วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดูคู่กรรม ทำมัยญี่ปุ่นต้องปรับปรุงความสัมพันธ์กับไทย จริงหรือ

จริงครับ...

จาิกเรื่อง บุหรี่ ม้วนเดี่ยว...

เรื่องก็ลุกลามบานปลายอย่างที่กล่าวไว้แล้วในบทความก่อน

ผลจากเรื่องนั้น ทำให้ญี่ปุ่นต้องปรับปรุงความสัมพันธ์กันอย่างยกกระปิครับ

เริ่ม ตั้งแต่ต้นปี 2486 ก็ยกกระปิกันเลยครับ

จากบทความของ ความทรงจำของ นายพล นากามูระ
ผู้บังคับบัญชากองกำลัง ญี่ปุ่นในไทย แทน นายพล ทานากะ จนสิ้นสุดสงคราม

ท่านนายพล กล่าวว่า ในงานฉลองปีใหม่ 1 มค. 2486 นั้น
ท่าน นายก โตโจ ได้เดินมาหาท่านแล้วเรียกไปคุยเป็นการส่วนตัว
กล่าวว่า คุณ จะได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ไปประจำที่ประเทศไทย
แล้วกล่าวต่อไปว่า ภาระกิจนี้ สมเด็จพระจักพรรดิ์ให้ความสนใจเป็นพิเศษ
คุณ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ เป็นคำกล่าวสั้น ๆ ง่าย ๆ

ท่านกล่าวว่าท่านรู้สึกสร่างเมาแล้วกล่าวตอบไปว่า
" กระผมจะไปอย่างพระโพธิสัตว์ "
เป็นคำตอบที่ไม่ค่อยปกตินัก ท่านโตโจยิ้มแล้วก็บอกว่า "เออ..ดีแล้ว ๆ"

การมาของ นายพล นากามูระ นั้น สิ่งแรก ๆ ที่ทำคือ
คำสั่งห้ามตบหน้าก็ได้มีการบังคับใช้ในทันที และ ก็คืน ม.จุฬา ให้กับไทย

ปัญหาหนี้สิ้น ที่ญึ่ปุ่นติดค้าง ไทยในการทำศึกกับมาลายู ก็เริ่มดำเนินการ
มันเป็นหนี้ก้อนใหญ่ จน สิ้นสุดสงครามแล้วก็ยังต้องชำระกันอยู่

ให้ความรู้แก่ทหารที่ประจำการโดยจัดทำคู่มือ แจกแก่ทหารทุกคน
ที่ประจำการในประเทศไทย ในหนังสือกล่าวไว้ เช่น
- สถานะของพระภิษุ สงฆ์
- การตบหน้าหรือศรีษะ เป็นสิ่งต้องห้าม
- การเปลือยกาย ในที่สาธารณะ เช่น ในตู้รถไฟ สถานีรถไฟ ไม่เหมาะสม
- การปัสวะ ข้างทางโดยไม่ลับตาคน ไม่เหมาะสม
 ฯลฯ

* หลังแพ้สงคราม มีทหารญี่ปุ่น ที่เรือนจำ ซูกาโมะ ในคดีที่เกี่ยวกับ
เชลยสงคราม มากกว่าครึ่ง เป็นคดี ตบหน้าเชลย

แต่ถึงกระนั้นความระแวงแครงใจระหว่าง ไทยกับญี่ปุ่น ก็ยังมีอยู่ เช่น

เหตุการที่ระนอง...

รบ. จอมพล ป. ลาออกไป กรุงเทพฯ อยู่ในภาวะตึงเครียด

ข่าวนี้กระจายกันไปทั่วกองทัพญี่ปุ่น

กลางดึกคืนหนึ่ง กองกำลัง ซิราตากิ กองทัพที่ 29 ได้รับรายงาน
ไม่ได้อ่านดูให้ถี่ถ้วน เข้าใจว่า กทม. เกิดการปะทะกัน ระหว่าง ไทย-ญี่ปุ่น
จึงเข้าทำการปลดอาวุธกองกำลังตำรวจ

ทำให้ฝ่ายไทย เสียชีวิต 10 กว่า คน

แต่ทางฝ่ายไทยไม่ได้ติดใจเพราะเป็นความเข้าใจผิด เรื่องก็จบไป

***

ในการแพ้สงครามของญึ่ปุ่นนั้น
ทหารญี่ปุ่น มากกว่า 1 แสน นาย ยังต้องอยู่ในประเทศไทยระยะหนึ่งก่อน
ที่กระบวนการส่งกลับประเทศจะดำเนินการเสร็จสิ้น
เป็นการสิ้นสุด กองบัญชาการกองทัพที่ 18 " งิ "

ท่านนายพล นากามูระ กล่าวไว้ว่า 

ไทยเป็นชาติเดียวในโลกที่แสดงมิตรไมตรีต่อ ญี่ปุ่นผู้แพ้

***

การแสดงออกนั้น ไม่ได้มีเฉพาะแต่ รบ. ไทย เท่านั้น
แต่ยังร่วมถึงประชาชนคนไทยด้วย 

ดังตัวอย่างที่ท่านกล่าวไว้

- หญิงชราขายกล้วย ให้กล้วยกับเชลยทหารญี่ปุ่น ที่เหนือยล้าจากการเกณแรงงาน
- ตร. นำเชลยทหารญี่ปุ่นที่เหนือยล้า ออกจากแ้ถวให้พักดืมกาแฟและนมที่ร้านค้าแถวนั้น
- คนขับรถโดยสาร ให้เชลยทหารญี่ปุ่นโดยสารไปจะได้ไม่เหนือยมาก โดยไม่คิดค่าโดยสาร

ฯลฯ 

เรื่องแบบนี้มีเกิดขึ้นทุกวัน ท่านนายพล นากามูระ กล่าวไว้




















วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดูคู่กรรมให้นึกถึง บทความนี้ "เหตุจากบุหรี่ม้วนเดียว"

จุดยุทธศาสตร์ที่บ้านโป่ง
หลัง จากเข้ายึดครองประเทศไทยเมื่อเช้ามืด ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ แล้ว กองทัพญี่ปุ่นก็ขยายผลมุ่งสู่พม่าเพื่อรุกต่อไปยังอินเดียขุมกำลังใหญ่ของ ฝ่ายอังกฤษด้วยการทุ่มเทสร้างทางรถไฟเพื่อขนย้ายทั้งกำลังพลและอาวุธ ยุทโธปกรณ์ที่จะรู้จักกันดีในเวลาต่อมาว่า “ทางรถไฟสายมรณะ”
บ้านโป่ง แห่งราชบุรีนับเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในฐานะฐานส่งกำลังบำรุงการสร้างทาง รถไฟสาย ไทย-พม่า เป็นที่ตั้งของกองพลทหารรถไฟที่ ๙ ของญี่ปุ่น ที่ซึ่งหนึ่งปีเศษหลังการยึดครองได้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นเรื่องหนึ่งที่นี่ ส่งผลอย่างสำคัญต่ออารมณ์ความรู้สึกและเลือดรักชาติของคนไทย ความสัมพันธ์ที่เปราะบางอยู่แล้วระหว่าง ไทย-ญี่ปุ่นยิ่ง ทรุดหนักลงไปอีก

