นต์สัญญาไม่ทันปี 46 จริง
เขาก็มาเซ็นต์วันไหนก็ได้ในปี 47 ได้ลดหย่อนภาษีเหมือนกัน
ดังนั้นข้อกล่าวหาเรื่องนี้จึงเป็นข้อกล่าวหามั่วๆ อีกเรื่องหนึ่ง
คือคำว่าคู่สัญญาหรือการ เข้าทำสัญญากับรัฐของคุณหญิงพจมาน ว่าไม่ได้เป็นการทำสัญญาหรือสัมปทานตาม ความหมายมาตรา 100 เพราะกฏหมายว่าด้วยการประมูล เป็นกฏหมายเฉพาะ บัญญัติว่าผู้ที่ประมูลได้ ทรัพย์สินจะถูกโอนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประมูลทันทีที่เคาะไม้ โดยผลของกฏหมาย ไม่ต้องรอทำสัญญา(ตามมาตรา100) เพราะฉะนั้น คุณหญิงอ้อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินไปแล้ว โดยไม่ต้องเข้าเป็นคู่สัญญาตามมาตรา 100 พิธีการต่างๆ ที่กองทุนจัดให้ส่งเอกสารเพื่อทำสัญญารับโอนที่ดินตามปพพ.แพ่ง ลักษณะที่ดิน
จึงเป็นการกระทำที่เกินจำเป็น เนื่องจากมันมีผลตามกฏหมายไปแล้ว..อันนี้ก็เป็นอีกประเด็นที่ถกเถียงกันในแวดวงกฏหมาย
ม.100
ประเด็นที่ว่า มีอำนาจกำกับ ดูแล
การ ขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ไม่ต้องปฎิบัติตามคำสั่งมติคณะรัฐมนตรี — อังคารที่ 22 กันยายน 1998 18:32:00 น.
–ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุด นายชวน หลีกภัย)–วันที่ 22 กันยายน 2541–
ทำเนียบรัฐบาล–22 ก.ย.–บิสนิวส์
คณะ รัฐมนตรีอนุมัติการขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ พัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
*********
คลิป เรืองไกร วิเคราะห์ คดีรัชดา
*********
ประเด็นที่ตัดสิน ให้ผิดที่ ม.100(1) วรรค 3
ม.100(1) มีวรรคเดียว ไม่มีวรรค 3 ไม่มีในข้อกฏหมาย
แต่ตัดสินว่าให้มีความผิดที่มีใน กม. ก็มันไม่มีใน กม. ไง
ดู กม. ม.100(1) มี () 1 2 3 4 แต่ไม่ใน (1) มีวรรคเดียวครับไม่มีวรรค 3
*********
ประเด็นการตัดสิน เป็นคดีอาญาได้ต้องมี เจตนา
ที่พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 จึงเท่ากับว่าผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนที่ออกเสียงเป็นคนสุดท้ายได้ลงมติว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า น่าจะเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 39 วรรคสอง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 และมาตรา 184 จึงมีข้อพิจารณาว่าเป็นการลงมติที่ถูกต้องหรือไม่ คำพิพากษาคดีนี้สามารถยืนยันได้แท้จริงหรือไม่ว่าพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 ควรต้องรับโทษในทางอาญาหรือไม่
*********
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 39 บัญญัติว่า “บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลากระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้น จะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้ ใน คดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด”
2. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 บัญญัติว่า “ให้ศาลใช้ดุลพินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงอย่าพิพากษาลงโทษจนกว่า จะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น เมื่อมีความ สงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย”
3. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 184 บัญญัติว่า “ในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้อธิบดีผู้พิพากษา ข้าหลวงยุติธรรม หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้น หรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคนให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมากถ้าในปัญหาใดมีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย หรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไปจะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอมเห็นด้วยผู้พิพากษา ซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า”
*********
ประเด็นที่ว่า ธปท. เป็นหน่วยงานของรัฐหรือไม่ ในขณะที่ทำสัญญาซื้อขาย
สลิ่มมักอ้างตรงนี้ใน โซเชียล
พรบ.ธปท. ได้กำหนดให้มีสถานภาพเป็นนิติบุคลและเป็นหน่วยงานของรัฐมาตั้งแต่วันเริ่มออก พรบ.ในปี พ.ศ. 2485
ภาพข้างบนนี้นี้ มันเป็น พรบ. ฉบับปี 2551 ครับ...
