ขับไล่ รมต.ที่มีแผนจะเปลี่ยนรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนแพทย์ทั่วประเทศ
จากเดิมที่จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามความกันดารและอายุราชการ
จะเปลี่ยนมาใช้การจ่ายค่าตอบแทนตามปริมาณงานที่ทำหรือ P4P แทน
P4P ที่ว่าก็ตรงตามชื่อครับ คือเป็นระบบที่เอางานของแพทย์ พยาบาล ทันตะ เภสัช
มาคำนวนเป็นแต้ม ยิ่งงานหนัก งานยาก ก็จะได้แต้มมากขึ้น
แล้วค่อยเอาแต้มนั้นไปคำนวนเป็นค่าตอบแทนอีกทอดนึง
ประเด็นที่แพทย์กลุ่มนึง นำโดยชมรมแพทย์ชนบทออกมาเดินขบวนขับไล่ในหนนี้
เหตุผลที่ฝ่ายประท้วงอ้างก็คือ การยกเลิกเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย จะเป็นการบั่นทอนขวัญกำลังใจ
ทำให้แพทย์ขาดแรงจูงใจที่จะมาทำงานในพื้นที่ชนบทอันทุรกันดารเพราะค่าตอบแทนได้ไม่แตกต่างกับแพทย์ในเมืองเลย
อันนี้คงต้องยกปัญหาของวงการแพทย์ในปัจจุบันมาพูดถึงเสียก่อน ปัญหาทุกวันนี้คือทุกรัฐบาลที่ผ่านมา
พยายามดึงให้หมออยู่ใน รพช ด้วยเกมเดียวกับ รพ เอกชน นั่นคือพยายามดันค่าตอบแทนแพทย์ให้สูงขึ้นเรื่อยๆ
ชมรมแพทย์ชนบทเป็นหนึ่งในตัวตั้งตัวตีที่พยายามเพิ่มค่าตอบแทนแพทย์ตามชนบทมานานมาก
มองในแง่นึงมันก็เป็นเรื่องดีที่เพิ่มค่าตอบแทนแพทย์พวกเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ยิ่งหมออยู่ชนบทนาน
ก็ยิ่งได้ค่าตอบแทนตรงนี้มากขึ้น ตามกฏเดิมใครอยู่เกินสี่ปีขึ้นไป ได้เงินเพิ่มห้าหมื่นบาท
หมอตาม รพช ถ้าอยู่เกิน 4 ปี ส่วนมากรายได้แสนขึ้นทุกคน ซึ่งอันนี้นี่ล่ะที่เป็นปัญหา
เพราะรัฐบาลไม่มีปัญญาหาเงินมาสนับสนุนค่าตอบแทนตรงนี้ได้หมด
ตั้งแต่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ไม่มีเงินจ่ายเงินก้อนนี้ให้หมอทั้งประเทศ
ติดเงินอยู่เกือบปี จนมีเจ้าหน้าที่ลาออกไปพอสมควรเพราะไม่มีเงินจะแดกข้าว
พอเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็เอาเงินมาจ่ายให้บางส่วน
แต่จ่ายได้ไม่หมดอยู่ดี จ่ายได้แค่ครึ่งนึงที่เหลือให้เอาเงินบำรุงของแต่ละ รพ จ่ายกันเอง
ทีนี้ปัญหาคือ รพ ทั่วประเทศส่วนมากอยู่ในภาวะตัวแดง คือขาดทุนอยู่แล้ว
หรือไม่ก็มีแววจะขาดทุนในอนาคตแหงๆ เพราะเงินรายหัวของประชากรที่ควรจะปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ
รัฐบาลกลับให้เงินรายหัวของประชากรคงที่ ในขณะที่ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์มันถีบตัวสูงขึ้นทุกปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง http://www.healthfocus.in.th/content/2012/11/1767รพ ที่เงินบำรุงไม่ค่อยจะมี พอเอาเงินออกมาจ่ายค่าตอบแทนแพทย์ ก็ถังแตกกันถ้วนหน้าน่ะสิครับ