เหตุการณ์ที่หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อน เหตุการณ์ที่แม้ได้รับทราบตอนนี้หลังผ่านไปแล้วกว่า ๖๐ ปีก็ยังอดไม่ได้ที่จะมีอารมณ์แค้นเคือง

เรื่องเกิดขึ้นที่วัดดอนตูม อำเภอบ้านโป่ง เมื่อตอน ๕ โมงเย็น ๑๘ ธันวาคม ๒๔๘๕ 


สาเหตุจากบุหรี่มวนเดียว
เหตุการณ์ เกิดขึ้นเมื่อสามเณร เพิ่ม สิริพิบูล วัย ๓๗ ปี ซึ่งกำลังเดินทางไปนมัสการเจ้าอาวาสวัดดอนตูมได้พบกับเชลยศึกผิวขาวระหว่าง ทาง เชลยศึกได้ขอบุหรี่จากสามเณรเพิ่ม และโดยไม่ได้คิดอะไร สามเณรเพิ่มก็ส่งบุหรี่ให้เชลยศึกฝรั่งคนนั้นด้วยความสงสารคอบุหรี่ด้วยกัน

ทหาร ญี่ปุ่นซึ่งไม่ทราบว่าโกรธเพราะเสียดายบุหรี่มวนนั้นเพราะตัวเองก็กำลังอยาก อยู่เหมือนกัน หรือจะเข้มงวดระเบียบกฎเกณฑ์อย่างไรก็ไม่ทราบได้ เห็นดังนั้นก็เกิดความโกรธแล้วตบหน้าสามเณรเพิ่มไป ๓ ทีซ้อน แบบป๊อกเด้ง จนกระทั่งสามเณรเพิ่มล้มคว่ำคาจีวรลงกับพื้น

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ต่อหน้าชาวบ้านแถวนั้น ชาวบ้านจึงช่วยกันพยุงท่านขึ้นแล้วพาตัวไปยังร้านค้าแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ กับวัดดอนตูม เอายาดมมาให้ดมพร้อมบีบนวดให้เลือดลมเดินจนรู้สึกตัว จากนั้นท่านก็เข้าไปในวัดปรากฏว่าทั้งเจ้าอาวาสและรองไม่อยู่ สามเณรเพิ่มจึงเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นสดๆร้อนๆให้กรรมกรไทยที่รับจ้าง สร้างทางรถไฟสายนี้ซึ่งพักอยู่ที่ศาลาวัดฟัง

กรรมกรไทยได้ยินดังนั้น เลือดรักชาติก็เดือดพล่านจึงรวมตัวกันได้ประมาณ ๒๐ คนพร้อมด้วยสามเณรเพิ่มพากันไปพบล่ามญี่ปุ่นชื่อนายคุเรแล้วเล่าให้ฟังว่า ทหารญี่ปุ่นตีพระไทย นายคุเรก็รับปากว่าจะติดต่อแจ้งให้ผู้ใหญ่ฝ่ายญี่ปุ่นทราบในวันรุ่งขึ้น และขอร้องให้คนไทยทั้ง ๒๐ กว่าคนนั้น ใจเย็นกลับไปก่อน คนไทยเห็นท่าทีเอาใจใส่ของล่ามเช่นนี้ก็ใจเย็นลงแล้วพากันกลับไปที่พักพร้อม สามเณรเพิ่มผู้เสียหาย

แต่เรื่องราวกลับไม่จบลงโดยง่าย..
.

********************* 

ญี่ปุ่นไม่ยอมจบ
ไม่ทราบว่าของขึ้นหรืออย่างไร หรือเที่ยวไปบอกกันว่า ไฮ้...ตบพระไทยนี่มันมือจริงๆ...ข้าล่อไป ๓ ฉาดยังติดใจอยู่ พวกเราไปตบมันอีกไหม ปรากฏว่าพอตกเวลาประมาณ ๒ ทุ่ม ทหารญี่ปุ่นคนหนึ่งก็ถือไม้หน้า ๓ ขึ้นไปบนศาลาวัดดอนตูม เล่นเอากรรมกรไทยที่เพิ่งกลับมาจากการร้องเรียนตกใจกันยกใหญ่ แต่ก็ไม่มีใครหาเรื่องตอบโต้ทหารญี่ปุ่นของขึ้นคนนี้

แต่เรื่องกลับไม่จบลงแค่นั้น เมื่อเห็นว่า คนไทยไม่ตอแยด้วย ทหารญี่ปุ่นคนนั้นหายไปพักหนึ่งก็กลับมากับเพื่อนทหารญี่ปุ่นอีก ๒ คน คราวนี้นอกจากไม้หน้า ๓ แล้วยังมีปืนยาวแถมมาด้วย กรรมกรคนหนึ่งทนไม่ไหวเพราะหยามหน้ากันเกินไปจึงใช้อาวุธร้ายทันสมัยแบบอเนกประสงค์คือท่อนไม้ขนาดพองาม (อาจเป็นสากกระเบือ-บันทึกไม่ได้ระบุชัด ผมเดาเอาเอง) ปาเข้าใส่ทหารญี่ปุ่น แต่ไม่ถูกเนื่องจากไม่มีระบบนำวิถีที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

ฝ่ายทหารญี่ปุ่นเห็นดังนั้น จึงร้องเป็นภาษาญี่ปุ่นแล้วล่าถอยกลับไปด้วยหวาดเกรงอาวุธร้ายทันสมัยของกรรมกรไทย แต่อีกเพียง ๕ นาทีต่อมาก็กลับมากัน ๑๐ กว่าคน พอมาถึงศาลาวัดก็ยิงปืนเข้าใส่ คนไทยเห็นดังนั้นจึงต่างวิ่งหนีเอาชีวิตรอดพร้อมเสียงบ่นว่าอย่างนี้ไม่แฟร์ ทหารญี่ปุ่นเห็นเป็นต่อและไม่มีการโต้ตอบด้วยอาวุธใด ๆ ก็ยิ่งได้ใจจึงยิงปืนใส่และวิ่งกวดคนไทยไปรอบ ๆ บริเวณวัดนานนับชั่วโมง แต่ในที่สุดเมื่อตั้งสติได้และกำลังจะหมดแรงจึงนึกถึงวีรกรรมชาวบางระจันขึ้นมาได้ ฝ่ายไทยจึงหันกลับตั้งหลักแล้วพากันคว้าจอบเสียมที่พอหาได้เตรียมตัวเข้าประจัญบาน แบบเลือดทาแผ่นดิน

