อันหลักแห่งการบัญชาทัพนั้น มียุทธภูมิซ่านเซ็น มียุทะภูมิเบา มียุทธภฺมิยื้นแย่ง มียุทธภูมิคาบเกี่ยว มียุทธภูมิสันจร มียุทธภูมิหนัก มียุทธภูมิวิบาก มียุทธภูมิโอบล้อม มียุทธภูมิมรณะ
เจ้าครองแคว้นรบในแดนตน เรียกว่ายุทธภูมิซ่านเซ็น
รุกเข้าแดนผู้อื่นไม่ลึก เรียกว่ายุทธภูมิเบา
เราได้ก็มีประโยชน์ เขาได้ก็มีประโยชน์ เรียกว่ายุทธภูมิยื้อแย่ง
เราไปก็ได้ เขามาก็ได้ เรียกว่ายุทธภูมิคาบเกี่ยว
เขตแดนต่อแดนสามฝ่าย ใครถึงก่อนจะได้มิตรมากหลายในปฐพี เรียกว่ายุทธภูมิสัญจร
รบลึกเข้าแดนผู้อื่น ทิ้งเมืองมากหลายไว้เบื้องหลัง เรียกว่ายุทธภูมิหนัก
เดินทัพในป่าเขา ที่คับขันอันตาย ห้วยหนองคลองบึง เส้นทางยากเข็ญเหล่านี้ เรียกว่ายุทธภูมิวิบาก
ทางเข้าเล็กแคบ ทางกลับวกวน เขากำลังน้อยสามารถตีเรากำลังมาก เรียกว่ายุทธภูมิโอบล้อม
รบไม่คิดชีวิตก็รอง รบไม่เต็มกำลังก็สิ้น เรียกว่ายุทธภูมิมรณะ
เหตุนี้ ในยุทธภูมิซ่านเซ็นอย่ารบ ในยุทธภูมิเบาอย่าหยุด ในยุทธภูมิยื้อแย่งอย่าฝืน ในยุทธภูมิคาบเกี่ยวพึงหนุนเนื่อง ในยูธภูมิสันจรพึงคบมิตร ในยุทธภูมิหนักพึงกวาดต้อน ในยุธภูมิวิบากพึงรีบผ่าน ในยุธภูมิโอบล้อมใช้อุบาย ในยุทธภูมิมรณะรบสุดชีวิต
ผู้สันทัดการบัญชาทัพแต่โบราณกาล สามารถตัดหน้าหลังข้าศึกขาดจากกัน ทัพใหญ่ทัพเล็กมิอาจพึ่งกัน นายกับพลมิอาจช่วยกัน หน่วยบนหน่วยล่างมิอาจรวมกัน ไพร่พลกระเจิงไม่เป็นกลุ่มก้อน รวมพลก็ไม่ครบถ้วน ได้ประโยชน์ก็รบ ไม่ได้ประโยชน์ก็หยุด ใคร่ถามว่า “ข้าศึกมากเป็นขบวนจะบุกมา พึงทำฉันใด” ตอบว่า “ยึดจุดสำคัญข้าศึกก่อน จักคล้อยตามเรา”
การทำศึกสำคัญที่รวดเร็ว ฉวยโอกาสข้าศึกไม่รู้ตัวบุกในเส้นทางที่ไม่คาดคิด ตีจุดที่มิได้ป้องกัน
อันหลักแห่งการรบเข้าแดนข้าศึกนั้น เมื่อลึกจะมุ่งมั่น ข้าศึกมิอาจต้าน กว้านเสบียงจากแหล่งอุดม สามพันจักมีอาหารพอ เลี้ยงไพร่พลอย่างให้เหนื่อยยาก บำรุงขวัญสะสมกำลัง เคลื่อนพลพึงใช้อุบาย จนมิอาจคาดการณ์ ทุ่มไพร่พลสู่ที่อับ ก็ยอมตายมิยอมพ่าย เมื่อสู้ตายย่อมได้ผล ไพร่พลจึงรบเต็มกำลัง แม้ตกอยู่ในอันตรายก็มิพรั่น หมดทางไปใจยิ่งมั่นคง ยึงลึกยิ่งเหนียวแน่น เมื่อจำเป็นจักสู้
เหตุนี้ ไพร่พลมิต้องกำชับก็รู้ระวัง มิต้องบอกกล่าวก็ทำสำเร็จ มิต้องบังคับก็ร่วมใจกาย มิต้องสั่งการ ก็เคร่งวินัย ปราบความงมงาย คลายความกังขา แม้รบจนตัวตายก็มิหลีกหนี
