อันการโจมตีด้วยเพลิงมีห้า หนึ่งคือเผาไพร่พล สองคือเผายุ้งฉาง สามคือเผายุทธสัมภาระ สี่คือเผาคลังพัสดุ ห้าคือเผาอุปกาณ์ขนส่ง
ใช้เพลิงพึงดูโอกาส ของใช้พึงเตียมให้พร้อม วางเพลิงพึงดูเวลา จุดเพลิงพึงกำหนดวัน
ที่ว่าเวลา คือความแห้งแล้วของอากาศ ที่ว่าวัน คือดวงจันทร์โคจรไปถึงตำแหน่ง จี ปี้ อี้ เจิ่น อันสี่ตำแหน่งนี้เป็นวันลมจัด
อันการโจมตีด้วยเพลิวนั้น พึงใช้กำลังพลรุกประสานตามลักษณะเพลิทั้งห้า เพลิงไหม้จากภายใน พึงรุกประสานจากภายนอกโดยเร็ว เพลิงไหม้ข้าศึกสงบเงียบ ให้รออย่าบุก เมื่อเพลิงไหม้แรง ควรบุกให้บุก ไม่ควรบุกให้ยั้ง เพลิงวางจากภายนอกได้ อย่ารอจากภายใน ให้วางเพลิงตามเวลา เพลิงไหม้เหนือลม อย่าบุกใต้ลม กลางวันลมนาน กลางคือลมหยุด การทำศึกพึงรู้การเปลี่ยนของเพลิงทั้งห้า คำนวณเวลาเฝ้ารอโอกาส
ฉะนั้น ใช้เพลิงช่วยการโจมตีจักมีผลชัด ใช้น้ำช่วยการโจมตีจักเสริมให้แกร่ง น้ำตัดข้าศึกได้ แต่เผด็จศึกมิได้
อันการรบชนะได้ดินแดนมาแล้ว หากมิเสริมให้มั่นคง จักเป็นอันตราย เรียกว่าการสิ้นเปลืองอันสูนเปล่า ฉะนั้นจึงกล่าวว่า เจ้านายผู้ชาญฉลาดพึงไต่ตรองจงหนัก แม่ทัพผู้ยอดเยี่ยมพึงดำเนินการรอบคอบ ไม่เป็นผลดีไม่กรีธาทัพ ไม่มีผลได้ไม่ใช้กำลัง หากไม่คับขันจักไม่ออกรบ
เจ้านายมิควรเคลื่อนพลเพราะกริ้ว แต่ทัพมิควรทำศึกเพราะโกรธ ต้องด้วยประโยชน์ก็เคลื่อน ไม่ต้องด้วยประโยชน์ก็หยุด กริ้วอาจกลายเป็นรัก โกรธอาจกลายเป็นชอบ แต่สูญชาติมิอาจกลับคืน สิ้นชีพมิอาจกลับฟื้น
ฉะนั้น ประมุขผู้ชาญฉลาดพึงสุขุม แม่ทัพผู้ยอดเยี่ยมพึงระวัง นี้คือหลักแห่งความสงบสุขของบ้านเมืองและความปลอดภัยของกองทัพ
บทวิเคราะห์
การโจมตีด้วยเพลิงเป็นรูปแบบการรบอย่างหนึ่งในสมัยโบราณ การที่ซุนวูยกเรื่องนี้ไว้เป็นบทเฉพาะโดยอธิ บายถึงประเภท เงื่อนไขและวิธีปฏิบัติของการโจมตีด้วยเพลิงอย่างค่อนข้างละเอียดนั้น แสดงให้เห็นว่าเขาได้ให้ความสนใจต่อการโจมตีด้วยเพลิงเป็นอันมาก
