ถึงอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศแล้ว
เป็นคดีที่นปช.ยื่นฟ้องนายกฯ มาร์ค-ศอฉ.สลายการชุมนุมเสื้อแดง
จนมีคนตาย 91 เจ็บอีกเกือบ 2 พันคน ระบุในรายงานมีคำให้การของพยานจำนวนมาก
ถึงเหตุการณ์ที่โดนยิงบาดเจ็บเสียชีวิต ภาพเหตุการณ์ฆ่าหมู่ 6 ศพวัดปทุมฯ
ฆ่านักข่าวอิตาลี ชี้คดีเข้าข่ายอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ เตรียมส่งรายงานเพิ่มในอีก 8 สัปดาห์
เมื่อวันที่ 25 ต.ค. สำนักกฎหมายอัมสเตอร์ ดัมแอนด์พีรอฟฟ์
โดยนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ได้ส่งคำร้องเบื้องต้น
ซึ่งเป็นคำร้องที่แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)
ยื่นต่ออัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
เพื่อแจ้งให้อัยการทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย
อันเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนเม.ย.และพ.ค.2553
เพื่อพิจารณาที่จะดำเนินการสอบสวนต่อไป
สำหรับรายงานเบื้องต้น
ที่สำนักกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟ์ส่งถึงอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ
เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีที่นปช.ยื่นฟ้อง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และศอฉ.รวม 14 คน ในคดีสังหาร 91 ศพ
เหตุการณ์สลายม็อบแดงในเมืองไทยนั้น มีความหนา 53 หน้า
เริ่มตั้งแต่ความเป็นมาของคดีการสังหาร 91 ศพและมี ผู้บาดเจ็บอีกเกือบ 2 พันราย
รวมทั้งข้อเท็จจริงเหตุการณ์นำไปสู่การรัฐประหาร ปี 2549
การสังหารหมู่เมื่อปี 2552 ครั้งที่คนเสื้อแดงออกมาชุมนุมต่อต้านรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
และปิดล้อมการประชุมผู้นำสุดยอดประเทศ อาเซียนที่พัทยาเมื่อวันที่ 11 เม.ย.2553
และรัฐบาลสั่งทหารเข้าสลายการชุมนุมในกรุงเทพฯ ในวันที่ 13 เม.ย.2552
ในรายงานดังกล่าว
มี รายละเอียดเหตุการณ์สังหารหมู่ปี 2553 มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บเกือบ 2 พันราย เริ่มต้นตั้งแต่กลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้นายกฯ อภิสิทธิ์ ลาออก
จากตำแหน่งและยุบสภา
กระทั่งเกิดเหตุการสลายการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัวและถนนดินสอ
เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2553 มีคนเสื้อแดงเสียชีวิต 17 ศพ บาดเจ็บ 600 ราย
และการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์เมื่อวันที่ 17-19 พ.ค. 2553
โดยมีเอกสารหลักฐานคำให้การของพยานจำนวนมากที่ระบุว่า
มีการใช้กำลังทหารและใช้อาวุธจริงและกระสุนจริงในการสลายม็อบแดง
ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักสากลจนเป็นเหตุให้มี ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
ในรายงานมีคำให้การของพยานหลายรายที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม
โดยพยานปากที่ 18 ซึ่งเป็นคนเสื้อแดงระบุว่าโดนยิงเข้าที่ข้อเท้าขวาจนกระจุย
ขณะหลบอยู่ในสวนลุมพินี เมื่อวันที่ 14 พ.ค. พยานปาก ที่ 19 ระบุว่า
โดนยิงเข้าที่หัวไหล่ซ้ายจนต้องกระโดดหนีลงน้ำในสวนลุมพินี
พอขึ้นจากน้ำก็โดนยิงซ้ำที่น่องซ้าย ก่อนถูกจับส่งตัวไปขังในเรือนจำในที่สุด
พยานปากที่ 20 ระบุว่า ได้ยิงธนูใส่ทหาร แต่โดนทหารยิงตอบโต้ด้วยกระสุนปืนจริง
ที่บริเวณซอยงามดูพลี โดยพยานรายนี้ระบุด้วยว่าเห็นประชาชนถูกยิงเสียชีวิต 6 ราย
ในจำนวนนี้เป็นแม่ค้าอายุ 50 ปี ชายหนุ่มอายุ 30 ปี
และมีชายคนหนึ่งถูกยิงตายขณะใช้กล้องโทรศัพท์มือถือบันทึกภาพเหตุการณ์อยู่
คำให้การของพยานปากที่ 6 และพยานปากที่ 9 ระบุถึง
เหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ศพในวัดปทุมวนาราม ซึ่งเป็นเขตอภัยทาน
เป็น เหตุให้น.ส.กมนเกด อัคฮาด นายมงคล เข็มทอง และนายอัครเดช แก้วขัน ซึ่งเป็นอาสาพยาบาลถูกยิงเสียชีวิตขณะกำลังช่วยเหลือผู้ชุมนุมที่ได้รับบาด เจ็บ
ในรายงานยังมีรายละเอียด