แต่เรื่องร้ายก็จบลงเมื่อร้อยตรี โยชิดะ นายทหารญี่ปุ่นพร้อมด้วยผู้บังคับกองตำรวจไทยและนายอำเภอบ้านโป่งเดินทางมาถึงและระงับเหตุลงได้ ท่ามกลางความฮึดฮัดของทหารญี่ปุ่นและคนไทยที่ถูกรังแก
เกียรติตำรวจของไทย เรื่องไม่จบลงแค่นั้น เพราะพอเวลาประมาณใกล้สองยาม ฝ่ายญี่ปุ่นก็ส่งทหารมาเพิ่มเติมจากกาญจนบุรีประมาณ ๔-๕ คันรถ ตรงไปยังวัดดอนตูม ๒ คัน และเลยไปที่ริมน้ำ ๑ คัน ส่วน ๒ คันสุดท้ายซึ่งเป็นรถบรรทุกคันหนึ่งกับรถนั่งอีกคันหนึ่งก็วิ่งตามกันมาแล้วหยุดลงที่หน้าสถานีตำรวจบ้านโป่ง

ทหารญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งถือปืนตรงไปยังสถานีตำรวจ อีกพวกหนึ่งขยายแถวยึดคันถนนตรงข้ามสถานีตำรวจ แล้วเริ่มยิงปืนเข้าใส่ทันที

เลือดตำรวจไทยใครจะยอมให้มาหยามกันถึงบ้าน ตำรวจบ้านโป่งก็ยิงสู้แบบถวายชีวิต การยิงต่อสู้กินเวลาช่วงสั้น ๆ แค่ประมาณ ๒-๓ นาที ฝ่ายญี่ปุ่นก็หยุดยิงแล้วร้องบันไซข่มขู่แต่กลับพากันล่าถอยไป

เพราะปรากฏว่า นายทหารญี่ปุ่นตายไป ๑ และพลทหารตายไป ๔ ...สมน้ำหน้ามัน



เมื่อสู้ตำรวจไทยไม่ได้ 

ทหารญี่ปุ่นจึงใช้วิธีกวาดต้อนจับกุมกรรมกรไทยทั้งชายและหญิงรวมทั้งเด็กซึ่งไม่มีทางสู้ไป ๓๑ คน (สู้มันยาก เพราะสากกระเบือถูกขว้างหมดคลังแสงไปแต่แรกแล้ว) นอกจากนั้น รอบ ๆ วัดยังมีซากศพคนไทยนอนตายเกลื่อนอยู่ ๗-๘ ศพ เท่านั้นยังไม่พอ ทหารญี่ปุ่นยังจับกุมพระไปทั้งวัดเพื่อสอบสวนจนถึงตี ๓ ของเช้าวันใหม่และได้ปล่อยตัวออกมาเมื่อตอน ๖ โมงเช้า เว้นสามเณรเพิ่มรูปเดียวที่ยังถูกกักขังอยู่ ส่วนกรรมกรไทยทั้งหมดนั้นถูกกักขังไว้จนถึงวันที่ ๒๔ ธันวาคมจนเสร็จสิ้นการสอบสวนแล้วจึงได้ปล่อยตัวไป ๒๐ คน แต่ก็ยังกั๊กกักตัวไว้อีก ๑๑ คน

ส่วนตัวสามเณรเพิ่มผู้เคราะห์ร้ายเพราะบุหรี่มวนเดียวเป็นเหตุนั้นได้ถูกส่งตัวให้ฝ่ายไทยควบคุมเองตามคำขอ...
 *****************
บานปลาย
ช่วงเวลาปลายปี ๒๔๘๕ นั้น นอกจากการใช้เชลยศึกฝรั่งในการสร้างทางรถไฟสายไทย-พม่าดังเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้ว ยังมีการว่าจ้างกรรมกรไทยให้ไปร่วมสร้างทางรถไฟสายนี้ด้วยเป็นจำนวนหลายหมื่นคน กรรมกรไทยจึงนับเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งต่อความสำเร็จ

เหตุการณ์ที่บ้านโป่งครั้งนี้เป็นที่รับทราบกันอย่างรวดเร็วในหมู่กรรมกรไทยและคนไทยทั่วไป ดังนั้น ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม หลังเกิดเหตุเพียงไม่กี่วัน กรรมกรไทยบ้านโป่งที่ทำงานให้ญี่ปุ่นก็พากันหลบหนีไปประมาณ ๕๐๐ คน จนไม่เหลือกรรมกรไทยเลยแม้แต่คนเดียว ญี่ปุ่นจึงเริ่มหนักใจเพราะทางโตเกียวก็เร่งรัดให้สร้างทางรถไฟสายสำคัญนี้ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว ไฮ้...ช้าจะถูกคว้านท้องไม่รู้ด้วยนะโว้ย

ความบาดหมางอย่างรุนแรงครั้งนี้ทำให้เกิดข่าวลือกันในหมู่ทหารญี่ปุ่นว่า กองทัพไทยได้ชุมนุมกันที่นครปฐม เพื่อเตรียมตอบโต้ล้างแค้นแทนคนไทย ร้อยตรี อิริเอะ นายทหารติดต่อฝ่ายญี่ปุ่นจึงได้เข้าพบและกล่าวต่อ พันโท หม่อมเจ้า พิสิฐดิศพงศ์ ดิศกุล ผู้แทนฝ่ายทหารไทย ซึ่งมีบันทึกไว้ว่า

“ประเทศไทยต้องการรบกับประเทศญี่ปุ่นเช่นนั้นหรือ ถ้าหากประสงค์เช่นนั้น ญี่ปุ่นก็จะได้เตรียมรบ”

น่าสวนด้วยหมัดตรงจริงไหมครับ ?