ขณะที่ซุนวูเสนอว่า "ผู้ใช้เพลิงพึงดูโอกาส ของใช้พึงเตรียมให้พร้อม” อันเป็นเงื่อนไขทางวัตถุของวิธีปฏิบัติการโจมตีด้วยเพลิงนั้น ก็ได้เน้นเป็นพิเศษในด้านเงื่อนไขลมฟ้าอากาศว่า "วางเพลิงพึงดูเวลา จุดเพลิงพึงกำหนดวัน" นี้เป็นบันทึกการใช้เพลิงและลมฟ้าอากาศอันเป็นเงื่อนไขทางธรรมชาต ิในทางการทหารเกือบจะก่อนนักการทหารผู้อื่นใดทั้งสิ้น ซึ่งก็เป็นการนำมาใช้ซึ่งเงื่อนไขลมฟ้าอากาศอย่างเป็นรูปธรรมใน “ห้าเรื่อง” คือ “คุณธรรม ลมฟ้าอากาศ ภูมิประเทศ แม่ทัพ กฎระเบียบ” ที่ซุนวูได้กล่าวไว้ใน ประเมนศึก บทที่ 1
ซุนวูแม้จะเห็นความสำคัญของการโจมตีด้วยเพลิง แต่เขาก็ถือการวางเพลิงเป็นรูปแบบอันเป็นส่วนช่วยการรบเท่านั้น เขาเน้นว่าจะต้องประสานอย่างแน่นแฟ้นกับการบุกของทหาร
เขาชี้ว่า “ใช้เพลิงช่วย การโจมตีจะมีผลชัด ใช้น้ำช่วยการโจมตีจักเสริมให้แกร่ง”
ซุนวูเข้าใจว่า การโจมตีด้วยเพลิงและการโจมตีด้วยน้ำแม้จะมีอนุภาพค่อนข้างใหญ่โต แต่ถ้าหากไม่ทุ่มกำลังทหารเข้าไปเปิดการโจมตีประสานอย่างทันท่วงทีแล้ว ก็ไม่สามารถจะได้รับความสำเร็จได้
ฉะนั้น ซุนวูจึงชี้อย่างชัดเจนว่า “พึงใช้กำลังพลรุกประสานตามลักษณะเพลิง ทั้งห้า” กล่าวคือ จะต้องถือสภาพการเปลี่ยนแปลงของข้าศึกที่เกิดจากการวางเพลิง ปัญชาทหารบุกเข้าโจมตีอย่างทันกาล เพื่อพัฒนาและขยายผลการรบให้กว้างใหญ่ออกไป
ซุนวูยังได้เน้นให้ประมุขและแม่ทัพจะต้องให้ความระมัดระวัง รอบคอบอย่างยิ่งยวดต่อการทำสงครางไว้ในบทนี้ ชี้ว่า “เจ้านายมิควรเคลื่อนพลเพราะกริ้ว แม่ทัพมิควรทำศึกเพระโกรธ” ควรจะยึดกุม “หลังแห่งความสงบสุขของบ้านเมืองและควมปลอดภัยของกองทัพ”
คือ “ต้องด้วยประโยชน์ก็เคลื่อน ไม่ต้องด้วยประโยชน์ก็หยุด”
ความคิดให้สุขุมรอบคอบในการก่อสงครามเช่นนี้ของซุนวู เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับความคิดที่เล็งเห็นความสำคัญของสงครามว่า “อันสงครามนั้น เป็นเรื่องสำคัญของประเทศชาติจักไม่พินิจ พิเคราะห์มิได้” ของเขา ที่กล่าวไว้ใน ประเมินศึก บทที่ 1 ซึ่งได้เตือนให้ผู้บัญชาสงครามไม่ควรจะใช้อารมณ์ ตัดสินใจทำสงรามอย่างเบาปัญญา
ความคิดเล็งเห็นความสำคัญของการทำสงคราม และความคิดให้รอบคอบในการทำสงคราของซุนวูดังนี้ มีคุณค่าอย่างสูง นับเป็นลักษณะพิเศษสำคัญของความคิดการทหารที่ก้าวหน้าก่อนสมัยราชวงศ์ฉินแต่เก่าก่อนโน้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น