ตัวอย่างคำถาม
1. การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำว่าจะเริ่มวันที่ 1 ม.ค. 2555 แน่นอนแล้วใช่หรือไม่ ?
กิตติรัตน์ : อาจจะเริ่มต้นได้ก่อนนั้น แต่ต้องขอเล่ากระบวนการว่าหากรัฐใช้วิธีการสั่งให้บริษัทปรับขึ้นค่าแรงให้สูงขึ้น โดยนายจ้างไม่อยากจ่ายสิ่งที่เกิดขึ้นคือ การไม่จ้างงาน ก็จะทำให้นโยบายไม่เป็นผล เพราะสิ่งที่รัฐบาลทำคือต้องการให้คนมีงานทำและมีค่าแรงที่สูงขึ้น ดังนั้นวิธีที่จะทำให้เกิดค่าจ้างขั้นต่ำจาก 215 บาท เป็น 300 บาทในไตรภาคีจึงไม่ใช่วิธีการหลัง แต่วิธีการหลักของรัฐบาลคือ รัฐในฐานะผู้จ้างต้องสำรวจตัวเองก่อนว่ามีแรงงานที่ได้ไม่ถึง 300 บาทอยู่มากแค่ไหน ซ่ึงต้องบอกว่ามีแน่นอน ลูกจ้างรัฐที่มีค่าแรงขั้นต่ำส่วนเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท อันนี้หนักกว่าค่าแรงขั้นต่ำ เพราะไม่มีการควบคุมของไตรภาคีปริญญาตรี ดังนั้น สิ่งที่ทำคือนโยบายของรัฐ รัฐก็จะต้องเดินหน้าก่อน คำว่ารัฐเดินหน้าก่อนก็จะต้องไปโยงกับเรื่องงบประมาณที่ต้องผ่านสภาฯ ดังนั้นการแถลงนโยบายต่อสภาฯทำให้รัฐบาลต้องเร่งทำงานเพื่อเรื่องทั้งหมดกลับเข้ามาภายในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้นเดือน ก.ย.ให้ได้ วันก่อนผมได้คุยกับพวกสมาพันธ์แรงงาน ก็มีคำถามว่าขึ้นค่าแรง 1 ม.ค. 2555 หรือเปล่า ผมก็บอกว่ารอมาได้ตั้งนาน รัฐบาลนี้ทำให้คุณแน่นอน แล้วถ้าถามว่าจะมั่นใจได้อย่างไร ก็บอกว่าถ้าทำไม่ได้รัฐบาลต้องไปถามว่าไปยังไงก็ไม่มีคนเลือกอีกไง
2. หลักการขึ้นเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท คืออะไร
กิตติรัตน์ : หลักการขึ้นเงินดือนปริญญาตรี 15,000 บาท คือ การกระจายรายได้ หมายความว่าคนที่มีรายได้น้อยต้องได้เงินเพิ่มมากกว่าคนที่มีรายได้สูง อย่างพวกอธิบดีก็จะไม่มีสิทธิ์ได้ในสิ่งตรงนี้ แต่ถ้ารัฐบาลบอกเพิ่มทั้งฐาน เช่น บางบริษัทที่กำลังคิดอยู่บอกว่าการเพิ่มเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 หมายความว่าฐานปริญญาตรีที่จะได้เพิ่มคืออีก 30-40% งั้นผู้บริหารระดับบนบริษัทเพิ่มให้อีก 10% ด้วย ผมก็บอกเลยว่าคุณคิดดี ถ้า 10% เงินเดือน 100,000 บาท จะได้เพิ่มอีก 10,000 บาท แต่พนักงานระดับล่างได้เพิ่ม 2-3 พันบาท อันนี้จะไม่ใช่การกระจายรายได้ตามที่รัฐบาลบอก ซึ่งกระบวนการคิดของรัฐบาลคือ 1.ใครต่ำกว่า 15,000 บาท ให้ปรับเป็น 15,000 บาท ส่วนคนที่สูงกว่าไม่ต้องเอา 2.บริษัทต้องสำรวจว่า พนักงานเก่าที่เงินเดือน 16,000-18,000 บาท ที่มีความเก่าแก่ตามกาลเวลาหรือประสบการณ์ ควรที่จะได้รับอะไรมากกว่านั้นหรือไม่