รู้หรือไม่ว่าค่าตอบแทนของแพทย์นี่เอาเฉพาะเบี้ยเลียงเหมาจ่ายของหมอสามคน
มันสามารถเอาไปจ่ายค่าแรง จนท “ทั้ง” รพ ได้เกือบทั้งปีเลยทีเดียว
ทีนี้เราลองมาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง รพ ในเมือง กับ รพช (รพ ชุมชน) กันบ้าง
รพช มันห่างไกลสังคม กันดารกว่า รพ ในเมืองก็จริง แต่งานที่ทำใน รพช เทียบกับ รพ ในเมืองแล้ว
มันน้อยกว่ากันเยอะครับ รพ ในเมืองที่เยอะและคนไข้แออัดยัดเยียดมาก
ยกตัวอย่างเช่น รพ จังหวัดหลาย ๆ แห่งวอร์ดอายุรกรรมรองรับผู้ป่วยได้ 30 เตียง
แต่ต่อเตียงยาวไปถึงระเบียง คนไข้หกสิบคนแทบทุกวัน หรือตรวจไข้ที่แผนกผู้ป่วยนอกวันนึงเกือบสองร้อยคน
ข้อดีของ รพ ในเมืองก็คือใกล้ความเจริญมากกว่า ได้เที่ยว ได้ทำนู่นนี่มากกว่า รพช
สรุปคือทั้ง รพท รพศ รพช มีจุดดีจุดด้อยต่างกันไป
แต่ปัญหาคือค่าตอบแทนแพทย์ใน รพช มันสูงกว่า รพท รพศ แบบเว่อร์มากๆ
เป็นผลจากการผลักดันของชมรมแพทย์ชนบทในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา
ทำให้ค่าตอบแทนแพทย์ใน รพช สูงขึ้น สูงขึ้นเรื่อยๆ จนมันไม่สมดุลย์กัน
เกินกว่าที่ทรัพยากรของระบบจะรับไหว มันเป็นไปตามที่ รมต ให้สัมภาษณ์
ที่เขาว่าระบบมันเดินหน้าไปไม่ได้ เงินค้างที แพทย์ก็ต้องรวมตัวไปก่อม๊อบกดดันรัฐบาล
ให้จ่ายค่าตอบแทนที เป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆระบบจะพังทลายเอาในอีกไม่นาน
ดังนั้นการแก้ปัญหาโดยลดค่าตอบแทนแพทย์ คือเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย
จากเดิมที่ให้แบบกินเปล่าตามสองปัจจัย คือความห่างไกล และอายุงาน
เปลี่ยนมาเป็นสองปัจจัย คือความห่างไกลและปริมาณงานที่ทำ หรือ P4P
ถ้าเป็นระบบเดิมจะคิดค่าตอบแทนแพทย์ดังในตารางข้างล่างนี้
รวม ๆ แล้วรายได้ของแพทย์ไทยใน รพช ของรัฐ จะประกอบด้วย
เงินเดือน ประมาณ 14,000-15,000 ค่าไม่เปิดคลินิคส่วนตัว 10,000
ค่าเวรอันนี้มากน้อยตามจำนวนเวร แต่ส่วนมากก็ประมาณ 4 - 5 หมื่นบาท
ที่เหลือเป็นเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแพทย์ที่อยู่ในพื้นที่กันดาร
จะมีรายได้ตกเดือนละเก้าหมื่นถึงหนึ่งแสนบาท แต่ถ้าเป็นแพทย์ที่อยู่ในพื้นที่นั้นนานๆ
เช่น ผู้อำนวยการ รพ. ที่อยู่มาเกิน 4 ปี ก็จะมีรายได้ถีบขึ้นไปเป็นเดือนละ แสนสอง
