วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

นิวส์วีคยกย่อง’ทักษิโณมิกส์’เรียกทักษิณว่า “นักคิดทางเศรษฐกิจผู้ยิ่งใหญ่”


Posted by: Jess on สิงหาคม 25, 2008

นิวส์วีค นิตยสารชื่อดังของสหรัฐอเมริกาที่เคยขึ้นปก 4 ผู้นำในเอเชียและมีรูปของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยเป็นหนึ่งในผู้นำทั้ง 4 คนรวมอยู่กับนายหม่า อิง จิ่ว ผู้นำของไต้หวันนายลี เมียง บัก ประธานาธิบดีนักธุรกิจของเกาหลีใต้ และ นายอันวาร์ อิบราฮิม อดีตรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ภายใต้บทความที่นำเสนอในชื่อว่า The Politics of Practical Nostalgia หรือ การเมืองแห่งการโหยหาอดีตที่ทำได้จริง

ล่าสุดนิตยสารนิวส์วีคฉบับประจำวันที่ 1 กันยายน 2551 ซึ่งออกวางตลาดในเร็วๆนี้ได้ลงตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยอีกครั้งในบทความที่มีชื่อว่า A Leader Who Looms/ ผู้นำที่ยังคงยืนเด่นเป็นตระหง่าน โดยเนื้อหาของบทความชิ้นนี้ได้ยกย่อง “ทักษิโณมิกส์” ว่าเป็นนโยบายที่ได้รับการยอมรับในภูมิภาคเอเชียอย่างกว้างขวาง มีผู้นำในแถบเอเชียหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียแม้กระทั่งประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนและอินเดียก็ยังเดินตามรอย “ทักษิโณมิกส์” ของอดีตนายกรัฐมนตรีไทย

แถมไม่พลาดที่จะเหน็บพวกปัญญาชนว่า “พวกปัญญาชนผู้รอบรู้เคยหัวเราะเยาะทักษิณแต่นโยบายเศรษฐกิจแบบประชานิยมของเขากำลังได้รับความนิยมแพร่หลายในเอเชีย”

นอกจากนี้นิวส์วีคยังกล่าวยกย่องชมเชยกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจของทักษิณที่ออกมาในรูป “นโยบายคู่ขนานหรือทักษิโณมิกส์” ว่าเป็น“ความคิดที่ฉลาดหลักแหลม” พร้อมเอ่ยชมอดีตนายกฯทักษิณว่าเป็น “นักคิดทางเศรษฐกิจผู้ยิ่งใหญ่”

โดยในตอนท้ายนิวส์วีคสรุปว่า “นโยบายคู่ขนานที่เฉียบแหลม” นั้นมันทำงานได้ผลจริงๆ

สำหรับ George Wehrfritz แห่งนิตยสาร NEWSWEEK ผู้เขียนบทความ A Leader Who Looms/ ผู้นำที่ยังคงยืนเด่นเป็นตระหง่านนี้เคยเขียนบทความเรื่อง Buddhist Economics/พุทธเศรษฐศาสตร์ มาแล้วเมื่อต้นปี 2007

ผู้นำที่ยังคงยืนเด่นเป็นตระหง่าน

ถอดความภาษาไทยโดย Thinking in ink

พวกปัญญาชนผู้รอบรู้เคยหัวเราะเยาะทักษิณแต่นโยบายเศรษฐกิจแบบประชานิยมของเขากำลังได้รับความนิยมแพร่หลายในเอเชียแม้กระทั่งจวบจนวาระที่เขาอำลาประเทศไทย

โดย จอร์จ เวอห์ฟริซส์
นิตยสารนิวส์วีคระหว่างประเทศ
ฉบับวันที่ 23 สิงหาคม 2551

ในศัพท์ทางการเมือง คุณทักษิณ ชินวัตรไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่า “ผู้สูญเสียอำนาจ” เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้วอดีตนายกรัฐมนตรีแอบดอดเดินทางไปต่างประเทศมุ่งสู่คฤหาสน์หลังงามในอังกฤษของเขาอย่างเงียบๆ เป็นการจบความคาดหวังที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าการกลับคืนสู่มาตุภูมิด้วยความภาคภูมิใจในชัยชนะของเขาเมื่อเดือนมกราคมอาจเป็นลางบ่งบอกถึงการหวลกลับคืนสู่เวทีการเมืองระดับชาติอีกครั้งจากที่ต้องลี้ภัยอยู่หลายเดือนหลังถูกโค่นล้มอำนาจจากการทำรัฐประหารอย่างไม่เสียเลือดเนื้อเมื่อปี 2549

