โดย longtime flynow เมื่อวันเสาร์ ที่ 01 ตุลาคม 2011
ดูแล้วชวนสงสัยว่าน้ำท่วมครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ถูกวางแผนไว้โดนเริ่มปฎิบัตืการมาตั้งแต่เดือนเมษายนปีนี้
โดยเริ่มจากเขื่อนสิริกิตติ์มีข้อมูลว่า
- เมษา 54 ปริมาณน้ำในเขื่อน 50.21% แต่กลับปล่อยน้ำออกเพียง 7.0 ล้านลบม. ในขณะที่ปี 53 ปริมาณน้ำ 37.95% ระบายน้ำถึง 12 ล้านลบม.
- พค 54 ปริมาณน้ำในเขื่อน 52.63% แต่กลับปล่อยน้ำออกเพียง 7.5 ล้านลบม. ในขณะที่ปี 53 ปริมาณน้ำ 36.90% ระบายน้ำถึง 8.3 ล้านลบม.
- มิย 54 ปริมาณน้ำในเขื่อน 60.27% แต่กลับปล่อยน้ำออกเพียง 0.0 ล้านลบม. ในขณะที่ปี 53 ปริมาณน้ำ 34.10% ระบายน้ำถึง 11.0 ล้านลบม.
ตอนนี้ หายสงสัยแล้วว่าปริมาณน้ำส่วนเกินมันมาจากไหน พอเริ่มปล่อยน้ำออกมาก็พอดีกันกับที่ฝนตกชุก พอน้ำจากเขื่อนสิริกิตติ์ปล่อยลงสู่แม่น้ำน่านก็ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมสมัย ปลายรัฐบาลอภิสิทธิ์และส่งกระทบเป็นโดมิโนไปยังทุก ๆ เขื่อน
ไม่อยาก สรุปเลยว่าอภิสิทธิ์ยุบสภาหนีน้ำท่วม แต่ที่พวกมันคาดการณ์ผิดก็คือปีนี้ฝนมาเร็วกว่าปกติหนึ่งเดือนทำให้เกิดน้ำ ท่วมตั้งแต่สมัยอภิสิทธิ์
เอาไว้วันหลังจะเอาตารางสรุปการเก็บและปล่อยน้ำของทุกเขื่อนมาให้ดูคะขอเวลารวมรวมข้อมูลหลักฐานก่อน
นำข่าวเก่าของเมื่อปีที่แล้วมาเสริมครับ
วันที่ 2 ตุลาคม 2553 "
นายสุทธิโรจน์ กองแก้ว ผอ.โครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาลำตะคอง สน.ชลประทานที่ 8 นครราชสีมา
ให้สัมภาษณ์ว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว ยังต้องการน้ำอีกจำนวนมาก
แม้นจะมีพายุอีก 2-3 ลูก พัดผ่านก็ยังรองรับน้ำได้อย่างสบาย ล่าสุดเมื่อช่วงเที่ยงที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำ
164 ล้านลูกบาศ์กเมตร หรือ 52 % ของความจุเต็มที่ 314 ล้านลูกบาศ์กเมตร"
รูปภาพ
ให้ดูระดับน้ำในอ่างลำตะคอง (ช่องที่ 3) และปริมาณน้ำที่ระบายออกจากอ่างในช่องสุดท้ายขวามือนะครับ
เราจะพบว่าระดับในอ่างลำตะคองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นมา ตั้งแต่ระดับเพียง
173 ล้าน ลบ.ม.หรือประมาณ 55.10% ของความสามารถกักเก็บน้ำทั้งหมด จนถึงวันที่ 15 ตุลาคม
ปรากฏว่าระดับน้ำได้เพิ่มขึ้นมาถึง 246 ล้าน ลบ.ม. หรือเท่ากับ 78.34% ของความสามารถ
กักเก็บน้ำทั้งหมด แต่น้ำจากในอ่างไม่ได้ค่อย ๆ ถูกระบายออกมาเลยแม้แต่ ลบ.ม. เดียว
จากการให้ข่าวของ นายจักรกฤษ แจ้งกรณ์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง
เมื่อ 17 ตค. 53 ซึ่งวันนั้นปริมาณน้ำในอ่างเกิน 85% แล้ว
"จักรกฤษณ์ ผอ. เขื่อนลำตะคอง เผยฝนตกหนัก ยังไม่เปิดประตูระบายน้ำ ยันยังรับน้ำได้ ไม่มีเขื่อนแตกแน่
เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง
นายจักรกฤษ แจ้งกรณ์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง กล่าวว่าขณะนี้ปริมาณน้ำ