ซึ่งกลุ่มนี้นี่แหละที่เป็นปัญหา เพราะจะสูญเสียรายได้ทันทีถ้าปรับการจ่ายค่าตอบแทนเป็น P4P
เนื่องจาก ผอ. รพ.หลาย ๆ แห่งที่เคยเห็นมา ไม่ทำงานตรวจคนไข้ว่ะครับ ทำงานบริหารอย่างเดียว
บางคนก็เอาเวลาราชการไปเตะบอล แข่งกีฬาจังหวัดก็มี แล้วปล่อยให้หมอรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบ
รับหน้าที่ตรวจคนไข้ไปตามยถากรรม ปัญหานี้มันทำให้ปริมาณคนไข้ที่หมอแต่ละคนต้องตรวจมันเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากผู้อำนวยการ รพ. ที่อาวุโสและอยู่กินเงินเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายจำนวนมากเหล่านี้มันไม่ฟังค์ชั่นนั่นเอง
คนพวกนี้แหละที่เป็นปัญหามานาน และจะเสียรายได้จำนวนมากถ้าจ่ายค่าตอบแทนตามระบบใหม่
ในขณะที่หมอชนบทที่ทำงานตรวจคนไข้จริง ๆ ค่าตอบแทนที่เปลี่ยนแปลงไปนี่ไม่ค่อยมีผลกระทบหรอก
เพราะถ้าหมอชนบทจะลาออกเพราะค่าตอบแทนสู้เอกชนไม่ได้ เขาลาออกกันไปนานแล้ว
ที่อยู่นี่คือเขาอยู่กันได้ด้วยค่าตอบแทนระดับนี้ ขอแค่จ่ายให้สม่ำเสมอก็พอ ไม่ใช่ติดหนี้แล้วจ่ายกันข้ามปีแบบที่ผ่านๆมา
ตามที่ดูรายละเอียดของ P4P มา ณ ปัจจุบันยังไม่ได้ยกเลิกเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายว่ะครับ
แต่ลดลงบางส่วนประมาณครึ่งนึง จากนั้นก็เพิ่มเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนมาให้อีกส่วนคือ P4P
อันนี้ยิ่งทำงานเยอะ ตรวจคนไข้เยอะ ก็ยิ่งได้มากขึ้น ซึ่งอันนี้ก็มีคนทักท้วงว่าถ้าทำแบบนั้น
หมอที่หน้าเงินมาก ๆ มันไม่ตรวจคนไข้แบบสั่วๆ คนละสามสิบวิ
แล้วเกณฑ์คนไข้มาตรวจกันวันละหลายร้อยคนหรอกเหรอ จะได้ตังค์เยอะ ๆ ไง ?
คือเขามีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ กับเพดานบนสุดที่จะจ่ายเงินค่าตอบแทน P4P เอาไว้แล้วครับ
ต่อให้ตรวจจนมือหงิกวันละ 200-300 คน เต็มที่มันก็ได้แค่เพดานบนที่กำหนดเอาไว้เท่านั้นแหละ
ดังนั้นแทนที่จะมองว่าเป็นการกระตุ้นให้แพทย์หิวเงินมากขึ้น เราควรจะมองว่ามันเป็นการเกลี่ยรายได้
ให้หมอที่ทำงานเยอะ ผ่าตัดเยอะ ตรวจคนไข้ มีรายได้ตามงานที่ทำลงไปอย่างยุติธรรมมากกว่า
ในขณะที่หมอที่ไม่ได้ทำงาน นั่ง ๆ นอน ๆ เกาตูดเซ็นเอกสารอย่างเดียว ก็จะได้ค่าตอบแทนน้อยลงไปด้วย ชะละล่า
การปรับการจ่ายค่าตอบแทนเป็น P4P มันจะทำให้หมอใน รพท รพศ ได้ค่าตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วยเพราะงานล้นอยู่แล้ว ในขณะที่ รพช อาจได้น้อยกว่า แต่ก็มีเงินจากค่ากันดารที่ลดลงมาถัวเฉลี่ยแทน