ไพร่พลเราไร้ทรัพย์สิน ใช่เพราะเกลียดสมบัติ ไม่กลัวตายใช้เพราะชังชีวิต ในวันออกคำสั่งรบ ไพร่พลที่นั่งน้ำตาก็ชุ่มเสื้อ ที่นอนน้ำตาก็อาบแก้ม แม้จะไปรบในที่อับจน ก็หาญกล้าดุจจวนจูฉาวกุ้ย
ฉะนั้น ผู้สันทัดการบัญชาทัพ ก็จักเป็นเช่นส้วยหราง อันส่วยหรางนั้น คืออสรพิษเขาฉางซาน ตีหัวหางจักฉก ตีหางหัวจักฉก ตีท่อนกลางหัวหางฉกพร้อมกัน ใคร่ถามว่า จักให้กองทัพเป็นดั่งส้วยหรางได้หรือไม่” ตอบว่า “ได้” เหมือนชาวแคว้นอู่กับแคว้นแย่เกลียดชังกัน ครั้งลงเรือลำเดียวกันข้ามฟาก เจอพายุ ก็ช่วยกัน ประหนึ่งแขนซ้ายขวา เหตุนี้ การผูกม้าฝังล้อรถเพื่อเรียกขวัญ จึงมิพึงยึดถือความหาญกล้าเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว เกิดจากการบัญชาอันควรเข้มแข็ง หรือ่อนแอก็รบเต็มกำลัง เพราะรู้จักใช้ภูมิประเทศ ฉะนั้น ผู้สันทัดการบัญชาทัพ จึงควบคุมกองทัพได้ประดุจคนคนเดียว นี้เป็นความจำเป็น
อันหน้าที่ขอแม่ทัพพึงเยือกเย็นเพื่อขบคิด พึงเทียงธรรมเพื่อปกครอง สามารถอำพรางหูตาไพร่พล ให้มิรู้ความ ยามเปลี่ยนภารกิจปรับกลอุบาย ก็ไม่มีผู้ใดสำนึก ยามเปลี่ยนที่ตั้งค่าย ยกทัพวกวน ก็ไม่มีผู้ใดตระหนัก ยามมอบหน้าที่ไพร่พล ก็เหมือนให้ไต่ที่สูงแล้วชักบันได ยามรุกเข้าแดนเจ้าครองแคว้นอื่น ก็ประดุจน้าวลั่นเครื่องยิงเกาทัณฑ์ เผาเรือทุบหน้อข้าว ดังหนึ่งต้อนฝูงแกะ ขับให้ไปไล่ให้มา มิล่วงรู้ความประสงค์ รวบรวมไพร่พลสามทัพ ส่งยังที่อันตราย นี่คือหน้าที่แม่ทัพ
การเปลี่ยนแปลงของเก้ายุทธภูมิ ประโยชน์ของการยืดหยุ่น วิสัยของจิตมนุษย์ จักไม่พินิจพิเคราะห์ไม่ได้
อันหลักแห่งการรุกเข้าแดนข้าศึกนั้น เมื่อลึกจะมุ่งมั่นเมื่อตื้นจะซ่านเซ็น การกรีธาทัพจากบ้านเมืองข้ามพรมแดนไปเป็นยุทธภูมิอับ ไปมาสะดวก เป็นยุทธภูมิสันจร บุกลึกเข้าไปเป็นยุทธภูมิหนัก บุกค่อนข้างตื้น เป็นยุทธภูมิเบา เบื้องหลังคับขัน เบื้องหน้าเล็กแคบ เป็นยุทธภูมิโอบล้อม ไปไหนมิได้ เป็นยุทธภูมิมรณะ
เหตุนี้ ในยุทธภูมิซ่านเซ็น เราพึงรวมใจให้เป็นหนึ่ง ในยุทธภูมิเบา เราพึงทำให้เชื่อมต่อกัน ในยุทธภูมิยื้อแย่ง เราพึงอ้อมไปหลังข้าศึก ในยุทธภูมิคาบเกี่ยว เราพึงรักษาให้เข้มงวด ในยุทธภูมิสัญจร เราพึงคบมิตรให้แน่นแฟ้น ในยุทธภูมิหนัก เราพึงให้อาหารไม่ขาดตอน ในยุทธภูมิวิบาก เราพึงเร่งเดินทัพให้พ้น ในยุทธภูมิโอบล้อม เราพึงอุดช่องโหวให้แน่น ในยุทธภูมิมรณะ เราพึงแสดงว่ายอมตาย ฉะนั้น จิตใจของไพร่พล ถูกล้อมก็ต้าน จำเป็นก็สู้ คับขันก็ฟังบัญชา