เหตุการณ์พล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง ถูกสไนเปอร์ยิงเสียชีวิต
ขณะยืนให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 13 พ.ค.2553 ที่บริเวณสวนลุมพินี
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานภาพถ่ายเป็นภาพถ่าย
เหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงทั้งในวันที่ 10 เม.ย.2553 ที่สี่แยกคอกวัวและถนนดินสอ
และการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ในเดือน พ.ค.2553
รวมทั้งภาพถ่ายศพ "น้องเกด"กมนเกด อัคฮาด อาสาพยาบาล
ที่โดนยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนารามพร้อมเพื่อน 6 ศพ
ภาพชายในเครื่องแบบถือปืนยาวอยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสเล็งไปที่วัดปทุมวนาราม
ภาพ ถ่ายเหตุการณ์นายฟาบิโอ โปเลงกี นักข่าวชาวอิตาลีถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พ.ค. โดยในภาพมีชายคนหนึ่งเข้าไปหยิบกล้องถ่ายรูปจากศพนายฟาบิโอ หลบหนีไป
ในรายงานระบุว่า
องค์กรสิทธิมนุษยชนหลักได้รวบรวมเอกสารที่น่าเชื่อถือ
เกี่ยวกับการสลายการชุมนุมในวันที่ 14 พ.ค. โดยในช่วงนั้น
ฮิวแมน ไรต์ วอตช์ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกเขตกระสุนจริง
และตำหนิรัฐบาลไทย
ไม่ปฏิบัติตามหลักพื้นฐานของการใช้กำลังตามกฎหมายสหประชาชาติ
รายงานของสำนักกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟ์ยังระบุถึง
เขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศไว้ว่า
การรับพิจารณาคดีตามบทบัญญัติมาตรา 17 ในข้อบัญญัติแห่งกรุงโรม
ระบุว่าการตัดสินรับพิจารณาคดีจะต้องมีองค์ประกอบ 2 ประการครบถ้วน
1.ต้องมีการพิจารณาว่าระบบตุลาการในประเทศดังกล่าวนั้น
หยุดนิ่ง หรือ ไม่เต็มใจ หรือไร้ประสิทธิภาพในการดำเนินคดี
นี่คือประเด็นของหลักการที่ศาลอาญาระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณา
เมื่อรัฐล้มเหลวที่จะกระทำการดังกล่าว
2.ข้อกำหนดเรื่องความร้ายแรงแห่งคดี
ตามบทบัญญัติมาตรา 17 (1)(d) ในข้อบัญญัติแห่งกรุงโรม
การคัดเลือกนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความร้ายแรง
และเป็นการจำกัดโดยตรงของเขตศาลอาญาระหว่างประเทศ
โดยต้องเป็นอาชญากรรมอันร้ายแรงที่ประชาคมโลกเป็นกังวลเท่านั้น
ซึ่งส่งผลให้สภาพิจารณารับคดีระบุว่าจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบ 4 ประการ
1.การกระทำที่เป็นประเด็นหลักของคดีจะต้องเป็นการกระทำที่เป็นระบบ
(รูปแบบของเหตุการณ์) หรือเป็นการกระทำที่ใหญ่โต
2.ลักษณะของการกระทำที่ผิดกฎหมายของอาชญากรรม (การเกิดของอาชญากรรม)
3.ลักษณะของการกระทำ และ
4.ผลกระทบจากอาชญากรรมที่เหยื่อและครอบครัวได้รับ
ในกรณีนี้ ตัวแทนเหยื่อจะเป็นบุคคลสำคัญต่อการ พิจารณาของสภา
รายงานยังระบุถึงองค์ประกอบพื้นฐานของอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ว่า
อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
ถูก บัญญัติไว้ในมาตรา 7(1) ของบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ และยังมีคำอธิบายเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเพิ่มเติมในเอกสารสำคัญอื่น
ต้องประกอบด้วย
1.การทำร้ายจะต้องเป็นการกระทำโดยตรงต่อพลเรือน
2.เป็นการกระทำโดยนโยบายรัฐหรือองค์กร
3.ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำส่วนบุคคลและการทำร้าย และ
4. อย่างน้อยที่สุด ผู้กระทำจะต้องสามารถรับรู้
หรือมีเจตนาเข้าใจว่าการกระทำดังกล่าวคือการทำร้ายอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ
รายงานยังมีบทสรุปมีใจความว่า เป็นที่ชัดเจนว่า
รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ไม่มีทางที่จะจัดให้มีการสอบสวนที่เป็นธรรมและสมบูรณ์
โดย เฉพาะรัฐบาลไม่มีทางที่จะผ่อนปรนอำนาจทางการเมืองของตนเอง นายกอภิสิทธิ์ละเลยหน้าที่ในการจัดให้มีการสอบสวนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ แม้ว่าประเทศไทยมีพันธกรณีภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และกฎหมายจารีตประเพณ