วิธีนี้ดีตรงที่ทำให้การกระจายค่าตอบแทนของแพทย์มันเกลี่ยกันเสมอภาคมากขึ้น
วิชาชีพอื่นก็ได้ผลประโยชน์ไปด้วย เช่น พยาบาล เขาจะได้ค่าตอบแทนตามที่ควรได้จาก P4P
ควรรู้ว่าวิชาชีพพยาบาลนี่เป็นวิชาชีพที่สำคัญมากแถมยังงานหนักบรรลัยเลย
ทุกวันนี้ค่าตอบแทนของแพทย์ชนบทมันไม่สมเหตุสมผลครับ อย่างที่บอกเอาไว้ข้างต้นว่า
มันเป็นการเรียกร้องจากชมรมแพทย์ชนบทในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
ทำให้ค่าตอบแทนของแพทย์ชนบทสูงขึ้น สูงขึ้นเรื่อยๆ ขนาดไม่ต้องทำงานตรวจ
นั่งเซ็นเอกสารอย่างเดียว ขอแค่อยู่พื้นที่นั้นมานาน คุณก็ได้เงินไปกินนิ่มๆเดือนละแสนกว่าบาทแล้ว
แต่วิชาชีพอื่น แทบจะไม่ได้เงินก้อนนี้เลย หรือได้น้อยมาก เช่นพยาบาลได้แค่พันห้าเท่านั้น
ทั้งที่วิชาชีพเหล่านี้ก็งานหนักและเสียสละไม่แตกต่างกัน สาเหตุเป็นเพราะค่าตอบแทนของแพทย์
ได้สูบเอาทรัพยากรส่วนมากของระบบสาธารณะสุขไทยไปหมดแล้ว
ดังนั้นแทนที่แพทย์จะอ้างว่า ฉันเสียสละฉันทุ่มเทนะ ฉันเรียนมาสูง เรียนมาตั้งหกปีเชียวนะพี่ชาย
และพยายามรักษาเงินก้อนที่ตัวเองได้มาโดยไม่สมเหตุสมผลนี้เอาไว้อย่างสุดชีวิต
บางทีแพทย์อาจจะควรเหลียวกลับไปมองเพื่อนร่วมวิชาชีพ ที่ฟันฝ่ามาด้วยกัน
เช่น พยาบาล เภสัช ทันตะ ที่ยืนท้องกิ่ว ท้องร้องจ๊อกๆอยู่เบื้องหลัง
ในขณะที่แพทย์ฟาดเค้ก “งบประมาณสาธารณสุข” มาฟาดจนพุงกางอยู่คนเดียว
จริงๆแล้วค่าตอบแทนของวิชาชีพเหล่านี้ที่ว่ามามันก็น้อยกว่าเอกชนทั้งนั้นแหละ
แต่มีเฉพาะของแพทย์วิชาชีพเดียว ที่มันโดดสูงกว่าชาวบ้าน ดังนั้นถ้าจะให้ดี
เราก็ควรจะเกลี่ยค่าตอบแทนที่สูงเกินไปให้ลดลงมาหน่อย ให้มีงบประมาณเผื่อแผ่ไปถึงเพื่อนร่วมวิชาชีพบ้าง
จากนั้นค่อยรวมตัวกันเป็นองค์กรสหวิชาชีพ เรียกร้องให้เพิ่มค่าตอบแทนทุกคนอย่างเท่าเทียมและสมเหตุสมผลไม่ดีกว่ารึ
ที่เห็นคนออกมาประท้วงนี่ก็ใช่ว่าหมอ พยาบาล ทันตะ เภสัช จะไม่เห็นด้วยกับ P4P ไปเสียหมดทุกคน
คนที่เห็นด้วยก็มีอยู่เยอะแยะ แต่ไม่ออกข่าวเหมือนกับที่แพทย์ชนบทแต่งชุดดำมาเดินชบวนประท้วงก็เท่านั้นเอง
แต่ก็ใช่ว่าผมจะเห็นด้วยกับระบบ P4P ไปเสียหมด ถ้ามันจัดสรรคะแนนไม่เข้าท่า
หรือเอาเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายออกไปทั้งหมด คิดแต่ P4P อย่างเดียว มันก็อาจจะเกิดปัญหาในอนาคตได้
แต่ถ้าปรับปรุงให้มันดีๆ อนาคตมันอาจจะเป็นทางออกนึงในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของไทยก็ได้ว่ะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น