วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

# ทำบุญ เดือน ธันวาคม 2554

ปิดกองบุญ ซ่อมแซมพระ วัดสันทราย
เวลาที่สั่งทำรายการ : 31/12/2011 12:54
วันที่ทำการโอนเงิน : 31/12/2011
หมายเลขอ้างอิง : 259797611920111231
บัญชีที่โอน : นายxxxxxxxxxx A/C No. : 0810000210
บัญชีผู้รับโอน : กองทุนเพื่อการเผยแพร่ศีลธรรม วัดสันทราย A/C No. : 5450143435
จำนวนเงินที่โอน : THB 3,009.97
ค่าธรรมเนียม : THB .00

*********
ร่วมเป็นเจ้าภาพทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีสร้างพระมหาเจดีย์ 9 วัด ทำบุญบังสุกุลถวาย 9 วัด ให้กับผู้ล่วงลับ





















*********
ร่วมเป็นเจ้าภาพบล็อกพิมพ์พระสมเด็จองค์ปฐมหน้าตัก 4 ศอก 









































วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฏี ในการปฏิบัติงาน...

ทฤษฏี ที่ 1
 
ถ้าเรา รับเงินมาถูก ลงรายการถูก ทอน/จ่าย ถูก เงินในลิ้นชักเราก็ต้องถูกต้อง
ตอนนั่ง เคาร์เตอร์ใหม่ ๆ ผมก็กลัวนะ เรื่องเงินขาด - เงินเกิน พนักงานรอบ ๆ ตัวก็ดูหวาดกลัว เห็นเงินเยอะ ๆ ผมมอง ๆ ดูแล้วก็ต้องทำใจ คิดหาวิธีทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ให้ตัวเองดีกว่า

ผมก็เลยตั้ง ทฤษฏี ขึ้นมา

*****************
ถ้าเรา รับเงินมาถูก ลงรายการถูก ทอน/จ่าย ถูก เงินในลิ้นชักเราก็ต้องถูกต้อง
*****************
ผมลองยึดหลัก ทฤษฏี นี้เป็น แก่น ในการทำงาน จิตใจก็นิ่งขึ้นมีสมาธิการลงรายการมากขึ้น ปัญหาเงินขาด-เกิน ก็น้อยมาก

ผม มาจาก สนญ. มานั่งดู ๆ เค้าทำงานอยู่ 1 - 2 วัน ก็นั่ง ทำเลย นับเงินก็ยังช้า เค้าก็ว่าช้า ๆ จี้กันใหญ่

เวลารับเงิน ผมก็โกย ๆ เงินไว้ในลิ้นชักด้านซ้าย ส่วนด้านขวา จะเป็น ลิ้นชัก ที่มีถาดจัดเรียงเงินไว้เป็นระเบียบ ไว้สำหรับ เอาไว้ทอนเงินลูกค้า ทั้งนี้เืพื่อจะได้ลดเวลาแต่ละคิวให้น้อยลง สักนิดก็ยังเอา ครับ

พอลูกค้า ซ่าลงแล้วผมก็ค่อย ๆ เอาเงินมาจัดให้เป็นระเบียบ

มันทำให้ผมรู้ว่า การมานั่งสนใจเงิน ในลิ้นชัก การต้องมาคอยจัดเงินให้ เรียบร้อย นั้น

มันไม่ได้ช่วยให้เงินในลิ้นชัก ตรง ได้เลย มันแค่ให้คุณ ตรวจนับ/กระทบยอด ได้รวดเร็วแค่นั้นเอง ไม่มีประโยชน์อะไรที่ต้องไปคอยกังวลกับมัน...

อย่างตอนผม นั่งเคาร์เตอร์ มาได้สัก 3 เดือน ผมก็ต้องมานั่งรับเงินจองหุ้น ช่อง 9 โห้ 44,000.- 88,000.- แบบเนี่ยทั้งวัน ปิดระบบ เงินในลิ้นชัก 3 ล้านกว่า ไม่รู้มันยัดเข้าไปได้ยังไง แต่เอาออกมานับมันก็ตรง เป๊ะ เลย

เพราะฉนั้น อย่างไปกังวลกับมันให้เสียสมาธิ
ถ้ายึดหลัก ทฤษฏี ที่ 1 และทำได้ดี ก็จะไม่มีปัญหาอะไร...

