วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

2 เขื่อนยักษ์ ปริศนาลับ! กำจัดปู! บทพิสูจน์น้ำ “หมื่นล้านคิว” มาจากไหน?ใครวางงาน?

เอ้าคุณ "เอิน กัลยกร" เอาข้อมูลไปอีก เผื่อหูตาจะสว่างขึ้นบ้าง
ปกติเขื่อนภูมิพล จะต้องมีระดับความจุเก็บกักน้ำต่ำสุดคือ 3,800 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ความจุเก็บกักน้ำต่ำสุดคือ 2,850 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งก็จะมีปริมาณน้ำที่แม้จะน้อยแต่ก็พอประคองสถานการณ์ภัยแล้งได้บ้าง
แต่ในปีนี้การดูแลน้ำในเขื่อนทั้ง 2 เกิดความวิตกในเรื่องภัยแล้งมากจนเกินเหตุ ทำให้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา ทั้งๆที่ระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีอยู่ที่ความจุ กว่า 6,000 ล้าน ลบ.ม. แล้ว แต่กลับไม่มีการพร่องน้ำเอาไว้เลยแม้แต่น้อย (ดูกราฟที่ 1 และ 2 ประกอบ)
ทำให้ในช่วงเดือน พฤษภาคม มิถุนายน จนถึงกรกฎาคม น้ำในเขื่อนถูกเก็บกักเอาไว้สูงขึ้นเรื่อย
ประกอบกับในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม มีการเลือกตั้ง ทำให้เกิดช่วงสุญญากาศทางการเมือง รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาลรักษาการอยู่จนถึงต้นเดือนสิงหาคม ทำให้การดูแลระดับน้ำในเขื่อนอยู่ในการดูแลรับผิดชอบของกรมชลประทาน
เนื่องจากกว่ารัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์จะสามารถทำหน้าที่ได้ ก็เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม เวลาประมาณ 21.30 น. ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งคณะรัฐนตรี รัฐบาลยิ่งลักษณ์ จากนั้นในวันที่ 10 ส.ค. นางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี จึงได้นำคณะรัฐมนตรีเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 14 รพ.ศิริราช
ซึ่งในวันที่ 13 สิงหาคม ตามกราฟจะเห็นว่า เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีความจุน้ำพุ่งขึ้นไปถึง 8,400 ล้าน ลบ.ม.แล้ว ทำให้เมื่อเจอกับพายุเข้า 3-4 ลูกติดๆกัน น้ำในเขื่อนใหญ่ทั้ง 2 จึงขยับขึ้นมาเต็มเขื่อนอย่างรวดเร็ว
เมื่อน้ำในเขื่อนสิริกิติ์แตะระดับ 9,500 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนภูมิพลแตะ 13,500 ล้าน ลบ.ม. ในต้นเดือนกันยายน จึงทำให้เขื่อนต้องเร่งระบายน้ำ และกลายเป็นมวลน้ำจำนวนมหึมาที่เกิดขึ้นในขณะนี้นั่นเอง และกลายเป็นโศกนาฎกรรมใหญ่ในครั้งนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น