วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2552

ปม ขจัด "ทักษิณ"... ฉก. 399 มารู้จัก CTIC กัน

WEBSITE ที่น่าอ่าน ?
http://www.csis.org/tnt/ttu/ttu_0310.pdf
http://fpc.state.gov/documents/organization/27533.pdf
http://www.usembassy.it/pdf/other/RL31152.pdf
www.fridaycallege.org

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เคยกล่าวไว้ว่า สหรัฐอเมริกานั้นเป็นเพื่อนที่น่ารําคาญ

ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า เพื่อนที่น่ารําคาญผู้นี้ นอกจากจะยัดเยียดให้จัดตั้ง CTIC อย่างลึกลับแล้ว ยังเปิดเผยรายงานการจัดตั้งดังกล่าวต่อสาธารณะ ให้รัฐบาลไทยต้องขายหน้าอีกต่างหาก !

รัฐบาลไหนแอบไปตกลงให้เกิด CTIC ขึ้น เป็นคำถามที่คนไทยทุกคนอยากได้คำตอบ
หน้าตาเว็บไซต์ ..... แกะรอย CTIC จากฉก. 399 !
หน่วยเฉพาะกิจ 399 หรือฉก. 399 คือ “ข้อมูล”, “หลักฐาน” และ “ใบเสร็จ” ที่แสดงให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกา คือ ตัวการสำคัญที่ทำให้รัฐบาล พม่า ไม่ไว้วางใจและหวาดระแวงไทย
เป็น “มูลเหตุพื้นฐาน” ของความตึงเครียดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2544 และเมษายน 2545

การเผชิญหน้ากันระหว่าง ไทย-พม่า และการใช้นโยบายทางทหารอย่างแข็งกร้าวภายใต้การนำของแม่ทัพภาคที่ 3 ในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นการประกาศปิดด่านแม่สายตั้งแต่ต้นปี 2544, การห้ามไม่ให้ส่งออกยุทธปัจจัย 4 ประเภทเข้าพม่า ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ยารักษาโรค ยานยนต์ ข้าวสาร, การ กักไม่ให้ขบวนรถบรรทุกอุปกรณ์ เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าท่าขี้เหล็กผ่านด่าน แม่สาย ตลอดจนการปะทะกันด้วยกำลังทหารตามแนวชายแดน เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการปรากฏตัวของหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทยหน่วยงานหนึ่ง..... " ฉก. 399 "

*** เหตุการณ์ ต่าง ๆ ๆ เหล่านี้ ทำให้ ท่านนายทักษิณ ชินวัตร ต้องกล่าว วลีสะท้านไปทั้งกองทัพ อย่า โอเว่อร์ รีแอ็ค

*** แล้วก็ได้ทำการ เด้ง สุรยุทธ จุลานนท์ พ้นจาก ผบ.ทบ. ไปเป็น ผบ.สส.

*** เท่ากับ ไปเหยีบ เท้า ของใครบางคน....

*** นี้คือ ปฐมเหตุ แห่งเภทภัย !!!!!!

“หน่วยเฉพาะกิจ 399” -“ฉก. 399”

เป็นหน่วยงานด้านความมั่นคงที่กองทัพบก (ทบ.) ก่อตั้งขึ้นภายใต้การสนับสนุนของกองทัพสหรัฐอเมริกา

แม้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผบ.ทบ.ในขณะนั้น จะลงนามในคำสั่งก่อตั้งเมื่อปลายเดือนเมษายน 2544 แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ฉก. 399 เริ่มปฏิบัติการมาตั้งแต่ปลายปี 2543 ในยุครัฐบาลชวน หลีกภัย แล้ว


ฉก. 399 ตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยกำลังพล 4 กองร้อย มาจากกรมทหารราบที่ 7 จำนวน 2 กองร้อย กองพลรบพิเศษที่ 2 จำนวน 2 กองร้อย และ ตชด.อีก 1 กองร้อย
กอง ทัพสหรัฐส่งหน่วยรบพิเศษที่ประจำการในภาคพื้นแปซิฟิค ณ เกาะกวม เข้ามาทำหน้าที่ช่วยฝึกสอนงานด้านการข่าว และการปฏิบัติการต่อเป้าหมาย