พันโท หม่อมเจ้า พิสิฐดิศพงศ์ ดิศกุล พยายามใจเย็น นับหนึ่งถึงสิบ นึกถึงประเทศชาติแล้วตอบไปว่า

“ฝ่ายไทยไม่มีความประสงค์เช่นนั้น ประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก มีกำลังเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จะไปสู้รบกับประเทศญี่ปุ่นอันเป็นเสมือนพี่ชายได้อย่างไร เพื่อให้บริสุทธิใจอยากจะไปดูด้วยกันก็ไม่ขัดข้อง” เจอะลิ้นการทูตเข้าแบบนี้ญี่ปุ่นจอมโอหังก็พูดไม่ออก ในที่สุดก็ตกลงกันว่าจะส่งนายทหารญี่ปุ่นไปตรวจพื้นที่นครปฐม ซึ่งเมื่อไปตรวจก็หน้าแตก ยอมรับว่าไม่เป็นความจริง ไม่มีทหารไทยชุมนุมสักหน่อย

กลับมายังเหตุการณ์เจ็บตายจากเหตุการณ์ที่วัดดอนตูม ในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๔๘๕ นั่นเอง ก็มีการประชุมร่วม ไทย-ญี่ปุ่น ขึ้น ฝ่ายญี่ปุ่นยืนยันนอนยันว่า ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายเริ่มยิงปืนก่อน ฝ่ายไทยแม้จะรู้ข้อเท็จจริงอยู่เต็มอกแต่ก็จำเป็นต้องอดกลั้นไม่งัดหลักฐานพยานมายันกันให้แตกหักไปข้างหนึ่ง และได้ส่ง พลโท จรูญ เสรีเริงฤทธิ์ เป็นหัวหน้าคณะไปขอขมาผู้บัญชาการกองพลก่อสร้างทางรถไฟญี่ปุ่นในวันที่ ๒๒ ธันวาคม (ด้วยความจำใจ)

“บากายาโร่”
หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้คนไทยเกลียดชังญี่ปุนมากขึ้นทบเท่าทวีคูณ อังศุมาลินก็คงต่อว่าโกโบริไปไม่น้อย แต่คุณป้าทมยันตีไม่ได้เขียนไว้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บ้านโป่งและกาญจนบุรี ซึ่งเป็นฐานก่อสร้างทางรถไฟ สถานการณ์ฝ่ายญี่ปุ่นเลวร้ายลงไปเรื่อย ๆ ที่บ้านโป่งหาคนไทยไปเป็นกรรมกรสร้างทางรถไฟให้ญี่ปุ่นไม่ได้เลย นอกจากนั้นน็อตบังคับหัวรางรถไฟก็ถูกขโมยหายไปแบบจับมือใครดมไม่ได้ถึงประมาณ ๘๐๐ ดอก ยังความภาคภูมิใจแก่กลุ่มวีรชนนิรนามที่จะได้รับขนานนามในภายหลังว่า “พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ” เป็นอย่างยิ่ง

ที่กาญจนบุรี ตำรวจไทยเอาปืนขู่ค้นตัวทหารญี่ปุ่นที่เดิมมาตามทางอย่างไม่เกรงกลัว

ทหารญี่ปุ่นไม่ได้รับความสะดวกในการซื้อหาอาหารทั้งในตลาดและทั่ว ๆ ไป

เดินสวนคนไทยเมื่อใดก็ถูกตะโกนใส่ว่า “บากายาโร่” ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “ไอ้บ้า”

ทหารญี่ปุ่นช่วงนั้นไปไหนมาไหนต้องติดอาวุธไว้ป้องกันตัวเอง

ที่ กรุงเทพทหารญี่ปุ่นถึงกับต้องขุดสนามเพลาะบริเวณโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเท นถวายและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นยึดไว้เป็นกองบัญชาการ

เมื่อมีงานสโมสรสันนิบาตซึ่งจัดโดยฝ่ายไทย ทหารญี่ปุ่นก็ไม่กล้ามาร่วมงานตามคำเชิญแม้แต่คนเดียว

คราวหน้าจะเล่าต่อ โดยเฉพาะสามเณรเพิ่มที่ฝ่ายญี่ปุ่นขู่มาว่าต้องประหารชีวิตสถานเดียวเท่านั้น

บุหรี่มวนเดียวเนี่ยนะ...
 


************* 

“รบแพ้...เครียด กินเหล้า” แล้วทะลึ่งไปตบพระ
เหตุการณ์ที่สามเณรเพิ่มถูกทหารญี่ปุ่นตบหน้าที่วัดดอนตูม บ้านโป่ง เมื่อ ๑๘ ธันวาคม ๒๔๘๕ หลังจากที่ญี่ปุ่นเข้าประจำการในประเทศไทยได้ ๑ ปีเต็ม บานปลายจนกลายเป็นความไม่พอใจของคนไทยทั่วทั้งประเทศที่ได้รับข่าว ซึ่งยังดีที่สมัยนั้นยังไม่มีโทรศัพท์มือถือ ไม่มีอีเมล์ ไม่มีเอสเอ็มเอส ไม่มีทวิตเตอร์ ฯลฯ ไม่อย่างนั้น เรื่องคงบานปลายไปมากกว่านี้

บันทึกตอนหนึ่งของกองบัญชาการทหารสูงสุดไทยสะท้อนภาพอย่างชัดเจนว่า

“หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ท่าทีของคนไทยที่มีต่อญี่ปุ่นในบ้านโป่งและกาญจนบุรีที่เป็นฐานก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมไทยกับพม่าเลวร้ายลงไปมาก ที่บ้านโป่งนั้นหากรรมกรไทยมาทำงานให้ไม่ได้ น็อตบังคับหัวรางต่อของทางรถไฟถูกขโมยไปประมาณ ๘๐๐ ดอก ที่กาญจนบุรีนั้น ตำรวจไทยเอาปืนขู่ค้นตัวทหารญี่ปุ่นที่เดินมาตามทาง

ญี่ปุ่นไม่ได้รับความสะดวกในการซื้ออาหาร คนไทยชอบตะโกนใส่ทหารญี่ปุ่นว่า “บากายาโร่”(ไอ้บ้า) ส่วนทหารญี่ปุ่นเวลาไปไหนก็ต้องติดอาวุธเพื่อป้องกันเหตุที่ไม่คาดฝัน ที่กรุงเทพฯนั้น ทหารญี่ปุ่นได้ทำการขุดสนามเพลาะบริเวณโรงเรียนอาชีวะแถวปทุมวันและบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทหารญี่ปุ่นปฏิเสธการรับเชิญไปงานสโมสรสันนิบาตทั้งหมด”

ขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นกลับไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นฝ่ายผิด แล้วพยายามกดดันไทยทุกวิถีทาง คงเห็นว่าไทยไม่มีทางสู้

จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงขึ้นคณะหนึ่งเมื่อ ๒๘ ธันวาคม ๒๔๘๕ ประกอบด้วย ตำรวจและนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ๕ ท่าน และได้ประณามพฤติกรรมที่ “หยิ่งยโส”และการใช้กำลังอย่างไร้เหตุผลของทหารญี่ปุ่นว่า

“การที่ทะเลาะกันนั้น ตามเสียงมาจากญี่ปุ่นฝ่ายเดียวอย่างท่านว่า มีการตบหน้า ชักดาบขู่ เมาเข้าไปแล้วพาลเกเรต่าง ๆ ถ้าเขาทำให้หายไปได้คงจะไม่มีเรื่องอะไร”

