วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ตุลาการภิวัตน์ ในแบบ "ตี๋เหรินเจี๋ย" ผู้ค้ำจุนบัลลังก์


"ตี๋เหรินเจี๋ย" อาจเป็นชื่อที่คนไทยไม่คุ้นเคย หรือแทบไม่รู้จัก เว้นแต่ผุ้สนใจ
ประวัติศาสตร์ชาติจีน ในสมัยของพระนางบู๊เช็กเทียน

ตี๋เหรินเจี๋ย เป็นขุนนางคนสำคัญในสมัยราชวงศ์ถัง หรือมหาเสนาบดี ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ
ในการสืบสวนคดี ถือเป็นต้นแบบของ
"ตุลาการ" ในสมัยต่อมา การดำเนินชีวิตและการทำงานของเขา
ทำให้เกิดตำนานของนิยายแนวสืบสวนสอบสวน ถ้าเป็นคำพูดแบบจีน ก็ต้องเรียกว่า เป็นรหัสคดีของจีน
ซึ่งเก่าแก่กว่ายุคสมัยเปาบุ้นจิ้น และซ่งฉืด ในราชวงศ์ซ่ง ถึง 500 ปี

เรื่องราวของ
ตี๋เหรินเจี๋ย ต้องเรียกว่า ดึงดูดยิ่งนักกับความเป็นไป โดยเฉพาะความขัดแย้งในราชสำนัก
ไปสู่การแย่งชิงบัลลังก์ การทำศึกกับชนเผ่าเล็กเผ่นน้อยทางเหนือของประเทศ ถูกเรียบเรียงเป็น
คดีประวัติศาสตร์ที่น่าตื่นเต้นจากเนื้อหาซับซ้อนให้ติดตาม

สำคัญไปกว่านั้น ยังแทรกด้วยคติและแนวคิดแบบจีน ที่ให้ความรู้ประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ถัง
จากภารกิจของชาติบ้านเมือง ตี๋เหรินเจี๋ย มีหน้าที่สะสางคดีในราชสำนัก นำไปสู่การกอบกู้วิกฤตบ้านเมือง
ชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา ด้วยไหวพริบ ปฏิฎาณ

ความเป็น ตี๋เหรินเจี๋ย นี้เอง ในฐานะเป็นแบบอย่างของขุนนางที่ดี ทุ่มเททำงานเพื่อบ้านเมือง
ประชาชน รับใช้ผู้คน ที่รู้ได้จากคำกล่าวของเขาที่ว่า
"ที่จริงชาวบ้านมีข้อเรียกร้องไม่สูง
ขอแต่ให้มีที่ดินทำกิน มีข้าวกินอิ่มท้อง หากเรื่องแค่นี้พวกเราชาวชุนนางยังทำไม่ได้
ก็ควรจะถอดหมวกประจำตำแหน่งออก"


หรือ
"การเป็นขุนนางแค่เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายคน เท่านี้ก็พอแล้ว
ไยต้องกังวลอะไรมากมาย"
จึงไม่แปลกหากมีขุนนางดีๆ ที่ผลักดันให้พระนางบูเช็กเทียน
ได้ริเริ่มทำหลายสิ่งหลายอย่างที่ดีๆ จนได้รับการไว้วางพระทัย

ผู้แต่ง :
เฉียนเยี่ยนชิว ส่วนผู้แปล : เรืองชัย รักศรีอักษร เจ้าของผลงานที่เคยแปลเนื้อหา
คดีสืบสวนสอบสวนอย่าง "ยอดตุลาการราชวงศ์ซ่ง" ได้รับการตอบรับอย่างดีมาแล้ว
จะมาสร้างความตื่นเต้นของการสืบสวนในที่เกิดเหตุ ฉากต่อสู้ และความซับซ้อนของคดี
แทรกด้วยหลักคุณธรรมของการเป็นนักปกครองที่ดี ขุนนางที่ซื่อสัตย์ เดิมเป็นซีรีย์ออกอากาศ
ทางโทรทัศน์เรื่องดังที่ได้รับความนิยมในประเทศจีน ตั้งแต่ปี 2004-2010
(ภาคหนึ่ง 2004 ภาคสอง 2006 ภาคสาม 2008 ภาคสี่ 2010)