วัตถุประสงค์ – อ้างว่าเพื่อสกัดกั้น และปราบปราม ขบวนการค้ายาเสพติด โดยเฉพาะกำลังพลที่ได้รับการบรรจุเข้า ฉก. 399 จะได้รับการสนับสนุนเบี้ยเลี้ยงจากทางการสหรัฐวันละประมาณ 500-600 บาท/คน ได้รับการสนับสนุนเครื่องมือที่ทันสมัย และยานพาหนะต่าง ๆ จากสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่

นอกจากนั้นยังจะได้รับเงินพิเศษช่วยรบ (พศร.) ปีละ 1 ขั้น เงิน พศร.นี้จะติดตัวกำลังพลไปจนกว่าจะเสียชีวิต

พล.อ.วัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์ อดีตแม่ทัพกองทัพภาคที่ 3 เคยระบุไว้ว่า การตั้งฉก. 399 ขึ้นมามีเป้าหมายที่การสกัดกั้นปราบปรามยาเสพติดโดยเฉพาะ แต่จะไม่มีการรุกล้ำอาณาเขตของประเทศเพื่อนบ้าน และ....

การเข้ามาช่วยเหลือของกองทัพสหรัฐอเมริกา เป็นไปในลักษณะเดียวกับที่เคยช่วยเหลือ รัฐบาลโคลัมเบีย ปราบปรามโคเคน ! แต่แม้จะยืนยันหนักแน่นอย่างนั้น ความเป็นจริงของปฏิบัติการในพื้นที่กลับเป็นไปในลักษณะ.....

“อเมริกาหนุน-ไทยคุม-กะเหรี่ยง (คริสต์) ลงมือ”

การช่วยเหลือของกองทัพ สหรัฐ ต่อ ฉก. 399 อยู่ที่การช่วยเหลือด้านเทคนิคเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการอ่านภาพจากดาวเทียม หาจุดที่ตั้งโรงงานยาเสพติด , การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปราบปรามยาเสพติด รวมไปถึงถ่ายทอด Know-how ที่จำเป็นผ่านชุดการฝึก “การปฏิบัติการต่อเป้าหมาย” ให้ เช่น การฝึกจู่โจมทางเฮลิคอปเตอร์ในเวลากลางคืน

มีนายทหารสหรัฐ เข้ามาทำหน้าที่ในแผ่นดิน ภายใต้อธิปไตยของราชอาณาจักรไทยระหว่าง 12-30 นายส่วน “การปฏิบัติการต่อเป้าหมาย” เป็นหน้าที่ของกำลังพลฝ่ายไทย โดยมีชนกลุ่มน้อย ที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลพม่า เข้าร่วมปฏิบัติการด้วย !

ฉก. 399 เริ่มวางโครงร่างของหน่วยงานมาตั้งแต่กลางปี 2543

เริ่มฝึกเต็มอัตรา เมื่อ วันที่ 17 เมษายน 2544

ฉก. 399 มีลักษณะเดียวกันกับหน่วยงานในสังกัดศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก (ศปก.ทบ.) หมายเลข 514 และ 311 ในอดีต เพียงแต่ภารกิจแตกต่างกัน โครงการ 514 ก่อตั้งขึ้นมา เพื่อปฏิบัติการโต้ตอบกองกำลังของขุนส่าในอดีต ขณะที่โครงการ 311 ก่อตั้งขึ้นมาปฏิบัติงานด้านการข่าวพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า โดยเฉพาะ และเสร็จสิ้นภารกิจไปเมื่อเดือนตุลาคม 2543 หลังจากนั้นจึงมี ฉก. 399 ขึ้นมาทดแทน