เหตุนี้ หากมิรู้เจตจำนงเข้าครองแค้น ก็มิพึงคบหา มิรู้ลักษณะป่าเขา ที่คับขันอันตราย ห้วยหนองคลองบึง ก็มิอาจเดินทัพ ไม่ใช้มัคคุเทศก์พื้นเมือง ก็มิได้ประโยชน์จากภูมิประเทศ ผลดีชั่วของเก้ายุทธภูมิ มิรู้แม้เพียงหนึ่งเดียว ก็ไม่ใช้กองทัพผู้พิชิต อันกองทัพผู้พิชิตนั้น เมื่อบุกประเทศใหญ่ ทวยราษฎร์ก็มิทันรวมผล ครั้นข่มศัตรูด้วยแสนยานุภาพ การผูกมิตรกมิ็สัมฤทธิ์ผล เหตุนี้ จึงมิจำต้องชิงผูกมิตรในปฐพี มิจำต้องเสริมอำนาจในแผ่นดิน เชื่อในกำลังตน ครั้นข่มศัตรูด้วยแสนยานุภาพ ก็จักยึดเมือง ล่มประเทศนั้นได้ การให้รางวัลเกินระเบียบ ออกคำสั่งนอกกำหนด จักปัญชาไพร่พลสามทัพประหนึ่งคนคนเดียว ให้ปฏิบัติภารกิจ ก็มิต้องชี้แจง ให้ช่วงชิงผลประโยชน์ ก็มิต้องแจ้งภัย ส่งไปที่ม้วยจึงอยู่ ตกในที่ตายจึงเป็น ไพร่พลตกอยู่ในอันตราย จึงจักรู้แพ้รู้ชนะ
ฉะนั้น การบัญชาทัพ อยู่ที่แสร้งคล้อยตามข้าศึก ทะลวงข้าศึกในจุดเดียว ไล่สังหารขุนพลพันลี้ นี้คือที่ว่า ความแยบยลเป็นผลให้งานเสร็จ
เหตุนี้ เมื่อกำหนดการศึกแล้ว พึงปิดด่านตรวจสาร ไม่ส่งทูตแก่กัน ประมาณการณ์รอบคอบในศาลเทพารักษ์ เพื่อวินิจแผนรบเมื่อข้าศึดเปิดโอกาส พึงรีบโหมบุก รุกยึดจุดสำคัญก่อน อย่านัดวันประจัญบาน พึงปรับแผนตามภาวะข้าศึก เพื่อรบแตกหัก เหตุนี้พึงสงบเยี่ยงสาวพรหมจารีในชั้นแรก เมื่อข้าศึกเปิดช่อง จึงเร็จสุดดุจกระต่ายหลุดบ่วงในภายหลัง ข้าศึกต้านก็มิทัน
บทวิเคราะห์
ในบทนี้ ซุนวูได้จำแนกสนามรบออกเป็น 9 อย่าง ตามความตามความแตกต่างของที่ตั้งและผลสะเทือนของการรบ และได้เสนอหลักการรบและวิธีปฎิบัติในพื้นที่ที่ผิดแผกไปโดยสอดคล้องกัน อันได้สะท้องถึงความคิดชี้นำที่เป็นวัตถุนิยมแบบง่ายๆ ของกลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นเจ้าที่ดินเกิดใหม่
ซุนวูเริ่มต้นจากความเรียกร้องต้องการของกลุ่มผลประูโยชน์ใหม่ที่ใคร่จะพัฒนาตนเองอย่างรวมเร็ว จึงเสนอให้ดำิเนินสงครามผนวกดินแดน ดังข้อควาที่กล่าวไว้ในบนนี้ว่า "บุกประเทศใหญ่" โดยทางภววิสัยแล้ว ก็สอดคล้องกับกระแสประวัติศาสตร์ที่มีแนวโน้มในการรวมจีนให้เป็นเอกภาพนั้นเอง
ที่ซุนวูเสนอในบทนี้ว่า "การทำศึกสำคัญที่รวมเร็ว ฉวยโอกาสข้าศึกไม่รู้ตัว บุกในเส้นทางไม่คาดคิด ตีจุดที่มิได้ป้องกัน" และ "ทะลวงข้าศึกในจุดเดียว ไล่สังหารขุนพลพันลี้" อันเป็นความคิดชี้นำการรบนั้นล้วนแต่เป็นการประมวลรวบยอดความจัดเจนในการรบสมันนั้นเป็นอย่างดี