ชุดนี้ประกอบด้วยคดีใหญ่ 8 คดี เล่มแรกนี้มี 3 คดี คือ คดีสังหารคณะทูตทูเจี๋ย, คดีลายแทงอำมหิต,
และคดีรอยเลือดรูปพญาอินทรี ซึ่งทั้งหมดสามารถโยงไปสู่การลอบก่อกบฎต่อต้าน
พระนางหวู่เจ๋อเทียนได้ ทั้งยังแฝงวิธีคิดอย่างเป็นตรรกะ ทำให้มีความเป็นเหตุเป็นผล
และชวนติดตามตั้งแต่ต้นจนจบ

ตุลาการภิวัตน์ทั้งหลายในบ้านเมืองของไทย สมควรอย่างยิ่ง ที่ต้องใช้สายตา
ไล่เรียงตัวอักษรจาก หนังสือเล่มนี้ เพื่อย้ำถึงภารกิจ หน้าที่อันถูกต้อง เที่ยงธรรม
เพื่อเป็นที่พึ่งของคนในชาติ และประเทศให้ดำรงอยู่ได้

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1271933487&catid=02

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 เวลา 13:33:33 น.
มติชนออนไลน์

“ตี๋เหรินเจี๋ย” ขุนนางโดดเด่นที่เป็นพวก “ตงฉิน” ผู้เน้นคุณธรรมและความซื่อสัตย์

โดย หนอนอ้วน

ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของจีนนับแต่สมัยที่ “กษัตริย์” หรือ จักรพรรดิ หรือ “ฮ่องเต้”
หรือ โอรสแห่งสวรรค์ยิ่งใหญ่และสูงส่งเพียงหนึ่งเดียวนั้นเต็มไปด้วยเรื่องราว และเรื่องเล่ามากมาย
ทั้งในด้านดีและด้านร้ายของผู้ครอบครองความยิ่งใหญ่ไว้ ในกำมือเพียงผู้เดียวซึ่งถูกบันทึก
อยู่ในหน้ากระดาษแห่งประวัติศาสตร์

ยุคสมัยที่ได้รับการหยิบยกมาเล่าเรื่องมากที่สุดยุคหนึ่งก็คือ ยุคที่จีนถูกปกครองโดยจักรพรรดิ
ทีเป็นผู้หญิง ที่รู้จักกันทั่วโลกในนาม พระนางหวู่เจ๋อเทียน หรือ บู๊เช็กเทียน ที่ถูกนำมาสร้างเป็น
นิยายอิงประวัติศาสตร์ในหลากรูปแบบทั้ง ในแบบหนังสือ และภาพยตร์จอเงิน จอแก้ว

ในแต่ละยุคสมัยของจีนก็จะมีขุนนางโดดเด่นที่เป็นพวก “ตงฉิน” คือเน้นคุณธรรม ความซื่อสัตย์
บางท่านก็เด่นในทางบู๊ คือพวกนักรบ บางท่านก็เด่นเชิงบุ๋น คือพวกนักคิดนักวางแผน

สมัยของพระนางบู๊เช็คเทียน มีขุนนางสำคัญท่านหนึ่งซึ่งเป็นถึงมหาเสนาบดีคู่บัลลังก์
ซึ่งมีความเชี่ยวชาญพิเศษในด้านการสืบสวนสอบสวนคดี ซึ่งถือเป็นต้นแบบตุลาการจีน
เลยก็ว่าได้ ซึ่งมีนามว่า “ตี๋เหรินเจี๋ย” หลายคนอาจไม่คุ้นชื่อเสียงนามเพราะเป็นยุคที่เก่ากว่า
ยุคเปาบุ้นจิ้นและยุคซ่งฉือถึงห้าร้อยปี

ที่สุด ตี๋เหรินเจี๋ย ก็เป็นที่รู้จักอย่าแพร่หลายเมื่อ เฉียนเยี่ยวชิว นักเขียนจีนได้หยิบเรื่องราวของเขา
มาถ่ายทอดเป็นนิยายสืบสวน หรือรหัสคดีอิงประวัติศาสตร์ที่อ่านสนุก ตื่นเต้นและซับซ้อน
ชวนค้นหาตลอดทั้งเรื่องในชื่อ ตี้เหรินเจี๋ย นักสืบคู่บัลลังก์