ีระหว่างประเทศที่จะต้องดำเนินการสอบสวนที่เป็นอิสระก็ตาม
แต่การสอบสวนที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลห่างไกลจากความเป็นธรรมยิ่งนัก
จากเหตุผลทั้งหมดผู้ร้องเชื่อว่าอาชญากรรมที่เกิดขึ้น
เข้าข่ายบทบัญญัติศาลอาญาระหว่างประเทศ ดังนั้น
จึง ร้องขอให้อัยการตั้งข้อสังเกตต่อรายงานการสอบสวนเบื้องต้นต่อสถานการณ์ใน ประเทศไทย เพื่อที่พิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะทำการสอบสวนและดำเนินคดี
ในนามของศาลอาญาระหว่างประเทศในอนาคต
โดย ผู้ร้องจะยื่นรายงานความคืบหน้าของเหตุการณ์ต่ออัยการอีกภายใน 8 สัปดาห์
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdOakkyTVRBMU13PT0=§ionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1DMHhNQzB5Tmc9PQ==
------------------------------------
« เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:16:18 PM » | |
สํานักกฎหมายอัมสเตอร์ดัมแอนด์พีรอฟฟ์ ในนามของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และบุคคลอื่น ได้จัดทำ รายงานเบื้องต้นของการกระทำที่อาจถือว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษย ชาติในราชอาณาจักรไทย
ยื่น ต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ บอกเล่าเหตุการณ์ความรุนแรงในช่วงเม.ย.2552 และพ.ค.2553 ก่อนจะยื่นเอกสารอีกฉบับยื่นฟ้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ในอีก 8 อาทิตย์ข้างหน้า
http://www.robertamsterdam.com/assets_c/2010/10/fabio_polenghi-thumb-220x147.jpg
ผู้ ร้องได้ยื่นรายงานเบื้องต้นต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงการกระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และประมาณ 8 อาทิตย์ จะยื่นเอกสารอีกฉบับเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในกรณีของศีลธรรมอันดี
รายงาน ระบุว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันมีมาตรฐานที่ต่ำในการ"ดำเนินการสอบสวนที่เป็นอิสระ" การสอบสวนในอดีตถึงเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ถึงการเสียชีวิตของกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา 500 ราย ที่เกิดจากกองทัพเรือไทยผลักเรือของพวกเขาออกไปยังทะเลหลวง ทำให้เห็นว่าจะสามารถคาดหวังอะไรได้จากการสอบสวนของรัฐบาลถึงความรุนแรงใน เดือนเม.ย. และ พ.ค. 2553
และแม้ว่ารัฐบาลมีโอกาสที่จะกระทำการสอบ สวนเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเป็นอิสระ แต่เป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่ารัฐบาลไม่เต็มใจ หรือสามารถที่จะกระทำดังกล่าว
นอก จากจะล้มเหลวในการเริ่มดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์ความรุนแรงอย่างเป็นธรรม และสมบูรณ์ รัฐบาลยังคงปฏิเสธให้แกนนำเสื้อแดงเข้าถึงหลักฐานผลชันสูตร เอกสาร และวิดีโอภาพและเสียงที่ใช้ประกอบการดำเนินคดี
แม้จะไม่มีข้อ กำหนดให้ผู้ร้องต้องระบุรายชื่อของกลุ่มผู้กระทำผิด หรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อันระบุในคำร้องนี้ในขั้นตอนการ ยื่นเอกสาร แต่ถือเป็นเรื่องอันเหมาะสมที่จะสรุปความรับผิดของกลุ่มผู้นำพลเรือนและนาย ทหารระดับสูงในรัฐบาลไทย
รายงานระบุว่า ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตผอ.ศอฉ. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผบ.ทบ. และผู้บัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉิน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท ปลัดกลาโหม พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผบ.ทร. พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ.
พล.ต.อ.ประทีป ตันประเสริฐ อดีตรรท.ผบ.ตร. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ประธานคณะที่ปรึกษาทบ.
พล.อ.ธีระวัฒน์ บุณยะประดับ รองผบ.ทบ. พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสธ.ทบ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น