ครับ...เรื่องนี้ก็มาจากเหล้านั่นเอง แต่จะเหมาความผิดไปให้เครื่องดื่มที่ชาวเราจำนวนไม่น้อยต่างให้ความนิยม ดื่มมาแต่ไหนแต่ไรมีแต่ความสนุกสนานเฮฮา เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา การเมืองไม่ยุ่ง การมุ้งไม่เกี่ยว เอาแต่เมาลูกเดียว ไม่เกี่ยวข้องใคร...เอิ๊ก..ไม่เคยมีเรื่องกับใครก็คงไม่เป็นธรรมนัก อย่างเช่นกรณีนี้ ช่วงปลายปี ๒๔๘๕ ญี่ปุ่นเริ่มเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำตั้งแต่แพ้อเมริกาอย่างหมดรูปเมื่อต้นปีที่ยุทธภูมิมิดเวย์ ทั้งโตเกียวก็กดดันเร่งรัดให้สร้างทางรถไฟเข้าพม่าให้เสร็จโดยเร็วอย่างนี้ทหารญี่ปุ่นไม่เครียดได้อย่างไร

จึงไม่ใช่“จน...เครียด...กินเหล้า”อย่างสมัยนี้ แต่เป็น “รบแพ้...เครียด...กินเหล้า”แล้วทะลึ่งไปตบหน้าเณรเข้าต่างหาก เรื่องถึงเกิด...จึงไม่สมควรโทษเหล้าให้คนรุ่นหลังอย่างชาวเราให้เพิ่มความหมั่นไส้ขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่ง

ลีลาหลวงอดุลย์
วันเดียวกับที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม จัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงนั้นเอง พลตำรวจเอก อดุลย์ อดุลย์เดชจรัส “นายพลตาดุ”อธิบดีกรมตำรวจ ก็อาศัยอำนาจตาม “กฎหมายป้องกันประเทศ พ.ศ.๒๔๘๔” มีคำสั่งให้ “ชาวต่างชาติ”ออกไปเสียจากอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และจังหวัดกาญจนบุรีเสีย “ชั่วระยะหนึ่ง”ก่อน ยกเว้น “ผู้ที่เข้าทำงานตามคำสั่งของทางราชการและผู้ที่ทางราชการว่าจ้างมาทำงาน”

อาจารย์ โยชิกาวา โทชิฮารุ เจ้าของผลงานค้นคว้า “ทางรถไฟสายไทย-พม่า ในสงครามมหาเอเชียบูรพา” ให้ความเห็นต่อคำสั่งฉบับนี้ว่า

“เราอาจสันนิษฐานว่า ตามคำสั่งขับคนต่างชาติออกจากพื้นที่นั้นเป็นการป้องกันการทำจารกรรมและการก่อวินาศกรรมโดยจารชนต่างชาติ แต่ก็มีการปล่อยให้ทหารญี่ปุ่น เชลยศึกสัมพันธมิตร ชาวจีนโพ้นทะเล กรรมกรชาวเอเชียเข้ามาในบริเวณนี้อยู่เนืองๆ กลายเป็นบริเวณที่มีชาวต่างชาติเข้ามาพำนักอยู่หลายหมื่นคน บางคนก็ไปเป็นกรรมกรรับจ้างก่อสร้าง เป็นสภาพที่ผู้คนจะปลอมแปลงเข้ามาได้ง่ายมาก ฉะนั้น คำสั่งขับชาวต่างชาติจึงเป็นคำสั่งที่แปลกประหลาดอยู่ไม่น้อย”

“อย่างไรก็ตาม คำสั่งนี้มีผลกระทบต่อการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมไทย-พม่า อยู่พอสมควร ก่อนอื่นคือพ่อค้าเชื้อสายจีนได้ย้ายไปค้าขายที่อื่นไม่มาบริเวณนี้อีก ทำให้การจับจ่ายซื้อหาสินค้าของทหารญี่ปุ่นไม่สะดวก นอกจากนั้น กรรมกรเชื้อสายจีน สัญชาติจีน แต่ละคนที่ว่าจ้างมาทำงานในประเทศไทยต้องไปรายงานตัวที่โรงพักเป็นประจำ ไม่สามารถมาทำงานที่เขตการก่อสร้างอีก แต่ทว่ากงสุลอิตาลีได้ขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษ ให้บาทหลวง ๑๒ คน แม่ชี ๑๑ คนได้ทำการเผยแพร่ศาสนาในอำเภอบ้านโป่ง และให้เจ้าหน้าที่อีก ๔ คนที่ได้พำนักอยู่ในกาญจนบุรีเพื่อศาสนกิจนั้นได้รับอนุญาตจากฝ่ายไทย “

อาจารย์โทชิฮารุ “ฟันธง”ว่า

“ฉะนั้น ความตั้งใจจริงของอธิบดีกรมตำรวจที่ออกคำสั่งขับคนต่างชาตินั้น แท้จริงเป็นการประท้วงโดยทางอ้อมที่จะให้ทหารญี่ปุ่นที่โอหังซึ่งแสดงออก ด้วยการตบตีพระไทยและมีท่าทีบังคับให้มีการก่อสร้างทางรถไฟโดยพลการ ออกไปจากพื้นที่นั่นเอง”
 

************* 

นากามูระ “ผู้บัญชาการชาวพุทธ”
ฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งนอกจากจะยืนยันว่าตัวเองไม่ผิด พระที่เอาหน้ามาขวางมือต่างหากที่ผิด(ผมว่าเอง)ยืนยันข้อเสนอให้ทางการไทยประหารชีวิตทหารและกรรมกรที่เป็นนักโทษฉกรรจ์ ๒ คนเพราะเป็นฝ่ายเริ่มยิงปืนก่อนจนทำให้แพทย์และทหารญี่ปุ่นตาย แต่การสอบสวนของฝ่ายไทยกลับตรงข้าม

เรื่องที่ผมนำมาเล่าตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุจนกระทั่งมีการบาดเจ็บล้ม ตายนี้มาจากผลการค้นคว้าทางวิชาการของ อาจารย์ โทชิฮารุ ซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นยืน ยันชัดเจนว่า ญี่ปุ่นนั่นแหละเป็นฝ่ายผิด “รบแพ้...เครียด...กินเหล้า”แล้วทะลึ่งไปตบพระ (อันนี้ผมก็ว่าเอง)

