วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

* เรื่องคดีที่ดินรัชดาฯ ที่คุณหญิงพจมารซื้อ *

ประเด็นที่นักกฏหมายเค้าวิเคราะห์อีกประเด็น

คือคำว่าคู่สัญญาหรือการ เข้าทำสัญญากับรัฐของคุณหญิงพจมาน  ว่าไม่ได้เป็นการทำสัญญาหรือสัมปทานตาม ความหมายมาตรา 100 เพราะกฏหมายว่าด้วยการประมูล เป็นกฏหมายเฉพาะ  บัญญัติว่าผู้ที่ประมูลได้ ทรัพย์สินจะถูกโอนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประมูลทันทีที่เคาะไม้ โดยผลของกฏหมาย ไม่ต้องรอทำสัญญา(ตามมาตรา100) เพราะฉะนั้น คุณหญิงอ้อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินไปแล้ว โดยไม่ต้องเข้าเป็นคู่สัญญาตามมาตรา 100 พิธีการต่างๆ ที่กองทุนจัดให้ส่งเอกสารเพื่อทำสัญญารับโอนที่ดินตามปพพ.แพ่ง ลักษณะที่ดิน

จึงเป็นการกระทำที่เกินจำเป็น เนื่องจากมันมีผลตามกฏหมายไปแล้ว..อันนี้ก็เป็นอีกประเด็นที่ถกเถียงกันในแวดวงกฏหมาย

ม.100


ประเด็นที่ว่า มีอำนาจกำกับ ดูแล

 การ ขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ไม่ต้องปฎิบัติตามคำสั่งมติคณะรัฐมนตรี — อังคารที่ 22 กันยายน 1998 18:32:00 น.

 –ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุด นายชวน หลีกภัย)–วันที่ 22 กันยายน 2541–

ทำเนียบรัฐบาล–22 ก.ย.–บิสนิวส์
คณะ รัฐมนตรีอนุมัติการขอยกเว้นให้สถาบันการเงินที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ พัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

*********

คลิป เรืองไกร วิเคราะห์ คดีรัชดา

*********

ประเด็นที่ตัดสิน ให้ผิดที่ ม.100(1) วรรค 3

ม.100(1) มีวรรคเดียว ไม่มีวรรค 3 ไม่มีในข้อกฏหมาย

แต่ตัดสินว่าให้มีความผิดที่มีใน กม. ก็มันไม่มีใน กม. ไง

ดู กม. ม.100(1) มี () 1 2 3 4 แต่ไม่ใน (1) มีวรรคเดียวครับไม่มีวรรค 3


*********
ประเด็นการตัดสิน เป็นคดีอาญาได้ต้องมี เจตนา

ที่พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 จึงเท่ากับว่าผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนที่ออกเสียงเป็นคนสุดท้ายได้ลงมติว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า น่าจะเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 39 วรรคสอง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 และมาตรา 184 จึงมีข้อพิจารณาว่าเป็นการลงมติที่ถูกต้องหรือไม่ คำพิพากษาคดีนี้สามารถยืนยันได้แท้จริงหรือไม่ว่าพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 ควรต้องรับโทษในทางอาญาหรือไม่

*********
 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 39 บัญญัติว่า “บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลากระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้น จะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้ ใน คดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด”

2. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 บัญญัติว่า “ให้ศาลใช้ดุลพินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงอย่าพิพากษาลงโทษจนกว่า จะแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น เมื่อมีความ สงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย”

3. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 184 บัญญัติว่า “ในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้อธิบดีผู้พิพากษา ข้าหลวงยุติธรรม หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้น หรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคนให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมากถ้าในปัญหาใดมีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย หรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไปจะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอมเห็นด้วยผู้พิพากษา ซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า”

*********

ประเด็นที่ว่า ธปท. เป็นหน่วยงานของรัฐหรือไม่ ในขณะที่ทำสัญญาซื้อขาย

สลิ่มมักอ้างตรงนี้ใน โซเชียล

พรบ.ธปท. ได้กำหนดให้มีสถานภาพเป็นนิติบุคลและเป็นหน่วยงานของรัฐมาตั้งแต่วันเริ่มออก พรบ.ในปี พ.ศ. 2485




ภาพข้างบนนี้นี้ มันเป็น พรบ. ฉบับปี 2551 ครับ...

ภาพข้างล่างนี้ เป็นของ จริง 2548 ครับ...







ตาม Link นี้นะครับ...
พรบ. ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548

*********
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นนิติบุคคล และได้เปิดดำเนินการ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485

ต่อมาได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485  เพื่อให้ความรับผิดชอบของ ธปท. ต่อสาธารณชนมีความชัดเจนยิ่งขึ้นและมีกลไกป้องกันวิกฤติเศรษฐกิจ ตลอดจนกระบวนการตัดสินใจของ ธปท. มีความโปร่งใสและสร้างธรรมาภิบาลในองค์กร  รวมทั้งสาธารณชนสามารถตรวจสอบและ รับทราบการทำงานของ ธปท. มากยิ่งขึ้น โดยมีผลบังคับใช้พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ตั้งแต่วันที่ 4  มีนาคม 2551
--------------------------------------------------------------------
นั่นคือ ก่อนวันที่ 4 มี.ค. 51 ----> ธปท.เป็น "นิติบุคคล" แน่นอน

และ เมื่อปี 2546 นั้น ได้สอบถามไปที่สำนักงานกฤษฎีกาแล้วซื้อได้หรือไม่ ซึ่ง สนง.กฤษฎีกา พิจารณาแล้วว่า กองทุนฟื้นฟูเป็นของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งระบุว่าเป็นนิติบุคคล ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐจึงไม่ได้เป็นคู่สัญญากับรัฐ สามารถซื้อได้

*********

แต่มีคน "เชื่อได้ว่า" เป็นหน่วยงานรัฐมาตั้งแต่ ปี 2485


โดย นำ พรบ. ปี 2542 มาประกอบการตัดสินใจ





























อ่านดู ก็ดูมีเหตุผลนะครับ แต่ ถ้าจะอ้างตามนั้นก็...