สำนักพิมพ์มติชน ได้เลือกหยิบรหัสนิยายเรื่องนี้มานำสู่สายตานักอ่านชาวไทยให้ไได้สัมผัสต้น
แบบของการสืบสวนสอบสวนที่สนุกเข้มข้นจนวางไม่ลงผ่านสำนวนการแปลของ เรืองชัย รักศรีอักษร
ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 4 เล่ม ตอนนี้วางแผงก่อนหนึ่งเล่มในชื่อตอน
“สกัดแผนโค่นอำนาจบู๊เช็คเทียน”
ซึ่งจะเป็นการสืบสวนคดีใหญ่ 3 คดี ที่มีเงื่อนงำซับซ้อนและผลิกผันอย่างไม่น่าเชื่อ

คดีแรก เป็นคดีสังหารคณะทูตทูเจี๋ย ที่กระทบถึงความสำพันธ์ระดับชาติ ระหว่างราชสำนักจีน
กับ แคว้นทูเจี๋ย ซึ่งมีความซับซ้อนยิ่ง แต่ตี๋เหรินเจี๋ยก็ค่อยๆ แก้ปมปลดรหัสคดีได้ทีละเปราะๆ
ทำให้เราได้เห็นถึงความรอบคอบ ช่างสังเกต และไม่ด่วนสรุปหากปราศจากหลักฐานและเหตุผลรองรับ
ทำให้คดีคลี่คลายลงได้ และได้มาซึ่งขุนพลคู่ใจ หลี่หยวนฟาง ซึ่งเป็นตัวละครหลักที่ช่วยไข
คดีปริศนามากมายต่อมาด้วย

อีกสองคดีที่อยู่ในตอนนี้คือ คดีฆาตกรรมต่อเนื่องที่อำเภอหูโจว และ คดีรอยเลือดรูปพญาอินทรี
ซึ่งเข้มข้นไม่แพ้กัน ซึ่งทุกคดีล้วนโยงไปสู่การลอบก่อกบฎต่อต้านพระนางหวู่เจ๋อเทียนทั้งสิ้น

แฝงด้วยตรรก ชวนให้ติดตามสอดรับในเรื่อง “เหตุ” และ “ผล” ได้อย่างชัดเจน

http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/03/K8972512/K8972512.html


http://roch.clubdara.com/topic.php?topic=795

พระนางเจ้า อู่เจ๋อเทียน (บู่เซ็กเทียง) ฮ่องเต้ สตรี

องค์แรก, องค์เดียว ใน ปวศ. จีน

ประวัติราชวงศ์ ถัน (ทั้ง) พ.ศ. 1161 - พ.ศ. 1650

ภายหลังพระเจ้า สุยหยานตี้ (ซุยเอี่ยงตี่) พ.ศ. 1147 - พ.ศ. 1160 ภายในพระราชสำนักเกิดความวุ่นวาย
แต่ภายนอกประเทศยังเกิดกรณีย์พิพาทกันคนต่างชาติ สร้างความลำบากยุ่งยาก ยากจนสิ้นเนื้อประดาตัว
แก่บรรดาเหล่าราษฎร ด้วยการรีดนาทาเร้นภาษีอากรของรัฐบาล ในขณะเดียวกัน ก็เกิดเภทภัยธรรมชาติ
อุทกภัยและความแห้งแล้งไปทั่วทุกหัวระแหง การดำรงชีพความเป็นอยู่ของเหล่าประชาชนสุดแค้นแสนลำบาก
จึ่งเกิดบรรดาเหล่าผู้กล้าของแต่ละท้องที่ พากันลุกฮือขึ้นมา ขณะนั้น เจ้าเมือง ไท่หยวน (ไท้ง้วง)
หลี่ย่าน (หลี่เอี่ยง) ก็เป็นหนึ่งในผู้กล้าเหล่านั้น พ.ศ. 1160 เขาได้เริ่มก่อการขึ้นที่เมือง จิ้นหยาน (จิ่งเอี้ยง)
ปัจจุบันคือเมือง ไท่หยวน ในมณฑล ซานซี ยกทัพข้ามแม่น้ำเหลืองมาโจมตี นคร ฉานอาน (เชี่ยงอัง) หรือ
เมือง ต้าซิ่น (ไต่เฮง..ชื่อในสมัยนั้น) ปีต่อมา ข่าวการเสด็จสวรรคตของพระเจ้า สุยหยานตี้ ได้แพร่กระจาย
หลี่ย่าน จึ่งได้ทรงตั้งตนเป็น ฮ่องเต้ สถาปนาราชวงศ์ ถัน ซึ่งก็คือพระเจ้า ถันเกาจู่ (ทั้งเกาโจ้ว)
พ.ศ. 1161 - พ.ศ. 1169