เรื่องที่บ้านโป่งครั้งนี้ถูกรายงานไปถึงโตเกียว ทำให้นายกรัฐมนตรีโตโจ ฮิเดกิ เป็นห่วงมากเพราะจะส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อการสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์เชื่อมไทยกับพม่า ดังนั้น ท่านจึงส่ง พลโท นากามูระ อาเกโต ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนายทหารสายพิราบ มีเหตุมีผล มีลักษณะประนีประนอม (ภายหลังได้รับความรักจากฝ่ายไทยจนได้รับสมญาว่า “ผู้บัญชาการชาวพุทธ”)ให้มาเป็นผู้บัญชาการทหารญี่ปุ่นประจำประเทศไทย พร้อมกำชับให้เร่งแก้ปัญหานี้ให้ได้โดยเร็ว นายพลนากามูระเอาหัวโขกพื้นรับคำสั่งอย่างแข็งขันพร้อมเสียงตอบรับดังลั่นว่า...ไฮ้ (อันนี้ผมก็ว่าเองอีกนั่นแหละ)

ก่อนนายพลนากามูระจะเดินทางมาประจำการในไทย ท่านก็เข้าพบและได้รับคำตักเตือนจาก ฯพณฯ ดิเรก ชัยนาม ทูตไทยประจำกรุงโตเกียวว่า การตบหน้าคนของทหารญี่ปุ่นครั้งนี้เป็นจุดบอดสำคัญของความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นทีเดียว เพราะคนไทยถือว่าการถูกตบหน้าเป็นการลบหลู่เกียรติยศอย่างมหาศาล เป็นเรื่องน่ากลัว น่าอัปยศ และป่าเถื่อน คนไทยถือมาก จะสู้ตายทีเดียว

ท่านทูตย้ำเรื่องนี้เพราะท่านเข้าใจดีว่า สำหรับคนญี่ปุ่นแล้วการตบหน้าเป็นเรื่องธรรมดา และเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันเสมอในหมู่ทหารญี่ปุ่น ถือเป็นการทำโทษและตักเตือน

ท่านนายพลนากามูระจึงเดินทางมาไทยด้วยภาระสำคัญเรื่องนี้อีกเรื่องหนึ่ง นอกเหนือจากปัญหาทางด้านการรบที่ยิ่งทวีความยากลำบากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการสร้างทางรถไฟไทย-พม่า

เลือดข้นกว่าน้ำ
ไม่ว่าจะเป็นเพราะ “เลือดข้นกว่าน้ำ”หรือเชื่อถือในรายงานของฝ่ายตน แต่ถึงที่สุดแล้วท่าทีของทหารญี่ปุ่นภายใต้การนำของนายพลนากามูระก็ยังคงแข็งกร้าวไม่เปลี่ยนแปลง พันเอก ไชย ประทีปเสน ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะประสานงานกับญี่ปุ่น มีรายงานลง ๒๙ เมษายน ๒๔๘๖ ว่า

“ อนึ่ง มีทางที่จะช่วยเหลืออยู่ก็คือ ไม่ให้คนพวกนี้ต้องถูกประหารชีวิต เพราะกฎหมายของเราไม่อำนวย และแม้ว่าจะถูกตัดสินจำขังถึงตลอดชีวิตก็ตาม สภาพการจำขังหรือระยะเวลาย่อมอยู่ที่เรา และโยงถึงโชคชะตาของประเทศที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น”

จอมพล ป.พิบูลสงคราม เห็นชอบและแทงเรื่องกลับไปเมื่อ ๑ พฤษภาคม ๒๔๘๖ว่า

“ทราบแล้ว ให้เอามาขึ้นศาลทหารที่กรุงเทพฯ ขอให้ไม่ประหาร เพราะเข้าใจผิด เวลาค่ำคืน”

พันเอก ไชย ประทีปะเสนพบกับนายพลนากามูระเมื่อ ๔ พฤษภาคม ๒๔๘๖ และได้บันทึกความคิดเห็นของฝ่ายญี่ปุ่นไว้ ๙ ข้อด้วยกัน ข้อแรกคือ “เกี่ยวกับโทษประหารของสามเณรเพิ่มกับกรรมกรนั้น หากใช้วิธีการลงโทษแบบไทยโดยศาลทหารไทยนั้น ก็จะมีผลต่ออธิปไตยของไทย”
ส่วนอีก ๘ ข้อนั้นก็เป็นเรื่องการอยากให้สร้างทางรถไฟเข้าพม่าผ่านคอคอดกระเพิ่มขึ้น รวมทั้งการขอให้ฝ่ายไทยเพิ่มการสนับสนุนฝ่ายญี่ปุ่นให้มากยิ่งขึ้น

นอกจากนั้นกองทัพใหญ่แห่งภาคพื้นทิศใต้ของญี่ปุ่นซึ่งตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ยังได้เรียกร้องให้ฝ่ายไทย “ชดใช้ค่าเสียหาย ๘ หมื่นบาทแก่ครอบครัวชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิต”อีกต่างหาก

เอากะยุ่นซี...

ทำไมญี่ปุ่นแข็งกร้าว
อาจารย์โทชิฮารุให้ความเห็นต่อท่าทีกดดันไม่หยุดหย่อนของทหารญี่ปุ่นครั้งนี้ว่า

“สาเหตุ ที่ทหารญี่ปุ่นด้ำการเรียกร้องสิ่งต่าง ๆ อย่างแข็งกร้าวนั้นก็ด้วยได้คำนึง ถึงฐานะของกองพลทหารรถไหที่กำลังก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมไทย-พม่า ทหารญี่ปุ่นจะใช้เกียรติเป็นเดิมพันในการสร้างทางรถไฟให้แล้วเสร็จ จึงข่มขู่ไทยไว้แต่เนิ่น ๆ ไม่ให้แทรกแซงก้าวก่าย”

“ทหารญี่ปุ่นทั้งขู่ทั้งปลอบฝ่ายไทยก็เพื่อให้ได้มีสภาพแวดล้อมที่ดีให้ทหารญี่ปุ่นได้ประจำการอยู่ในประเทศไทยโดยไม่มีปัญหา และทหารญี่ปุ่นก็ได้เรียกร้องให้มีการก่อสร้างทางรถไฟข้ามคอคอดกระเป็นงานใหม่อีกชิ้นหนึ่ง”

ส่วนสามเณรเพิ่ม กรรมกร ๑ คน กับพลทหารอีก ๑ คน ที่มีส่วนเกี่ยวพันกับเหตุการณ์ที่บ้านโป่งนั้น ถูกนำศาลขึ้นศาลทหารที่กรุงเทพฯเมื่อ ๑๐ มิถุนายน ๒๔๘๖

ศาลทหารไทยตัดสินว่า...