ซุนวูเห็นว่า การรบลึกเข้าไปในดินแดนข้าศึกมีผลดีหลายประการ ที่สำคัญคือหลังจากลึุกเข้าไปในประเทศข้าศึกแล้ว เหล่าทหารก็จะเชื่อฟังคำบัญชาการเป็นอย่างดี ไม่แตกฉานซ่านเซ็นได้ง่ายๆ ซึ่งซุนวูได้กล่าวไว้ว่า "อันหลักแห่งการรุกเข้าแดนข้าศึกนั้น เมื่อลึกจะมุ่งมั่น เมื่อตื้นจะซ่านเซ็น" เมื่อรบลึกเข้าไปในประเทศข้าศึกแล้ว ก็สามารถแก่ปัญหาการส่งกำลังบำรุงของกองทัพได้ ดังที่กล่าวไว้ว่า "กว้านเสบียงจากแหล่งอุดม สามทัพจักมีอาหารพอ
ซุนวูเห็นว่า เมื่อไพร่พลตกอยู่ในอันตราย ก็จะไม่มีความหวาดหวั่นพรั่นพรึง สู้รบอย่างไม่คิดชีวิต เช่นที่ว่าไว้ว่า "แม้ตกอยู่ในอันตรายก็มิหวั่น" "เมื่อจำเป็นจักสู้" "ทุ่มไพร่พลสู่ที่อับ ก็ยอมตายมิยอมพ่าย" อาศัยเหตุผลเหล่านี้ ซุนวูจึงได้ข้อสรุปว่า ภาระหน้าที่ของแม่ทัพคือ "รวบรวมไพร่พลสามทัพ ส่งยังที่อันตราย" ทัศนะของซุนวูข้อนี้ เห็นชัดว่า เป็นทัศนะของชนชั้นปกครองสมัยโบราณที่เห็นราษฏรเป็นผักปลา เท่านั้นเอง
กลุ่มผลประโยชน์ซึ่งเป็นเจ้าที่ดินที่เกิดใหม่ โดยธาตุแท้แล้วก็๋เป็นชนชั้นขูดรีดเช่นเดียวกับกลุ่มผลประโยชน์เก่าคือเจ้าของทาส แม้่ว่าการกดขี่ขูดรีดจะน้อยกว่าเจ้าของทาสก็ตาม ฉะนั้น จึงย่อมจะมีความขัดแย้ง ที่มิอาจจะประนีประนอมได้กับมวลประชาชนทั่วไป ดังนั้น ภายในกองทัพของชนชั้นปกครองเหล่านี้ จึงมีการปะทะกันทางผลประโยชน์ขึ้นพื้นฐานอยุ่เสมอ ด้วยเหตุนี้ พวกแม่ทัพจึงกล้วว่าหากรบอยู่ภายในประเทศหรือรบอยู่ในยุทธภูมิเบาที่ "รุกเข้าแดนผู้อื่นไม่ลึก" พวกทหารก็จะแตกฉานซ่านเซ็นหลบหนีกลับบ้านไปสิ้น จึงเห็นว่าควรเข้าไปอยู่ใน "ยุทธภูมิหนัก" ลึกเข้าไปในแดนข้าศึก เพื่อที่จะขับไล่ไพร่พลให้ไปสู้ตายเพื่อผลประโยชน์การแย่งยึดดินแดนผู้อื่นของตนจะดีกว่า พวกเขาจึงใช้วิธีการ "ส่งไปที่ม้วยจึงอยู่ ตกในที่ตายจึงเป็น" "ไต่ที่สูงแล้วชักบันได" อย่างสุดกำลัง และดำเนินนโยบายสร้างความโง่เขลาแก่ไพร่พล เช่น "สามารถอำพรางหูตาไพร่พล ให้มิรู้ความ" "ให้ช่วงชิงผลประโยชน์ ก็มิต้องแจ้งภัย" ทัศนะต่างๆของซุนวูในส่วนนี้ ล้วนเป็นเศษขยะของกลุ่มชนชั้นปกครองศักดินาสมัยโบราณทั้งสิ้น จะยึดถือในปัจจุบันมิไ้ด้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น