ราชวงศ์ ถัน พ.ศ. 1161 - พ.ศ. 1450 ดำรงราชวงศ์มาได้ 289 ปี มีฮ่องเต้ ครองราชย์ 20 องค์ คือ

1 . พระเจ้า ถันเกาจู่ (ทั่งเกาโจ้ว) หลี่ย่าน (หลี่เอี่ยง) ครองราชย์ พ.ศ. 1161 - พ.ศ. 1169 อยู่ในพระราชสมบัติ 8 ปี

2 . พระเจ้า ถันไท่จง (ทั่งไท้จง) หลี่ซื่อหมิน (หลี่ซี้มิ้ง) ครองราชย์ พ.ศ. 1169 - พ.ศ. 1192 อยู่ในพระราชสมบัติ 23 ปี

3 . พระเจ้า ถันเกาจง (ทั่งเกาจง) หลี่ชิ่ (หลี่ตี่) ครองราชย์ พ.ศ. 1192 - พ.ศ. 1226 อยู่ในพระราชสมบัติ 34 ปี

4 ( 1 ) . พระเจ้า ถันจงจง (ทั่งตงจง) หลี่เซี่ยน (หลี่เ
+++่ยง) ครองราขย์ พ.ศ. 1226 - พ.ศ. 1227 อยู่ในพระราชสมบัติ 1 ปี

5 ( 1 ) . พระเจ้า ถันยวิ่ (ทั่งหยวย) หลี่ตั้น (หลี่ตั่ง) ครองราชย์ พ.ศ. 1227 - พ.ศ. 1233 อยู่ในพระราชสมบัติ 6 ปี

4 ( 2 ) . พระเจ้า ถันจงจง หลี่เซี่ยน ครองราชย์ พ.ศ. 1248 - พ.ศ. 1253 อยู่ในพระราชสมบัติ 5 ปี

5 ( 2 ) . พระเจ้า ถันยวิ่ หลี่ตั้น ครองราชย์ พ.ศ. 1253 - พ.ศ. 1255 อยู่ในพระราชสมบัติ 2 ปี

6 . พระเจ้า ถันเสี้ยนจง (ทั่งเ
+++่ยงจง) หลี่หลงจี (หลี่ล่งกี) ครองราชย์ พ.ศ. 1255 - พ.ศ. 1299 อยู่ในพระราชสมบัติ 44 ปี

7 . พระเจ้า ถันซู่จง (ทั่งซกจง) หลี่เฮง (หลี่เฮง) ครองราชย์ พ.ศ. 1299 - พ.ศ. 1305 อยู่ในพระราชสมบัติ 6 ปี

8 . พระเจ้า ถันไต้จง (ทั่งต่อจง) หลี่ยู่ (หลี่อื๋อ) ครองราชย์ พ.ศ. 1305 - พ.ศ. 1322 อยู่ในพระราชสมบัติ 17 ปี

9 . พระเจ้า ถันเต๋อจง (ทั่งเต็กจง) หลี่ซี่ (หลี่เส็ก) ครองราชย์ พ.ศ. 1322 - พ.ศ. 1348 อยู่ในพระราชสมบัติ 26 ปี

10 . พระเจ้า ถันซุ่นจง (ทั่งสุ่งจง) หลี่ซ่ง (หลี่สง) ครองราชย์ พ.ศ. 1348 อยู่ในพระราชสมบัติไม่กี่เดือน

11 . พระเจ้า ถันเสียนจง (ทั่งเอี่ยงจง) หลี่ซุ่น (หลี่สุง) ครองราชย์ พ.ศ. 1348 - พ.ศ. 1363 อยู่ในพระราชสมบัติ 15 ปี