3. ตอนหาเสียงบอก 300 บาททั่วประเทศ แต่ตอนนี้บอกว่าเริ่มที่ข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจ และแรงงานในกรุงเทพฯก่อน ส่วนที่เหลือรอไตรภาคี
กิตติรัตน์ : ก็ไปฟังคุณอภิสิทธิ์ มากไป คำว่าทั่วประเทศผมหมายความว่า รัฐบาลเดินเปรี้ยง ถ้า 300 บาทกับพนักงานที่อยู่กทม.ก็ 300 บาทกับพนักงานที่แม่ฮ่องสอน กระบี่ก็ 300 บาท ถามว่าทั่วประเทศทันทีหรือเปล่าทั่วประเทศ ถามว่าทันที ทันทีที่อะไร ทันทีที่งบประมาณฝั่งรัฐบาลเดินออกไปได้ พนักงานร้านเซเว่น อยู่ที่ไหนก็ 300 บาท ถามว่าทำไม 300 บาท เพราะบริษัทฯให้ความร่วมมือ
4. แล้วบริษัทขนาดเล็กอย่างเอสเอ็มอีจะมีวิธีการช่วยเหลืออย่างไร เพราะหลายแห่งออกมาโอดครวญ
กิตติรัตน์ : มีสำรวจแล้ว และพบหลายเรื่อง เช่น เอสเอ็มอีจำนวนหนึ่งบอกขาดทุน ถ้าขึ้นค่าแรงมาตายแน่ ต้องย้อนกลับไปว่าเอสเอ็มอียอมรับก่อนหรือไม่ที่บอกขาดทุนเยอะ เพราะแจ้งงบการเงินเป็นเท็จเพื่อหนีภาษี ถ้าถามต่อว่าทำไมถึงหนีภาษีเพราะอัตราภาษีสูงจึงไม่อยากเสีย เลยต้องไปโยงกับการลดอัตราภาษีซึ่งต่างจาก นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรมว.คลัง ที่บอกอันนั้นประชานิยม อันนี้ก็บริษัทนิยม ไม่ต้องบริษัทนิยมทุกคนก็พูดกันอยู่แล้วว่าประเทศไทยจะเข้าสู่อาเซียน สิงคโปร์เสียภาษี 18% ไทยเก็บ 30% จะให้นักธุรกิจไปแข่งกับต่างประเทศอย่างไร อยากเล่าให้ฟังว่าไม่ใช่ว่าอันนี้ประชานิยมเอาใจแรงงาน อันนี้ประชานิยมเอาใจเกษตรกร อันนี้เอาใจบริษัท ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแปลง การที่ประเทศไทยยืนบนภาษี 30% มันน่าหนีจะตาย ส่วนจะลงเท่าไหร่นั้นตามที่รัฐบาลประกาศคือปี 2555 เหลือ 23% และในปี 2556 เหลือ 20%
มีการคุยกับแบงก์ชาติหรือไม่
กิตติรัตน์ : ไม่คุย
มีปัญหากันใช่หรือไม่
กิตติรัตน์ : ไม่มี
แต่ทำไมดูเหมือนหลายๆนโยบายแบงก์ชาติสกัดหมดเลย
กิตติรัตน์ : ธปท.ก็คิดของเค้าผมก็คิดของผม
แล้วจะทำงานด้วยกันได้หรือ
กิตติรัตน์ : ได้ เพราะอะไรเพราะเพิ่งแถลงนโยบายเสร็จจะให้ผมเดินไปคุยกับธปท.ก่อนเดี๋ยวก็จะบอกว่ายังไม่แถลงนโยบายมีสิทธิ์อะไรมาบริหารราชการแผ่นดิน
มีแพลนที่จะคุยหรือไม่
กิตติรัตน์ : ต้องคุยแต่ไม่ใช่หน้าที่ผมที่ต้องคุยต้องเป็นหน้าที่นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ที่ต้องคุยกัน
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/eco/197359
อ่านเพื่อประเทืองปัญญาพรรคฝ่ายค้านครับ สรุปทำได้แน่นอนครับ
ถ้าบางคน " มือไม่พาย เอาเท้ามาราน้ำ "
จากคุณ : ภูจอห์น
เขียนเมื่อ : 29 ส.ค. 54 11:34:45 A:202.67.122.114 X:
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น