ภายในอ่าง เก็บน้ำลำตะคอง ที่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา อยู่เต็มระดับกักเก็บที่ 314 ล้านลูกบาศก์เมตร
และระดับน้ำเหลืออีกเพียง 30 เซนติเมตร ก็จะล้นบานประตูระบายน้ำ ( สปริลเวย์ ) ไหลลงสมทบ
ในลำน้ำลำตะคองที่อยู่เบื้องล่าง เนื่องจากยังคงมีฝนตกหนัก ในพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำ โดยเฉพาะที่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และกำลังไหลบ่ามาอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ทางโครงการส่งน้ำ
และบำรุงรักษาลำตะคองยังยืนยันว่า จะไม่มีการเปิดการระบายน้ำ ทางช่องทางอื่น นอกเหนือจาก
ปล่อยให้ล้นออกทางสปริลเวย์เท่านั้น เพื่อไม่ให้ปริมาณน้ำภายในอ่างไหลลงสู่ลำคลองธรรมชาติ
ซ้ำเติมสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ใต้เขื่อน ที่กำลังประสบกับปัญหาอย่างหนัก และขอประกาศเตือนประชาชน
ที่อยู่ติดกับลำน้ำลำตะคองตั้งแต่ อ.สีคิ้ว , สูงเนิน , เมือง รวมถึง อ.พิมาย ให้ขนย้ายข้าวของไปไว้บนที่สูง
และเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง"
.. แต่สุดท้ายน้ำก็ล้นเขื่อน บริหารงานด้วยความประมาทหรือเหตุสุดวิสัย ?? ..
เครดิต : สำนักข่าว INN
Daily News Online
หวั่นเขื่อนแตก ลำตะคองปล่อยน้ำ
วันอาทิตย์ ที่ 17 ตุลาคม 2553 เวลา 19:06 น
ลำตะคองสุดอั้น!!! รับน้ำไม่ไหวหวั่นเขื่อนแตก เตรียมปล่อยน้ำคืนนี้ ประกาศเตือนชาวบ้านใต้เขื่อน ระวัง
เมื่อ เวลา 17.45 น.วันที่ 17 ต.ค. ได้มีประกาศจากศูนย์วิทยุตำรวจ สภ.สีคิ้ว ศูนย์วิทยุ สภ.สูงเนิน ศูนย์วิทยุหน่วยกู้ภัยสว่างแสงธรรมสูงเนิน ศูนย์วิทยุหน่วยกู้มูลนิธิพรหม ธรรมสีคิ้ว และวิทยุชุมชนบางสถานีในพื้นที่ ว่าได้รับแจ้งจากกรมชลประทานว่าอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีความจุในการกักเก็บน้ำได้ ถึง 310 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะนี้ฝนได้ตกอย่างรุนแรงในท้องที่ อ.ปากช่อง ซึ่งอยู่เหนือเขื่อน เป็นเหตุให้น้ำไหลเข้าตัวเขื่อน เป็นจำนวนมากจนเหลือเพียง 30%เท่านั้น น้ำก็จะล้นเขื่อน ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ สำนักงานชลประทานลำตะคอง จึงจำเป็นต้องระบายระดับน้ำในลำตะคองก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากระดับน้ำที่ 55.10% ในวันที่ 1 มาจนถึงระดับเกือบ 100%
ในอีกเพียงแค่ 2 สัปดาห์คือในวันที่ 16 ตค. 53 และในวันเดียวกันนั้นเอง น้ำได้หลากจากอำเภอสีคิ้ว,
ปักธงชัย, เขตอุทยานทับลาน และเขาใหญ่ มาบรรจบกันเข้าท่วมเขตอำเภอต่าง ๆ ของนครราชสีมารวมทั้ง
อำเภอเมือง ซึ่งแน่นอนว่าน้ำปริมาณมหาศาลจากทั้ง 4 แหล่งที่หลากมานั้น ได้ไหลลงอ่างเก็บน้ำลำตะคองด้วย
จนปริมาณน้ำในอ่าง ฯ ล้นระดับสันเขื่อนจนต้องแอบปล่อยน้ำออกจากเขื่อนลำตะคองในกลางดึกของคืนวันที่ 17 ตค.