ภาพข้างล่างนี้ เป็นของ จริง 2548 ครับ...
ตาม Link นี้นะครับ...
พรบ. ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548
*********
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นนิติบุคคล และได้เปิดดำเนินการ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485
ต่อมาได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เพื่อให้ความรับผิดชอบของ ธปท. ต่อสาธารณชนมีความชัดเจนยิ่งขึ้นและมีกลไกป้องกันวิกฤติเศรษฐกิจ ตลอดจนกระบวนการตัดสินใจของ ธปท. มีความโปร่งใสและสร้างธรรมาภิบาลในองค์กร รวมทั้งสาธารณชนสามารถตรวจสอบและ รับทราบการทำงานของ ธปท. มากยิ่งขึ้น โดยมีผลบังคับใช้พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2551
--------------------------------------------------------------------
นั่นคือ ก่อนวันที่ 4 มี.ค. 51 ----> ธปท.เป็น "นิติบุคคล" แน่นอน
และ เมื่อปี 2546 นั้น ได้สอบถามไปที่สำนักงานกฤษฎีกาแล้วซื้อได้หรือไม่ ซึ่ง สนง.กฤษฎีกา พิจารณาแล้วว่า กองทุนฟื้นฟูเป็นของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งระบุว่าเป็นนิติบุคคล ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐจึงไม่ได้เป็นคู่สัญญากับรัฐ สามารถซื้อได้
*********
แต่มีคน "เชื่อได้ว่า" เป็นหน่วยงานรัฐมาตั้งแต่ ปี 2485
โดย นำ พรบ. ปี 2542 มาประกอบการตัดสินใจ
อ่านดู ก็ดูมีเหตุผลนะครับ แต่ ถ้าจะอ้างตามนั้นก็...
พรบ. 2548 นั้น กำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่า เป็น นิติบุคคล
เพราะถ้าเป็นของรัฐแต่เดิม จะมาแก้ไข ม.6 ( ปี 2551 )ทำมัย...
และเมื่อ ธปท. เป็น นิติบุคคล แล้วทำมัย กองทุนฟื้นฟูของ ธปท. จึงไปเป็นหน่วยงานรัฐ
อ้างไม่ได้ ตาม พรบ. 2542 เพราะ ธปท. เป็น นิติบุคคล เอาเงิน นิติบุคคล ไปลงทุน กับ นิติบุคคล ไม่ใช่เงินรัฐ (ถึงจะเป็นเงินของรัฐ แต่รัฐให้สิทธิในการนำไปใช้ เพราะทำในนามนิติบุคคล) ไปลงทุนใน นิติบุคคล
การประมูลนั้น กองทุนฟื้นฟูฯ ทราบหรือไม่ว่าตัวเองเป็นของรัฐ
ถ้าทราบว่าตัวเองเป็นของรัฐ วันทำสัญญา รับเงินคุณหญิง
ไม่รู้เหรอครับว่าคุณหญิง เป็นเมียนายกฯ
แล้วเอกสาร ที่ท่านนายก เซ็นต์รับรองให้แนบไปด้วยนั้น
ก็ไม่รู้อีกว่า นายกชื่ออะไร
เป็นใครจะเชื่อครับว่า กองทุนฯ ไม่รู้
ผมว่าเค้ารู้ครับ ว่าคุณหญิงพจมาร เป็นภรรยาท่านนายก
แต่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็น หน่วยงานของรัฐต่างหาก
ประเด็น มันไม่ได้อยู่ที่ว่าท่านนายก เข้าประมูลงานรัฐ
แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า หน่วยงานนั้น ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นหน่วยงานรัฐ
อย่างนี้ฟ้องกลับได้มัย... ว่าหน่วยงานรัฐ ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ
ทำให้ ผู้ประมูลได้รับความเสียหาย
*********
เรื่อง ให้วันที่ 31 ธค. 46 เป็นวันทำงาน
เขาทำสัญญากันวันที่ 30 ธันวา 2546
แล้วที่เขาให้ทำงานกันวันที่ 31 ธันวา 2546 เพราะว่ามันเป็นวันพุธ
วันที่ 1 เป็นวันพฤหัส
* ราชการต้องมาทำงานกันวันศุกร์ *
แบบปกติ แถบสีแดง หยุด แถบสีเหลือง ยังต้องมาทำงาน
อ พ พฤ ศ ส อา
30 31 1 2 3 4
เค้าก็เลยปรับให้เป็นแบบนี้
อ พ พฤ ศ ส อา
30 31 1 2 3 4
เขาเลยเลื่อนออกไป 1 วัน จะได้หยุดยาว ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ไปเลย