12 . พระเจ้า ถันมู่จง (ทั่งมกจง (หลี่เฮง หลี่เฮง) ครองราชย์ พ.ศ. 1363 - พ.ศ. 1367 อยู่ในพระราชสมบัติ 4 ปี

13 . พระเจ้า ถันจิ่นจง (ทั่งเก่งจง) หลี่ทาน (หลี่ตำ) ครองราชย์ พ.ศ. 1637 - พ.ศ. 1369 อยู่ในพระราชสมบัติ 2 ปี

14 . พระเจ้า ถันเหวินจง (ทั่งบุงจง) หลี่อาน (หลี่อั่ง) ครองราชย์ พ.ศ. 1369 - พ.ศ. 1383 อยู่ในพระราชสมบัติ 14 ปี

15 . พระเจ้า ถันอู่จง (ทั่งบู่จง) หลี่ย่าน (หลี่เอี๋ยม) ครองราชย์ พ.ศ. 1383 - พ.ศ. 1389 อยู่ในพระราชสมบัติ 6 ปี

16 . พระเจ้า ถันซวนจง (ทั่งซวงจง) หลี่ซิ่น (หลี่ซิ่ม) ครองราชย์ พ.ศ. 1389 - พ.ศ. 1402 อยู่ในพระราชสมบัติ 13 ปี

17 . พระเจ้า ถันยิจง (ทั่งอี่จง) หลี่ซุย (หลี่สุย) ครองราชย์ พ.ศ. 1402 - พ.ศ. 1416 อยู่ในพระราชสมบัติ 14 ปี

18 . พระเจ้า ถันซีจง (ทั่งฮีจง) หลี่ฮวาน (หลี่ฮ้วง) ครองราชย์ พ.ศ. 1416 - พ.ศ. 1431 อยู่ในพระราชสมบัติ 15 ปี

19 . พระเจ้า ถันเจ้าจง (ทั่งเจียวจง) หลี่หัว (หลี่ฮั้ว) ครองราชย์ พ.ศ. 1431 - พ.ศ. 1447 อยู่ในพระราชสมบัติ 16 ปี

20 . พระเจ้า ถันไอตี้ (ทั่งไอตี่) หลี่จู๋ (หลี่จก) ครองราชย์ พ.ศ. 1447 - พ.ศ. 1450 อยู่ในพระราชสมบัติ 3 ปี

ยามเมื่อ หลี่ย่าน บุกยึดนคร ฉานอาน นั้น ทรงแก้ไขกฎหมายกดขี่ของราชวงศ์ สุย เช่น ทุกคน
แม้กระทั่งสามีภรรยา ต้องจ่ายค่าเช่านาให้แก่รัฐบาลเป็นข้าวเปลือกคนละ 3 สือ (เจี๊ยะ)
แก้ให้เป็นเสียคนละ 2 สือ สามีภรรยามิต้องเสีย ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร
ขณะเดียวกันก็แก้ไขบทลงโทษทางอาญาต่อแผ่นดิน 12 ข้อ ยกเว้นการฆ่าคน, ปล้นสะดม, หนีทหาร,
เป็นกบฏ, ต้องโทษประหาร เป็นการซื้อใจประชาชนยังประโยชน์แก่สังคม ขณะเดียวกัน เหล่าผู้กล้า
ที่ลุกฮือขึ้นต่อต้านราชวงศ์ สุย พร้อมกับเขามีอีกจำนวนมิน้อย แต่ทว่า ดินแดนที่ หลี่ย่าน ยึดครอบครอง
ได้นั้นส่วนใหญ่อยู่ทาง กวนจง (กวงตง) เป็นพื้นที่ที่มิสำคัญแก่ทางการเมือง มิเหมาะแก่การส้องสุมกำลังทหาร
อีกทั้งเป็นทำเลมิเหมาะแก่การบุกหรือเฝ้ารักษา อีกทั้งโอรสองค์รองของ หลี่ย่าน เจ้าชาย หลี่ซื่อหมิน
เป็นนักรบระดับกุนซือหัวสมอง ทรงช่วยพระองค์ก่อการสำเร็จอย่างใหญ่หลวง พวกเขาได้วางแผนบุกยึด
ดินแดนแม่น้ำเหลือง และบุกตะลุยยึดถึงลุ่มใต้แม่น้ำ ฉานเจียน (เชี่ยงกัง) จนถึงปี พ.ศ. 1167
แต่ละพื้นที่ที่ถูกเก่งแย่งยึดอำนาจ ก็ถูกปราบปรามรวบรวมไว้ในพระราชอำนาจ เป็นการริเริ่มการรวบรวม
ประเทศจีนได้อีกครั้งหนึ่ง