ซึ่งเป็นเหตุให้น้ำจำนวนมหาศาลได้ไหลเข้าท่วมซ้ำเติมในหลายพื้นที่ของนครราชสีมาจนถึงระดับวิกฤติอย่างรวดเร็ว
และเกิดความสูญเสียรวมทั้งเสียหายหนักกว่าที่ควรจะเป็น
ที่ผมมองอย่างนี้เพราะได้พบพิรุธอีกข้อนึงในรายงานสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำและเขื่อนทั่วประเทศซึ่งจัดทำโดย
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตรในวันที่ 17 ตค. 53 ซึ่งเป็นวันที่ต้องสงสัยว่ามีการปล่อยน้ำออกจาก
เขื่อนลำตะคองมากจนเข้าท่วมซ้ำเติมเมืองโคราชนั้น หายไปจากระบบฐานข้อมูล อย่างน่าแปลกใจโดยตลอด
ทั้งเดือนนั้นอยู่ครบ ต้องมาเจาะจงหายแม่มวันนั้นวันเดียว !!น้ำออกจากเขื่อนภายในเวลา 24.00 น.คืนนี้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแตกร้าว ของตัวเขื่อนซึ่งอาจจะเกิด อันตรายกับประชาชนที่อาศัยอยู่ใต้เขื่อน
สรุปคือ ไม่มีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อน แทนที่จะทยอยปล่อยไปเรื่อย ๆ กับเก็บกักน้ำไว้ อ้างว่าจะไปท่วมซ้ำเติมข้างล่าง แต่ก็รู้อยู่ว่า ฝนจะตกลงมา เติมน้ำในเขื่อน จนเต็มต้องปล่อยน้ำออกมาแน่ พอเต็มต้องปล่อย ก็พอดีกับเขื่อนอื่นต้องปล่อยด้วย น้ำเลยท่วมมากยี่งขึ้น
น่าสนใจนะ
น้ำจะท่วมไปเรื่อย ๆ จนกว่าคนเสื้อแดงจะยอมแพ้หรือไม่ก็อมาตย์สูญพันธุ์
เจ้าของ อำแดงเหมือน
viewtopic.php?f=2&t=10000
วันนี้ได้ยินอธิบดีกรมอุตุฯแถลงว่าน้ำท่วมปีนี้เกิดจากน้ำมือมนุษย์ไม่ใช่ปริมาณน้ำฝน
เจ้าของ อำแดงเหมือน
viewtopic.php?f=2&t=10125
==========================
ขอเชิญทุกท่านเข้าไปดูได้ที่เว็บกรมชลประทาน
เพื่อเข้าไปพิจารณาถึงความไม่ชอบมาพากลของปัญหาน้ำท่วมที่เลวร้ายอย่างสุดขีด เพราะ เพียงแค่ดูข่าวทีวี เห็นภาพน้ำท่วมบ้านเรือน อาจจะทำให้ไม่รู้ถึงสภาพของปัญหา แต่คงไม่ทำให้ท่านได้เห็นปัญหาที่แท้จริงว่ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
อย่างที่ผมเคยตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับน้ำท่วมปีที่แล้วไว้ในกระทู้ก่อนหน้านี้
ในปีนี้ก็เช่นเดียวกัน น้ำที่ไหลมาเป็นน้ำที่ค่อนข้างใส เพราะมวลน้ำดังกล่าวเคยถูกกักเก็บไว้ในเขื่อน
และเมื่อดูระดับกักเก็บน้ำในเขื่อนย้อนไปตั้งแต่ต้นปี ก็จะพบความสอดคล้องกันของสิ่งที่ผมสงสัย
ข้อมูลต่าง ๆ ดูได้จากเว็บไซต์นี้ กรมชลประทาน
โดยทางด้านซ้ายจะมีรายชื่อเขื่อน เมื่อคลิ๊กที่ชื่อ จะเห็นภาพกราฟขึ้นมา เช่น เขื่อนแม่กวง