สามเณรเพิ่มมีความผิดฐานติดต่อ กับเชลย ยุยงกรรมกรให้ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่น ส่วนกรรมกรนั้นเสพสุราจนมึนเมาในวันเกิดเหตุ ชักชวนกรรมกรคนอื่นๆจับอาวุธเข้ากลุ้มรุมทำร้ายทหารญี่ปุ่นจนเป็นเหตุให้ ทหารญี่ปุ่นถึงแก่ความตายและบาดเจ็บสาหัส และที่เป็นพลทหารนั้นมีเจตนาร้ายใช้ปืนสั้นเป็นศาสตราวุธยิงทหารญี่ปุ่นซึ่ง มาติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สถานีตำรวจบ้านโป่งถึงแก่ความตาย เป็นเหตุให้ตำรวจไทยกับทหารญี่ปุ่นเกิดเข้าใจผิดจนถึงได้ยิงต่อสู้กัน เป็นผลให้นายทหารและพลทหารญี่ปุ่นถึงแก่ความตายรวม ๕ คน บาดเจ็บสาหัส ๓ คน ฝ่ายไทยบาดเจ็บ ๑ คน

จากนั้น ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๘๖ ศาลทหารกรุงเทพก็ได้พิพากษาวางโทษประหารชีวิตสามเณรเพิ่มที่เป็นจำเลยที่ 1 แต่จำเลยให้การสารภาพไม่ต่อสู้คดีอย่างใด ทั้งปรากฎว่าเคยเป็นคนที่มีโรคจิตและไม่รู้หนังสือ...ลดโทษให้จำคุกตลอดชีวิต

สำหรับจำเลยที่เป็นกรรมกรนั้นเนื่องจากไร้การศึกษาแต่ก็ยึดมั่นในพุทธศาสนา ทั้งปกติเป็นคนชอบเสพสุราเวลาเย็น เป็นเหตุทำให้ก่อคดีขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ จึงให้จำคุกตลอดชีวิต ส่วนจำเลยที่เป็นทหารนั้น มีความผิดฐานทำการฉ่าคนตายเพื่อป้องกันตัวเกินกว่าเหตุให้จำคุก 10 ปี

เรื่องทั้งหมดนี้ ถ้าเป็นนวนิยาย รับรองว่าคนอ่านต้องร้องโอ๊ยด้วยความเจ็บหลัง เพราะถูกหักมุมอย่างแรงตอนจบ และเท่านั้นยังไม่พอ...

รัฐบาลไทยได้ตกลงมอบเงินชดเชย 80,000 บาทแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตตามคำเรียกร้องของกอทัพใหญ่แห่งภาคพื้นทิศใต้ของญี่ปุ่น และไทยเสนอจะมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพื่อสดุดีผู้เสียชีวิตอีกด้วย แต่ต่อมาฝ่ายญี่ปุ่ก็ได้บริจาคเงิน 80,000 บาทคืนให้ฝ่ายไทย เงินนี้จะจ่ายให้กับครอบครัวของคนไทยที่เสียชีวิตเมื่อคราวต่อสู้กับญี่ปุ่นเมื่อแรกเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา

อาจารย์โยชิกาวาสรุปท้ายแบบไม่ไว้หน้าคนญี่ปุ่นด้วยกันเองว่า...

“เหตุการณ์บ้านโป่งที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ก็ได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไปหลังจากพยายามมา 1 ปี สำหรับทหารญี่ปุ่นแล้ว เหตุการณ์บ้านโป่งอาจจะเป็นโอกาสหรือบทเรียนที่ช่วยให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่โอหังและหยิ่งยโสก็ได้ แต่สำหรับคนไทยแล้วได้ลิ้มรสพฤติกรรมที่หยิ่งยโสและความแข็งกร้าวของทหารญี่ปุ่นที่มาในมาดผู้ยึดครอง มีความไม่พอใจญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรของตน”

น่าเสียดายที่ไม่มีบันทึกว่าถึงที่สุดแล้วสามเณรเพิ่มและคณะที่ถูกตัดสินจำคุกนั้น ที่สุดแล้วเป็นอย่างไร...

รับฟังเรื่องที่บ้านโป่งจบลงแล้ว คงเห็นใจอังศุมาลินนะครับ ที่ตั้งแง่ตั้งงอนใส่โกโบริเสียจนน่าหมั่นไส้



หมายเหตุ...

คน ญี่ปุ่น อาจจะ งง ทำมัยมันจะอะไรมากมายขนาดนั้น

ก็ พระ นะไม่ใ่ช่คนทั่วไป 

พวกเราชาวพุทธ เถรวาท ตั้งแต่ ไพร่ ยัน พระเจ้าแผ่นดิน

ก็ยังต้อง เคารพพระ... แล้วพวกญี่ปุ่นเป็นใครที่ไหน มาตบเอา ๆ 













.

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สงสัยผมจะมีโรคนี้กะเค้าด้วย เข้าเป้าเยอะเลย ไฮโปไกลซีเมีย โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง

 ข้อมูล / เครดิต / ตามลิ้งค์นี้ครับ...

ต้องบอกว่า โรคที่ว่านี้ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคอะไรหรอกนะ แต่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตแบบผิด ๆ โดยเรียกเป็นชื่อภาษาอังกฤษว่า Chronic fatigue syndrome (CFS) หรืออาจจะเรียกว่า โรคไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycemia) ซึ่งเป็นภาวะที่น้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ไร้เรี่ยวแรงทำอะไรตลอดทั้งวัน

          มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะสงสัยแล้วว่า พฤติกรรมอะไรที่ทำให้เรามีอาการไฮโปไกลซีเมียดังที่ว่า ง่าย ๆ เลยก็ อย่างเช่น การบริโภคอาหารจำพวกแป้งขัดขาว น้ำตาล อาหารฟาสต์ฟู้ด น้ำอัดลม พิซซ่า หรือขนมหวานมากเกินไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทีนี้ ตับอ่อนก็จะผลิตอินซูลินออกมาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ลดต่ำลง พอระดับน้ำตาลลดลงไม่เท่าไหร่ เราเกิดรับประทานอาหารจำพวกนี้เข้าไปอีก น้ำตาลในเลือดก็สูงขึ้นมาอีกแล้ว ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินออกมาลดน้ำตาลอีกครั้ง ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นแล้วลงต่ำสลับกันไปตลอดเวลา ซึ่งเท่ากับว่า ตับอ่อนก็ต้องทำงานตลอดเวลาด้วยเช่นกัน

          นอกจากนั้นแล้ว ไลฟ์สไตล์ของคนเมืองที่ต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมอันเป็นพิษ ความเครียด ความรีบเร่ง ความยุ่งเหยิงในการดำเนินชีวิตที่ต้องแข่งขันกับเวลา นอนดึก ก็ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เมื่อยล้า เหนื่อยได้ง่าย ๆ และยิ่งใครทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ ก็ยิ่งซ้ำเติมให้เจ็บป่วยหนักขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว

