Linux Ubuntu

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

บทที่ 1 ประมาณสถานการณ์

อันสงครามนั้น เป็นเรื่องสำคัญของประเทศชาติ เป็นแหล่งแห่งความเป็นความตาย เป็นเหตุแห่งการดำรงอยู่หรือดับสูญ จักไม่พินิจ พิเคราะห์มิได้ ฉะนั้น พึงวิเคราะห์จากห้าเรื่อง นำมาเปรียบเทียบเพื่อประเมิน ให้ถ่องแท้ในสภานะการณ์หนึ่งคือคุณธรรม สองคือลมฟ้าอากาศ สามคือภูมิประเทศ สี่คือแม่ทัพ ห้าคือกฎระเบียบ

ที่ว่าคุณธรรมคือ สิ่งที่ทำให้ทวยราษฎร์และเบื้องบนมีเจตนารมณ์ร่วมกัน ร่วมเป็นก็ได้ ร่วมตายก็ได้ ทวยราษฎร์มิหวั่นอันตราย

ที่ว่าล้มฟ้า ก็คือ สว่างหรือมืด หนาวหรือร้อน ฤดูนี้หรือฤดูนั้น
ที่ว่าภูมิประเทศ ก็คือ สูงหรือต่ำ ใกล้หรือไกล คับขันหรือราบเรียบ กว้างหรือแคบ เป็นหรือตาย

ที่ว่าแม่ทัพ ก็คือ สติปัญญา ศรัทธา เมตตา กล้าหาญ เข้มงวด
ที่ว่ากฎระเบียบ ก็คือ ระบบจัดกำลัง ระบบยศตำแหน่ง ระบบพลาธิการ

ทั้งห้าเรื่องนี้ แม่ทัพพึงรู้แจ้ง ผู้รู้จักชนะ ผู้ไม่รู้จักไม่ชนะ ในสถานการณ์ กล่าวคือ เจ้านายมีคุณธรรมหรือไม่? แม่ทัพสามารถหรือไม่? ฟ้าดินอำนวยหรือไม่? วินัยเข้มงวดหรือไม่? กองทัพเข้มเข็งหรือไม่? ทหารฝึกดีหรือไม่? การรางวัลลงโทษแจ่มชัดหรือไม่? เรารู้ฝ่ายแพ้ฝ่ายชนะได้จากนี้ แม่ทัพใดเชื่อแผนศึกเรา ใช้ก็จักชนะ ให้เอาตัวไว้ แม่ทัพใดไม่เชื่อแผนศึกเรา ใช้ก็จักแพ้ ให้ปลดออกไป เมื่อการประเมินผลดีเป็นที่รับฟัง ก็ให้สร้างพลานุภาพขึ้น เพื่อเป็นส่วนช่วยแผนศึก ที่ว่าพลานุภาพ ก็คือการปฎิบัติการตามสภาพอันจะก่อให้เกิดผลนั่นเอง

อันสงครามนั้น คือการใช้เล่ห์เพทุบาย ฉะนั้น รบได้ให้แสดงว่ารบไม่ได้ จะรุกให้แสดงไม่รุก ใกล้ให้แสดงว่าไกล ไกลให้แสดงใกล้ ให้ล่อด้วยผลประโยชน์ ให้ชิงเมื่อระส่ำระสาย ข้าศึกแน่นให้เตรียมรับ ข้าศึกแข็งให้หลีกเลี่ยง ข้าศึกโกรธง่ายให้ก่อกวน ข้าศึกยโสให้เหิมเกริม ข้าศึกสบายให้เหนื่อยล้า ข้าศึกกลมเกลียวให้แยกสลาย ให้จู่โจมเมื่อไม่ระวัง ให้รุกรานเมื่อไม่คาดคิด นี้คืออัจฉริยะของนักการทหาร อันจักกำหนดล่วงหน้ามิได้

การประเมินศึกในศาลเทพารักษ์ก่อนรบบ่งบอกชัยชนะ เพราะคำนวณผลได้มากกว่า การประเมินผลในศาลเทพารักษ์ก่อนรบบ่งบอกไม่ชนะ เพราะคำนวณผลได้น้อยกว่า คำนวณผลได้มีมากก็จะชนะ คำนวณผลได้มีน้อยก็แพ้ ถ้าไม่คำนวณก็จักไม่ปรากฏผล เราพิจารณาจากนี้ ก็ประจักษ์ในชัยชนะหรือพ่ายแพ้แล้ว
บทวิเคราะห์

บทที่ 1 ซุนวูได้อธิบายถึงความสำคัญของการค้นคว้าและการวางแผนสงคราม ตลอดจนได้วิเคราะห์เงือนไขการทำสงครามของคู่ศึก วินิจฉัยความมีชัยหรือพ่ายแพ้ และปัญหาบทบาทการบัญชาการของแม่ทัพในสงคราม เป็นต้น อันเรียกว่าได้เป็นปัญหาพื้นฐานของสงครามไว้อย่างมีเอกลักษณ์ของตนเอง