สำหรับคนที่ยังไม่เคยดูกราฟในลักษณะนี้มาก่อน อาจทำให้ดูแล้วไม่เข้าใจ ผมจึงของอธิบายไว้ ณ ที่นี้
======== คำอธิบายในการดูกราฟ ==========
- กราฟนี้ เริ่มต้นในวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี เรียกว่า ปีน้ำ (Water Year)
- "เส้นกราฟเกณฑ์กักเก็บน้ำ สูงสุด-ต่ำสุด" คือ เกณฑ์ระดับกักเก็บน้ำที่แนะนำไว้
ถ้าช่วงเวลาใดเส้นกราฟลาดลง แสดงว่าช่วงนั้นควรระบายน้ำให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์
(ระบายน้ำออกจากเขื่อน ในปริมาณที่มากกว่า น้ำไหลเข้ามาเติมในเขื่อน) ซึ่งจะเป็นช่วงฤดูแล้ง ไม่มีฝนตก การระบายน้ำสู่ระบบชลประทาน
ส่วนช่วงเวลาที่เส้นกราฟขึ้นสูง แสดงว่าช่วงนั้นควรกักเก็บน้ำสะสมไว้ (ปริมาณน้ำไหลเข้าสู่เขื่อน มากกว่าที่ระบายน้ำออกไป) จะเป็นช่วงฤดูฝน มีฝนตกทั่วไป ซึ่งเป็นโอกาสที่จะสะสมน้ำไว้ในเขื่อนสำหรับช่วงฤดูแล้ง
โดยแต่ละเขื่อนจะมีระดับเกณฑ์แนะนำที่แตกต่างกันไปตามฤดูกาลในแต่ละภูมิภาค
- "เส้นกราฟสี ระดับกักเก็บน้ำจริง" คือ เส้นระดับกักเก็บน้ำในเขื่อนจริงของแต่ละปี
ถ้าเส้นกราฟระดับกักเก็บน้ำลดลงก็แสดงว่ามีการระบายน้ำ แต่ถ้าเส้นกราฟสูงขึ้นแสดงว่ามีการกักเก็บน้ำ
======================================
จะเห็นได้ว่า เขื่อนแม่กวง ที่ผมยกตัวอย่างมานี้
ในปี 2554 นี้เริ่มมีการกักเก็บน้ำตั้งแต่เดือน 20-30 เมษายน 54
ซึ่งมันผิดปกติเป็นอย่างมาก เพราะสวนทาง (หรือเส้นกราฟตัดกัน) กับเส้นกราฟแนะนำไว้ และเป็นเช่นนี้เหมือนกันในอีกหลาย ๆ แห่ง
เป็นไปได้มั๊ยว่าน้ำท่วมครั้งนี้เกิดจากปัญหาวิกฤติการเมืองของคนบางกลุ่ม
เพื่อกลบขี้ที่ตัวเองได้ทำไว้
เพื่อเบียงเบนความสนใจของประชาชน
เพื่อเพิ่มภาระให้กับรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย ไม่ให้มีโอกาสดำเนินตามนโยบายที่วางไว้
ถ้าอย่างที่ผมสงสัยเป็นจริง
นี่อาจจะเป็นขั้นตอนหนึ่งที่นำไปสู่การขีดเส้นตาย 6 เดือน
ที่มีคนกำหนดให้กับรัฐบาลคุณปูยิ่งลักษณ์
จากคุณ : Jump Master
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไปทำการบ้านมาใหม่นะครับ เพราะข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดไม่ตรงกับความเป็นจริงเลย
ตอบลบดูรายงานปริมาณน้ำได้จากเว็บนี้
http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/egat_dam.php