การลี้ภัยแบบคาดไม่ถึงของมหาเศรษฐีพันล้าน(เหรียญสหรัฐ) ผู้สร้างฐานะด้วยตนเองครั้งนี้ก่อให้เกิดการถกเถียงถึง ความถูกต้องของข้อกล่าวหาที่เขากำลังเผชิญอยู่ ทั้งเรื่องที่ทางกรุงเทพฯ ควรดำเนินการเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่และตัวจักรทางการเมืองของคุณทักษิณในอนาคต

แต่แทบไม่มีการกล่าวถึงผลงานที่อยู่ยืนยงสถาพรของคุณทักษิณเลย นั่นคือ: “การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานราก” ที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในหมู่ประเทศกำลังพัฒนา ในการโปรโมทตัวเองนิดหน่อยอย่างไม่ต้องอาย คุณทักษิณประทับตรายุทธศาสตร์การพัฒนานี้ว่า “ทักษิโณมิกส์” ยุทธศาสตร์นี้ถูกนำไปใช้ในการรณรงค์หาเสียงว่าเป็นนโยบายเพื่อยกระดับฐานะของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตที่เขาลงสมัคร (ชาวไทยชนบท) ให้พ้นจากความยากจน นโยบาย "ทักษิโณมิกส์" ถูกนำไปใช้ปฏิบัติจริงหลังจากที่เขาชนะเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลเมื่อปี 2544

นักวิพากษ์วิจารณ์ได้ประณามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของคุณทักษิณว่าเป็น “นโยบายประชานิยมที่ผลาญเงินงบประมาณอย่างมหาศาล” แต่ผู้ที่ไม่ยอมรับนโยบายของทักษิณเหล่านี้ต้องรีบเปลี่ยนความคิดอย่างรวดเร็ว เมื่อนโยบายประชานิยมอย่าง การพักหนี้เกษตรกรและกองทุนหมู่บ้านได้กระตุ้นภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการให้เกิดขึ้นในระดับรากหญ้าและการปรับปรุงสวัสดิการพื้นฐานที่อ่อนแอของประเทศไทยให้ดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดให้มีโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค (เกือบฟรี) ได้ช่วยปลดปล่อยครัวเรือนในชนบทให้เกิดการออมน้อยลงและออกไปจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น (ยกระดับการบริโภคภายในประเทศ) คุณทักษิณเรียกยุทธศาสตร์นี้ว่า “การพัฒนาแบบคู่ขนาน” หรือ “การพัฒนาเศรษฐกิจทวิวิถี” ซึ่งกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์จากตลาดภายในประเทศมากขึ้นควบคู่ไปกับภาคการส่งออกและมันทำงานได้ผลจริงๆ

ประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย ซูซิโล บัมมัง ยุดโดโยโนได้เดินตามรอย “ทักษิโณมิกส์” ในการช่วยเหลือครัวเรือนที่ยากจนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นโดยออกมาตราการใช้เงินอุดหนุนพยุงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศเพื่อไม่ให้คนยากจนต้องใช้น้ำมันแพง หรือ นายมันโมฮัน ซิงห์ นายกรัฐมนตรีของอินเดียได้ริเริ่มโครงการสร้างงานในชนบทหลายล้านตำแหน่ง ความต้องการในการบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของเขาสะท้อนให้เห็นถึงการเดินตามนโยบายประชานิยมของทักษิณเป็นอย่างมาก หรือ ประธานาธิบดีกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย แห่งฟิลิปปินส์ที่ครั้งหนึ่งเคยประกาศว่า “ฉันเป็นสานุศิษย์ของทักษิโณมิกส์อย่างไม่อาย” และนับตั้งแต่ปี 2549 เมื่อจีนเปิดตัวโครงการขนาดยักษ์ใหญ่เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางการลงทุนของรัฐที่ต้องการเนรมิตโครงการ “การพัฒนาชนบทตามแนวทางสังคมนิยมรูปแบบใหม่” ขึ้นในพื้นที่ชนบทห่างไกล ทางปักกิ่งได้ยกเลิกภาษีการเกษตรทั่วประเทศ จัดสรรเม็ดเงินหลายร้อยล้าน (เหรียญสหรัฐ) ให้กับอุตสาหกรรมในชนบทและนอกจากนี้ยังหาหนทางเพื่อช่วยฟื้นฟูจังหวัดที่ยากจนทางตอนกลางของประเทศ (ย้อนไปในปี 2003 จีนได้ส่งคณะผู้แทนชุดหนึ่งไปยังประเทศไทยเพื่อศึกษา “ทักษิโณมิกส์” ตามรายงานของทางการจีน)

http://shiningjessica.wordpress.com/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%93%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C/

จากคุณ : WTKn

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น