พรบ. 2548 นั้น กำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่า เป็น นิติบุคคล

เพราะถ้าเป็นของรัฐแต่เดิม จะมาแก้ไข ม.6 ( ปี 2551 )ทำมัย...
 
และเมื่อ ธปท. เป็น นิติบุคคล แล้วทำมัย กองทุนฟื้นฟูของ ธปท. จึงไปเป็นหน่วยงานรัฐ   

อ้างไม่ได้ ตาม พรบ. 2542 เพราะ ธปท. เป็น นิติบุคคล เอาเงิน นิติบุคคล ไปลงทุน กับ นิติบุคคล ไม่ใช่เงินรัฐ (ถึงจะเป็นเงินของรัฐ แต่รัฐให้สิทธิในการนำไปใช้ เพราะทำในนามนิติบุคคล) ไปลงทุนใน นิติบุคคล

การประมูลนั้น กองทุนฟื้นฟูฯ ทราบหรือไม่ว่าตัวเองเป็นของรัฐ

ถ้าทราบว่าตัวเองเป็นของรัฐ วันทำสัญญา รับเงินคุณหญิง 
ไม่รู้เหรอครับว่าคุณหญิง เป็นเมียนายกฯ 

แล้วเอกสาร ที่ท่านนายก เซ็นต์รับรองให้แนบไปด้วยนั้น
ก็ไม่รู้อีกว่า นายกชื่ออะไร 

เป็นใครจะเชื่อครับว่า กองทุนฯ ไม่รู้

ผมว่าเค้ารู้ครับ ว่าคุณหญิงพจมาร เป็นภรรยาท่านนายก

แต่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็น หน่วยงานของรัฐต่างหาก

ประเด็น มันไม่ได้อยู่ที่ว่าท่านนายก เข้าประมูลงานรัฐ
แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า หน่วยงานนั้น ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นหน่วยงานรัฐ 

อย่างนี้ฟ้องกลับได้มัย... ว่าหน่วยงานรัฐ ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ
ทำให้ ผู้ประมูลได้รับความเสียหาย



*********

เรื่อง ให้วันที่ 31 ธค. 46 เป็นวันทำงาน

เขาทำสัญญากันวันที่ 30 ธันวา 2546

แล้วที่เขาให้ทำงานกันวันที่ 31  ธันวา 2546 เพราะว่ามันเป็นวันพุธ
วันที่ 1 เป็นวันพฤหัส

* ราชการต้องมาทำงานกันวันศุกร์ *


แบบปกติ แถบสีแดง หยุด แถบสีเหลือง ยังต้องมาทำงาน

อ     พ     พฤ        ส   อา
30    31    1      2      4


เค้าก็เลยปรับให้เป็นแบบนี้

อ     พ     พฤ    ศ        อา
30    31    1      2      3   

เขาเลยเลื่อนออกไป 1 วัน จะได้หยุดยาว ศุกร์  เสาร์  อาทิตย์ ไปเลย

ไม่ได้เกี่ยวกับวันทำสัญญาซักนิดเดียว


* การเลื่อนวันหยุดปีใหม่ เพื่อให้ได้ประโยชน์ *

มี การกล่าวอ้างว่าเหตุผลที่เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติเลื่อนวันหยุดปีใหม่ จากวันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันที่ 2 มกราคม โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้ประชาชนได้หยุดยาวตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 4 มกราคม พ.ศ. 2547 [1] เพื่อให้การซื้อขายที่ดินรัชดา สามารถดำเนินการได้ทันสิ้นปี เพื่อเสียค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน เฉพาะกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ในอัตราลดหย่อน เพียง 0.01% [2] ที่มีผลใช้บังคับถึงสิ้นปี พ.ศ. 2546 แต่ต่อมาในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2546 กรมที่ดินได้ขยายระยะเวลาใช้อัตราลดหย่อน ไปอีก 1 ปีจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2547 [3] และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจริงเกิดขึ้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2546″
จะเห็นได้ว่าแม้ทักษิณจะไม่ประกาศเลื่อนหยุด
จากวันที่ 31 ธ.ค.46 เป็นวันที่ 2 ม.ค.47
เขาก็โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ในอัตราลดหย่อน 0.01%
เพราะเขาโอนวันที่ 30 ธ.ค.46 ไม่ใช่วันที่ 31 ธ.ค.46

ตามที่มีการกล่าวหาหรือเข้าใจกันผิดๆ
แถมอัตราการลดหย่อนภาษีที่ดินก็ทำกันเรื่อยๆ
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทางอ้อมเพื่อให้คนเร่งตัดสินใจซื้อบ้าน
ก็จะมีการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ทำให้คนตกงานน้อยลง
และธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านอสังหาริมทรัพย์ก็จะบูมขึ้น
เศรษฐกิจจะได้ดีขึ้น เป็นมาตรการที่แทบจะทุกรัฐบาลใช้
ในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ค่อยจะดีนัก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น
แถมกรณีนี้ กรมที่ดินก็ยังต่อให้อีกในปี 47
ดังนั้นต่อให้เขาเซ็นต์สัญญาไม่ทันปี 46 จริง
เขาก็มาเซ็นต์วันไหนก็ได้ในปี 47 ได้ลดหย่อนภาษีเหมือนกัน
ดังนั้นข้อกล่าวหาเรื่องนี้จึงเป็นข้อกล่าวหามั่วๆ อีกเรื่องหนึ่ง











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น