พ.ศ. 1169 เมื่อผ่านกรณีย์ เสียนอู่เหมิน (เ
+++่ยงบู่ มึ้ง) คือภายหลังการครองราชย์ ของพระเจ้า ถันเกาจู่
ทรงแต่งตั้งโอรสองค์โตเจ้าชาย หลี่เจี้ยนเฉิน (หลี่เกี่ยงเซ้ง) เป็นองค์รัชทายาท โอรสองค์รองเจ้าชาย
หลี่ซื่อหมิน เป็นเจ้า ฉินหวาง (ชิ่งอ๊วง) โอรสพี่น้องทั้งสองมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง

ฉะนั้น เมื่อเดือนที่ 6 เจ้า หลี่ซื่อหมิน ทรงซุ่มวางกองกำลัง ณ ประตูวัง เสียนอู่เหมิน ทรงยิงเกาทัณฑ์
ปลงพระชนม์องค์รัชทายาท สิ้นพระชนม์ พระเจ้า ถันเกาจู่ ทรงยกพระราชบัลลังก์แก่โอรสองค์รอง
เจ้าชาย หลี่ซื่อหมิน เมื่อเดือนที่ 8 ทรงเปลี่ยนชื่อปีเป็นศักราช เจินกวน (เจ็งกวง) นั่นก็คือพระเจ้า ถันไท่จง
อันมีชื่อเสียงทางประวัติศาสตร์จีน ภายใต้การนำการปกครองของพระองค์ ใต้หล้าสุขสงบร่มเย็น
ประชาราษฎร์มั่งมีมั่งคั่ง การศึกษาและการทหารเจริญรุ่งเรือง นักประวัติศาสตร์ขนานนามประวัติศาสตร์
ช่วงนี้ว่า “ระบบการปกครอง เจินกวน” เป็นยุคเริ่มสู่ความเจริญของราชวงศ์ ถัน เหตุเพราะว่า
พระเจ้า ถันไท่จง ทรงมีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาดทันคน และรอบรู้ และเพราะว่าพระองค์ทรง
ตั้งพระทัยเป็น ฮ่องเต้ นักปกครอง พระเจ้า ถันไท่จง ทรงตรัสถามขุนนางของพระองค์ว่า

“การตั้งตนเป็นเจ้า กับการรักษาความเป็นเจ้า อย่างไหนลำบากยิ่งกว่า”

ขุนนาง ฝานเสี้ยนหลิน (ปั่งเ
+++่ยงเล้ง) ทูลตอบ

“รากหญ้าเพิ่งแตกราก พระองค์ทรงเก่งแย่งกับเหล่าผู้กล้า ภายหลังพระองค์ทรงร่วมแรงร่วมใจ
กับเหล่าขุนนางการตั้งตนเป็นเจ้าลำบากยิ่งพ่ะย่ะค่ะ”

ขุนนาง เว่ยเจิ้น (งุ่ยเจ็ง) กราบทูลว่า

“แต่สมัยโบราณมา เจ้าทั้งหลายตั้งตัวเองลำบาก แต่หากปราศจาก
ความร่มเย็นเป็นสุข การรักษาความเป็นเจ้ายิ่งลำบากกว่าพ่ะย่ะค่ะ”


ถันไท่จง ทรงตรัสว่า

“เสี้ยนหลิน ร่วมกับข้าปราบปรามใต้หล้า ออกรบร้อยตาย กลับมาหนึ่งเป็น จึ่งรู้ว่าการตั้งตนเป็นเจ้า
แสนลำบาก เจิ้น ร่วมมือกับข้าปกครองใต้หล้าสุขสงบ หวังความสุขร่ำรวยนั้นอยู่ยั้งมั่นคง แต่ยังคงเกรงว่า
อุบัติเพสภัยจักเกิดกะทันหันเมื่อหนึ่งเมื่อใด จึ่งรู้ว่าการรักษาความเป็นเจ้าลำบากยากยิ่ง ในทางกลับกัน
การตั้งตนเป็นเจ้านั้นลำบาก แต่การรักษาความเป็นเจ้ายิ่งลำบาก ดั่งนั้น จึ่งต้องขอความร่วมมือร่วมใจ
ของเหล่าท่านทั้งหลายแล้ว”