เป็นที่รับรู้และพิจารณากันมาแต่ต้นแล้วว่า ฉก. 399 คือ ความสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ความสัมพันธ์ ไทย-พม่า เลวร้ายลงไป เพราะนี่ คือ ช่องทางในการส่งผ่านความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา และประเทศตะวัน ตกเข้าไปยังชนกลุ่มน้อยที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลพม่า ทั้งด้านเงินทุน และอื่น ๆ รวมทั้งเป็นการรื้อฟื้นสถานภาพความเป็น Buffer State ของประเทศไทย ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้วัตถุประสงค์อ้างอิงใหม่ – สกัดกั้นยาเสพติดจากแหล่งผลิตในประเทศพม่า
เหตุการณ์หลายครั้งที่ผ่านมาในช่วงปี 2543 – 2544 บ่งชี้ให้เห็นว่าชนกลุ่มน้อยในพม่า เป็นผู้นำกำลังเข้าปะทะกับคาราวานยาเสพติด แล้วนำยาเสพติด ยาบ้า ที่ยึดได้มามอบให้กับทางการไทย ตัวอย่างที่ “บอกเล่า” ได้ดี คือ กรณียาบ้า 13 ล้านเม็ดเมื่อเดือนเมษายน 2544 ! ยาบ้าของกลางที่กองกำลังนเรศวรตรวจยึดได้ 2 ครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 16 และ 24 เมษายน 2544 รวมกว่า 13 ล้านเม็ดนั้น....

ครั้งแรก 7 ล้านเม็ด พล.อ.วัธนชัย ฉายเหมือนวงศ์ มทภ. 3 ในขณะนั้น บอกว่ากองกำลังกะเหรี่ยงคริสต์ (KNU) ยึดได้หลังปะทะกับคาราวานขนยาเสพติดของกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธ (DKBA) ในฝั่งพม่าแล้วนำมามอบให้กองกำลังนเรศวร

ข่าวในพื้นที่บอกเล่าว่าเมื่อคืนวันที่ 14 เมษายน 2544 มีขบวนรถของเจ้าหน้าที่ทหารไทยลำเลียงกำลังทหารในสังกัด KNU จำนวน 7 คันรถไปปล่อยบริเวณโรงสูบน้ำประปาแม่สอด เพื่อให้ข้ามแม่น้ำเมยไปยังฝั่งพม่า แล้วรับกลับมาในคืนเดียวกัน ต่อมาอีก 1 วัน KNU ก็นำยาบ้า 7 ล้านกว่าเม็ดมามอบให้ทางการไทย

ครั้งที่ 2 มีรายงานว่า ฉก.ร. 4 ตรวจยึดได้หลังเกิดปะทะกับ DKBA บริเวณชายแดนอำเภอพบพระ จังหวัดตาก แต่หน่วยงานอื่น ๆ ในพื้นที่ ไม่มีรายงานเหตุการณ์ปะทะ

ชนกลุ่มน้อย หลายกลุ่มในพม่าหันมาให้ความร่วมมือในการปราบปรามสกัดกั้น ยาเสพติด ยาบ้า ที่มีแหล่งผลิตตามแนวชายแดนประเทศพม่า เริ่มจากกองกำลัง SSA ของ พ.อ.ยอดศึก รวมไปถึง KNU, กองทัพกะเหรี่ยงคะยา (KNPP) ปะล่อง ปะโอ แม้แต่ กลุ่มมอญ เองก็เริ่มมีท่าทีที่จะเข้าร่วมกับแนวทางนี้มากขึ้น

ถือเป็นแนวทางแสวงหาความช่วยเหลือจาก สหรัฐอเมริกา และ โลกตะวันตก ของชนกลุ่มน้อยที่ต่อต้าน รัฐบาลพม่า อีกแนวทางหนึ่ง
เป็นแนวทางที่ประเมินว่าน่าจะเห็นผลเร็วกว่า การชูธงเรียกร้องประชาธิปไตย เพียงธงเดียว ! เพราะ ปัญหายาเสพติดไม่เพียงแต่เป็นปัญหาใหญ่ของไทยเท่านั้น ยังเป็นภัยคุกคามต่อประชาคมโลก เมื่อชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ประกาศเจตนารมณ์สกัดกั้นขบวนการผลิต ค้ายาเสพติด ความช่วยเหลือจากภายนอกก็จะมีเข้ามามากและเร็วขึ้นแน่นอน
การผลักดันให้ชนกลุ่มน้อยในพม่า เข้าร่วมการปฏิบัติการสกัดกั้นยาเสพติด เข้าประเทศไทย นี้ย่อมมีแรงหนุนจาก สหรัฐอเมริกา ด้วยเช่นกัน
โดยมีหน่วยงานในสังกัดกองทัพบกไทยเป็นผู้ควบคุม และชนกลุ่มน้อยในพม่าเป็นผู้ปฏิบัติงาน ! หลัง การออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านยาเสพติดของบรรดาชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในพม่า มีเม็ดเงินสนับสนุนจาก สหรัฐอเมริกา และประเทศตะวันตก เข้ามาค่อนข้างมาก รวมทั้งอาวุธด้วย
แน่นอน – ทุกอย่างผ่าน ประเทศไทย ทั้งสิ้น ! รัฐบาลพม่าแสดงท่าทีไม่พอใจต่อการกำเนิดของ ฉก. 399 มาตั้งแต่ต้น ผ่านข่าวและบทความในหนังสือ The Mirror โดยตั้งธงไว้ว่ารัฐบาลไทยสมคบสหรัฐอเมริกาสนับสนุนกบฏชนกลุ่มน้อย มีอยู่บทความหนึ่งลงตีพิมพ์เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2544 ตั้งชื่อเลียนแบบสุภาษิตไทยว่า....