ไม่ได้เกี่ยวกับวันทำสัญญาซักนิดเดียว
* การเลื่อนวันหยุดปีใหม่ เพื่อให้ได้ประโยชน์ *
มี การกล่าวอ้างว่าเหตุผลที่เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติเลื่อนวันหยุดปีใหม่ จากวันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันที่ 2 มกราคม โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้ประชาชนได้หยุดยาวตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 4 มกราคม พ.ศ. 2547 [1] เพื่อให้การซื้อขายที่ดินรัชดา สามารถดำเนินการได้ทันสิ้นปี เพื่อเสียค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน เฉพาะกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ในอัตราลดหย่อน เพียง 0.01% [2] ที่มีผลใช้บังคับถึงสิ้นปี พ.ศ. 2546 แต่ต่อมาในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2546 กรมที่ดินได้ขยายระยะเวลาใช้อัตราลดหย่อน ไปอีก 1 ปีจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2547 [3] และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจริงเกิดขึ้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2546″
จะเห็นได้ว่าแม้ทักษิณจะไม่ประกาศเลื่อนหยุด
จากวันที่ 31 ธ.ค.46 เป็นวันที่ 2 ม.ค.47
เขาก็โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ในอัตราลดหย่อน 0.01%
เพราะเขาโอนวันที่ 30 ธ.ค.46 ไม่ใช่วันที่ 31 ธ.ค.46
ตามที่มีการกล่าวหาหรือเข้าใจกันผิดๆ
แถมอัตราการลดหย่อนภาษีที่ดินก็ทำกันเรื่อยๆ
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทางอ้อมเพื่อให้คนเร่งตัดสินใจซื้อบ้าน
ก็จะมีการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ทำให้คนตกงานน้อยลง
และธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านอสังหาริมทรัพย์ก็จะบูมขึ้น
เศรษฐกิจจะได้ดีขึ้น เป็นมาตรการที่แทบจะทุกรัฐบาลใช้
ในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ค่อยจะดีนัก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น
แถมกรณีนี้ กรมที่ดินก็ยังต่อให้อีกในปี 47
ดังนั้นต่อให้เขาเซ็นต์สัญญาไม่ทันปี 46 จริง
เขาก็มาเซ็นต์วันไหนก็ได้ในปี 47 ได้ลดหย่อนภาษีเหมือนกัน
ดังนั้นข้อกล่าวหาเรื่องนี้จึงเป็นข้อกล่าวหามั่วๆ อีกเรื่องหนึ่ง
วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
### ทำบุญเดือน พฤศจิกายน 2556
สร้างโรงกรองน้ำดื่มให้สงฆ์ชาวบ้านผู้ป่วย
*********
บุญเทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์ วัดโพธิญาณรัวสี
*********
ร่วมปล่อยปู
*********
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจากพายุไต้ฝุ่น"ไห่เยี่ยน"
*********
บุญกฐิน-ใส่ในกระทงปล่อยเคราะห์
*********
กฐินตกค้าง 9 วัด จังหวัดน่าน
*********
กฐินบังคลาเทศ 2556
*********
เจ้าภาพกัณฑ์เทศน์มหาชาติ 1 กัณฑ์
*********
บุญเทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์ วัดโพธิญาณรัวสี
*********
ร่วมปล่อยปู
*********
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจากพายุไต้ฝุ่น"ไห่เยี่ยน"
*********
บุญกฐิน-ใส่ในกระทงปล่อยเคราะห์
*********
กฐินตกค้าง 9 วัด จังหวัดน่าน
*********
กฐินบังคลาเทศ 2556
*********
เจ้าภาพกัณฑ์เทศน์มหาชาติ 1 กัณฑ์