อาการอะไรบ่งบอกว่าเป็นโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง

          ทีนี้ลองมาดูกันค่ะว่า อาการอะไรบ้างที่บ่งบอกว่า คุณกำลังถูกโรคยอดฮิตชนิดนี้คุกคาม โดย อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กล่าวว่า ผู้ที่อาจถูกแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคไฮโปไกลซีเมียนั้น จะมีอาการอ่อนเพลียโดยหาสาเหตุไม่ได้ แถมยังนอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามตัว ระบบขับถ่ายทั้งหนักเบาก็รวนเรไปหมด แต่ถึงกระนั้น หากสรุปโดยรวมแล้วยังมีอีกหลายอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ และแพทย์จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ



1.กลุ่มความผิดปกติทางร่างกาย คือ

          อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
          ปวดหัว-เวียนศีรษะ
          นอนไม่หลับ
          เหงื่อแตกบ่อย ๆ
          มือสั่น
          ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง
          เป็นตะคริวบ่อย
          เกิดการชักกระตุก
          คันตามผิวหนัง
          หน้าร้อนผ่าวบ่อย ๆ
          มีอาการภูมิแพ้
          มือเท้าเย็น
          เนื้อตัวชาบางครั้ง
          การทรงตัวไม่ดี

2.กลุ่มความผิดปกติของระบบต่าง ๆ คือ

          ท้องอืด ท้องเฟ้อ
          ปากแห้งคอแห้ง
          เบื่ออาหาร
          อยากกินของหวาน ๆ
          หิวอย่างรุนแรงก่อนถึงเวลากินอาหาร
          ถ่ายอุจจาระผิดปกติ
          ถ่ายปัสสาวะผิดปกติ
          หายใจไม่ค่อยออก
          ปากและลมหายใจมีกลิ่นแปลก ๆ
          หัวใจเต้นผิดปกติ
          เป็นลมบ่อย ๆ
          อ้วน-น้ำหนักเกิน
          กามตายด้าน

3.กลุ่มความผิดปกติทางจิตใจ และระบบประสาท

          รู้สึกเบื่อหน่าย
          ฟุ้งซ่านขาดสมาธิ
          วิตกกังวลโดยง่าย
          ลังเลตัดสินใจไม่ได้
          รู้สึกสับสนปั่นป่วน
          ทนเสียงอึกทึก และแสงจ้า ๆ ไม่ได้
          เบื่อการพบปะเพื่อนฝูง ไม่ชอบเข้าสังคม
          การประสานงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเลวลง
          โมโหง่าย
          ฝันร้ายบ่อย
          ความจำเสื่อม
          มีอาการทางประสาท
          อยากฆ่าตัวตาย

           อย่าง ไรก็ตาม ไม่จำเป็นที่ผู้ป่วยจะมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน บางอาการอาจเกิดขึ้นแล้วหายไป แล้วสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก โดย มีอาการหลัก ๆ คือ รู้สึกเหนื่อย เพลีย ไม่มีแรง ทั้งที่นอนมาหลายชั่วโมงแล้ว แต่กลับไม่รู้สึกสดชื่นเลย อยากนอนตลอดเวลา บางคนนั่งทำงานไปได้ถึงตอนบ่าย ๆ เกิดรู้สึกง่วงเพลียจนอยากหลับเลยทีเดียว แถมยังสมองมึนซึม ปวดเนื้อปวดตัว รวมทั้งระบบขับถ่ายจะมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ลำไส้แปรปรวน ถ้ามีอาการเหล่านี้ ก็ส่งสัญญาณว่า โรคไฮโปไกลซีเมียกำลังมาเยือนคุณแล้วล่ะ


มาดูแลตัวเองกันดีกว่า

          เพื่อ ป้องกันไม่ให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย หรือใครที่มีอาการดังข้างต้นแล้ว ก็ถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่แล้วล่ะ เรามีข้อแนะนำดังนี้

          1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยงดเติมน้ำตาลในอาหาร เลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลมาก รวมทั้งอาหารฟาสต์ฟู้ด

          2.ปรับ อารมณ์ไม่ให้เครียด เพื่อไม่ให้ร่างกายหลั่นฮอร์โมนอะดรีนาลีน ไปกระตุ้นให้ผนังลำไส้ขับกรดออกมามาก จนเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นแล้ว ความเครียด ยังนำไปสู่โรคต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งยังทำให้นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลงอีกต่างหาก

          3.ก่อนนอนไม่ควรทานอาหารหนัก ๆ รวมทั้งดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนผสม เพราะจะทำให้หลับยาก ยิ่งทำให้รู้สึกอ่อนเพลียมากขึ้น

          4.อย่าเปิดไฟเวลานอน และพยายามอย่าให้มีแสงเล็ดลอดเข้าไปในห้องนอน เพราะจะยิ่งทำให้นอนไม่หลับ

          5.ฝึกหายใจ หรือนั่งเงียบ ๆ สัก 5 นาที ก่อนนอน เพื่อผ่อนคลายความเครียด

          6.ออก กำลังกายเป็นประจำ สำหรับใครที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ควรออกกำลังแต่พอควร อย่าหนักมากเกินไป เพราะจะยิ่งไปกระตุ้นให้ร่างกายทรุดลงไปอีก

          7.หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่จะทำให้เครียด ซึมเศร้า และไม่ควรหมกมุ่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป

          8.ไม่ควรใช้ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท หรือยาคลายเครียด

          9.หากมีอาการเครียดบ่อย ๆ ให้ฝึกทำสมาธิ เพื่อควบคุมจิตใจให้สงบ

          10.พยายามเข้านอนแต่หัวค่ำ อย่าออกไปเที่ยวกลางคืนบ่อยนัก

          11.ในรายที่เป็นมาก อาจต้องปรึกษาแพทย์ และอาจรับประทานวิตามินบีเสริมเพื่อช่วยลดความเหนื่อยล้า

ส่วนที่เป็นตัวอักษรแดง เป็นส่วนที่ผมมีอาการชัดที่สุด

อีกเรื่องที่ ค่อนข้างเป็นปัญหามาก ๆ คือ ง่วงนอนผิดปกติ
จำได้ เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ไปอบรม อะไรสักอย่าง

ต้องทานอาหารแบบพวกชีวะจิต เลยนะ ต้องกายบริหารอะไรด้วย

พอตอนจะกลับ มันเพลียมาก ๆ มากอย่างไม่เคยมาก่อนเลย

พอ ขึ้นรถ ก็มานั่งคุย ๆ กันกับ พวกสาขาที่มาอบรมด้วย (ตอนนั้นผมประจำอยู่ สนญ.) คุยกันตรงกระได รถทัวด้วย เออ...

คุย ๆ กันอยู่ดี ๆ ผมก็หลับไปซะเฉย ๆ มันหลับขณะกำลังคุยกัน

มันแปลกมากเลยผมไม่เคยเป็นแบบนี้มาก่อนเลย

ทุกวันนี้ก็ยัง งง ว่ามัน หลับไปได้อย่างไร