“ช้างตายทั้งตัวเอาหนังแพะไปปิดไม่มิด”

เนื้อหา เป็นการลงบันทึกความเคลื่อนไหวหน่วยรบพิเศษไทยละเอียดยิบ โดยมุ่งเน้นไปที่กำลังผสม ไทย-สหรัฐอเมริกา เข้าไปให้การสนับสนุนชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้สวามิภักดิ์ต่อรัฐบาลพม่า กองทัพบก และรัฐบาลไทย ยุค ชวน หลีกภัย ออกมาปฏิเสธในทุกข้อกล่าวหา ไม่ว่าจะเป็นการให้การสนับสนุนกองกำลังชนกลุ่มน้อยในพม่า หรือการเปิดพื้นที่ให้ผู้นำชนกลุ่มน้อยเข้ามาพักอาศัยในประเทศไทย พร้อมกันนั้นนายทหารระดับสูงของไทยหลายนาย โดยเฉพาะในระดับกองทัพภาคที่ 3 ก็ออกมาระบุหลายครั้งว่าทางการ พม่า ไม่ให้ความร่วมมือต่อการปราบปรามยาเสพติดเท่าที่ควร งบประมาณในการป้องกันและปราบปรามยาเสพย์ติด แต่ละปีของสำนักคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) อยู่ในราว 1,600-1,900 ล้านบาท
นอกเหนือจากจะได้รับสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลแล้ว ป.ป.ส. ยังได้รับงบสนับสนุนเพิ่มเติมมาจากองค์การสหประชาชาติอีกเป็นวงเงินประมาณ 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 11,250 ล้านบาท
แต่หลายปีที่ผ่านมาผลงานของ ป.ป.ส. ดูจะไม่ค่อยเข้าตาสหประชาชาติเท่าที่ควร สหประชาชาติจึงเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณในการปราบปรามยาเสพย์ติดส่วนใหญ่มาให้กับ “หน่วยปฏิบัติ” -- คือกองทัพบก -- โดยตรง แทนที่จะส่งผ่านให้ ป.ป.ส. ตัวเลขงบประมาณ จากสหประชาชาติในปีหนึ่ง ๆ ตกราว 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ประมาณ 8,000 ล้านบาท

ฉก. 399 ก่อกำเนิดขึ้นเพื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติภายในหน่วยปฏิบัติ” เพื่อรองรับการเปลี่ยน แปลงด้านการสนับสนุนงบประมาณจากสหประชาชาติดังกล่าว

ฉก. 399 มาจากแนวคิดของพล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ผบ.ทบ.ในขณะนั้น และได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล รัฐบาล ที่มี ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคง ! ในชั้นต้น ภาพที่มีกำลังพลจากรบพิเศษ ของสหรัฐอเมริกา เข้ามาทำการฝึกสอนกำลังพล ของกองทัพบก ทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อกังขาเป็นการภายในว่า นี่จะเท่ากับเป็นการอนุญาตให้ต่างชาติ เข้ามาจัดตั้ง “ฐานทัพ” ในประเทศหรือไม่ ถ้าใช่ก็เป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้ เพราะเป็นการละเมิดทั้งรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายอาญา !

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น