ซุนวูได้กล่าวเป็นคำแรกในบทแรกแห่งตำราพิชัยสงครามของตนว่า “อันการสงครามนั้น เป็นเรื่องสำคัญของชาติ เป็นแหล่งแห่งความเป็นความตาย เป็นเหตุแห่งการดำรงอยู่หรือดับสูญ จังไม่พินิจพิเคราะห์ไม่ได้” ซุนวูได้เน้นเป็นพิเศษในประเด็นการเปิดฉากการสงครามว่า จะต้องวิเคราะห์เงือนไขต่างๆของคู่ศึก และค้นคว้ากำหนดแผนการรบ ซุนวูเห็นว่าจะต้องวิเคราะห์และเปรียบเทียบทั้งสองฝ่ายอย่างจริงจัง จาก “คุณธรรม ลมฟ้า อากาศ ภูมิประเทศ แม่ทัพ กฎระเบียบ” อันเป็น 5 เรื่อง “เจ้านายมีคุณธรรมหรือไม่ แม่ทัพสามารถหรือไม่” “ฟ้าดินอำนายหรือไม่” “วินัยเข้มงวดหรือไม่” “กองทัพเข้มเเข็งหรือไม่” “ทหารฝึกดีหรือไม่” และ จากนี้จะสามารถคาดคะเนถึงความมีชัยและพ่ายแพ้ของสงครามได้ จึงเห็นได้ว่าซุนวูได้สร้างการวางแผนสงครามอยู่บนพื้นฐานของการยึดถือสภาพ ความเป็นจริงหรือวัตถุนิยมแบบเรียบง่าย แตกต่างกันขั้นรากเหง้ากับการวางแผนการรบโดยอาศัยการเสี่ยงทายเพื่อให้รู้ผล แพ้ชนะของสงครามแบบงมงาย อันเป็นวิธีการที่มิได้อยู่บนพื้นฐานและคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

ในการอธิบายเงื่อนไขแห่งชัยชนะนั้น ซุนวูได้ยกเอา “คุณธรรม” มาไว้เป็นอันดับต้นของ “5 เรื่อง” เห็นว่าการที่กลุ่มผลประโยชน์ที่เกิดใหม่จะช่วงชิงให้ได้มาซึ่งชัยชนะของสงครามนั้น ต้องทำให้ได้ถึงขั้น “ทวยราษฎร์และเบื้องบนมีเจตนารมณ์ร่วมกัน” ดังนี้จึงจะสามารถทำให้ราษฎรและไพร่ผล “ร่วมเป็นก็ได้ ร่วมตายก็ได้ มิหวั่นอันตราย” การถือเอา “คุณธรรม” “ลมฟ้าอากาศ” “ถูมิประเทศ” “แม่ทัพ” “กฎระเบียบ” เป็นเงื่อนไขแห่งชัยชนะ

จะขยายบทบาทของแม่ทัพอย่างไรในวิถีดำเนินของสงครามเป็นเนื้อหาสำคัญ ประการหนึ่งที่ซุนวูได้อธิบายไว้ในหนังสือเล่มนี้ เขาเน้นว่าเมื่อแผนศึกได้กำหนดลงไปแล้ว แม่ทัพก็จะต้อง “ปฏิบัติตามสถาพอันจะก่อให้เกิดผล” เพื่อสร้างพลานุภาพอันเป็นผลดีแก่สงครามขึ้น

ซุนวูได้เสนอว่า”อันสงครามนั้น คือการใช้เล่ห์เพทุบาย” ซึ่งเป็นความเห็นในแง่ “การศึกมิหน่ายเล่ห์” เรียกร้องให้แม่ทัพสันทัดในการใช้มาตรการต่าง ๆ นานาปกปิดความมุ่งหมายของตนหลอกล่อข้าศึกให้ฉงน สร้างความเข้าใจผิดและการคิดไม่ถึงแก่ฝ่ายตรงข้าม เพื่อที่จะ “ให้จู่โจมเมื่อไม่ระวัง ให้รุกรบเมื่อไม่คาดคิด” “รุกกระหน่ำข้าศึกอย่างมิรั้งรอ”

การคำนวณศึกก่อนทำสงครามนั้น ต้องบ่งบอกถึงชัยชนะหรือแพ้ก่อน ที่ว่าได้ชัยชนะเพราะว่าประเมินแล้วผลได้มากกว่า ที่ว่าแพ้เพราะประเมินแล้วผลได้มีน้อยกว่า ต้องประเมินให้รู้ผลแพ้ชนะก่อนจึงค่อยรบ

การประเมินศึก นี้ถือกันว่าเป็นแม่บทของ “ตำราพิชัยสงความซุนวู” บทอื่นจะได้แจกแจงให้กว้างออกไปจาก บทที่ 1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น