ทฤษฏีที่ 2

ถ้าลูกค้าเบิกเงิน ให้นำเงินที่กระทบแล้วมาจ่ายเท่านั้น...

เงินขาด สงสัย เครื่องปั่น ปั่นไปเกิน อะไรแบบนี้

จริง ๆ สมัย ผมนั่งใหม่ ผมก็ใช้ของ แคชเชียร์ ใช้ร่วมกัน เพราะนั่งข้างหลัง เยื่อง ๆ ไปหน่อย

พอมาย้ายตึก ก็เป็นคนละส่วนกัน ทำให้ลำบากมาก ก็ซื้อเครื่องปั่นเล็ก ๆ มาช่วยงาน

ก็ทำได้ดีไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่คนอื่น ๆ ที่ใช้ร่วมกัน ก็มักจะบ่น ว่ามีปัญหา ฟังคำพูดแล้วหมดอารมณ์ ก็เลยปล่อยไปตามเวรตามกรรม

ที่นี้มีน้อง ๆ มาบ่นอีก เราก็เลยต้องคิดวิธีให้น้อง ๆ เค้าหน่อย เราเป็น พี่ ก็ต้องดูแลปกป้องน้อง ๆ

คือ กลัวว่าเงินที่ปั่นไปจะเกินไป ก็คิดได้ว่าควรทำแบบนี้

ผมก็ตั้ง ทฤษฏี ว่า ถ้าลูกค้าเบิกเงิน ให้นำเงินที่กระทบแล้วมาจ่ายเท่านั้น...

1. ทำ รับ จากแคชเชียร์ รับมาเลย รับมา แสน จ่ายไป แสน ก็ไม่มีอะไรที่ต้องกลัวอีกต่อไปเงินใน เซฟ นั้นก็เป็นเงินที่กระทบยอดแล้ว


2. เงินที่เรากระทบยอด ในลิ้นชักแล้ว ถ้ามันตรง ก็แสดงว่าที่เรานับ ๆ ไว้นั้น มันถูกต้อง ถ้ามันเกินแหนบใดแหนบหนึ่ง เงินในลิ้นชักเราก็ต้องขาด ... ( แต่ถ้าโชคร้าย ทำรายการ ผิดไป 1 ใบ แล้ว เงินในแหนบ เกินไปอีก 1 ใบ พอดีกันเป๊ะ เลย แล้วแหนบนั้นก็ดันจ่ายไปซะอีก โอกาสก็มีแต่คงน้อยมาก ก็ต้องย้อนกลับไปที่ ทฤษฏี ที่ 1 )

ทำมัยถึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ได้ เครื่องปั่น ก็ไม่ได้่รับประกันความถูกต้อง 100 %

เงินที่รับ ๆ มาสมัยก่อน ผมต้องมียางลบ ไว้คอยลบ พวกคราบเหนียว ๆ ที่ติดบนธนบัตร บ่อย ๆ เจอบ่อยนะครับ

ธนบัตรที่สภาพน่าจะเป็นปัญหา ผมมักจะแยกออกไว้ต่างหาก ไม่เอามาปน จะทำให้มีปัญหาภายหลังได้...

ข้อดีอีกข้อ หนึ่งคือ เวลาเรานับเงินจ่าย จะสะดวกรวดเร็วมาก

นับยังไง ก็ไม่เกิน 50 ใบ

ถ้าเบิก 70,000.- ก็เอาในแหนบ แล้วนับแค่ 30 ใบ แล้วเอาที่เหลือไปปั่น จบ

ทำให้ความเร็วในการนับเงินจ่าย ลดลง มากกว่า 50 %

เป็นวิธีทำงานที่ รวดเร็ว และ มีความปลอดภัยในระดับ ดีเลย ครับ...

============

ผมไ้ม่ได้บอกว่า ทฤษฏี ขอผมนั้น ดีเลิศประเสริฐ สุด อะไร มันก็แค่ ทฤษฏี

ทฤษฏี ตั้งได้ ก็คัดง้างได้ ไม่ได้แปลกอะไร

เพียงแต่ผมคิดได้เท่านี้... ครับ