จักเห็นได้ว่า สติปัญญาการชิงไหวชิงพริบ พระเจ้า ถันไท่จง ย่อมเหนือกว่าบุคคลธรรมดา

ในปลายยุคสมัยราชวงศ์ สุย การปกครองล้มเหลว ประชาชนลุกฮือขึ้นมาต่อต้านกันทั่วประเทศ
เป็นบทเรียนที่มิทรงลืมเลือนแก่พระเจ้า ถันไท่จง พระองค์ทรงตรัสว่า

“น้ำสามารถพยุงเรือลอย ทำนองเดียวกันก็สามารถทำให้เรือจม เหล่าประชาชน
จึ่งเปรียบเสมือนน้ำ ชนชั้นปกครองเปรียบเสมือนลำเรือ ดั่งนั้น การปกครอง
จึ่งต้องอาศัยความเป็นธรรม รักความยุติธรรม สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ให้แก่ประชาชน เกิดความสุขสงบในสังคม”


พระองค์ทรงเลือกแฟ้นเหล่าขุนนางเป็นข้าหลวงปกครองท้องถิ่นด้วยทรงระมัดระวัง ทรงให้บันทึกชื่อ
ขุนนางที่มีความดีความชอบ หรือมีโทษเป็นที่เสื่อมศรัทธา พระองค์จักทรงพิจารณาด้วยพระองค์เอง
เป็นระบบการปกครองที่โปร่งใส สร้างความสุขสงบอันร่มเย็นแก่เหล่าประชาราษฎร์

พระเจ้า ถันไท่จง นอกจากทรงมีพระสติปัญญาเหนือผู้คนแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นนักดูคน ทรงรู้จัก
การใช้ผู้คนอันชาญฉลาด นับว่าเป็น ฮ่องเต้ นักปกครองที่หาได้ยากยิ่งในประวัติศาสตร์
การคัดเลือกขุนนางไปเป็นข้าหลวงปกครองท้องถิ่นนั้น พระองค์ทรงพิถีพิถันทรงใช้เวลาไตร่ตรอง
ด้วยความรอบคอบ นับเป็นความสำเร็จของพระองค์ในการบริหารประเทศ ต่อเมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์
พระองค์ทรงมิโปรดวงศ์ษาคณาญาติของพระองค์ผู้ใดเป็นใหญ่โดยส่วนพระองค์ พระองค์ทรงใช้แต่
ผู้ที่พระองค์ทรงเห็นว่ามีสติปัญญาความสามารถ ดั่งเช่น ฝานเสี้ยนหลิน, ตู้หรูฮุ่ย (โต่วยู่ห่วย), และ เว่ยเจิ้น ฯ ล ฯ

เมื่อยุคสมัย เจินกวน มีขุนนางผู้กล้ามีสติปัญญาจำนวนมาก มีเพียง ฉานซุนอู๋จี้ (เชี่ยงซุงบ่อกี๋) เท่านั้น
ที่เป็นพระประยูรญาติ ฝานเสี้ยนหลิน, และ ตู้หรูฮุ่ย เป็นขุนนางส่วนพระองค์เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่ง
เป็นเจ้า ฉินหวาง ส่วนคนอื่นดั่งเช่น เว่ยเจิน, เดิมเป็นบริวารขององค์รัชทายาท หลี่เจี้ยนเฉิน เว่ยฉีจิ่นเต๋อ
(วุยชี่เก่งเต็ก), หลี่จิ้น (หลี่เจ๋ง), เป็นขุนนางที่เข้ามาสวามิภัคดิ์ ขุนนางเหล่านี้ ต่างให้ความคิดเห็นตรงไปตรงมา
บางครั้งก็สร้างความขุ่นเคืองให้กับพระองค์ นั่นก็คือขุนนาง เว่ยเจิน ได้ให้คำแนะนำที่ขัดแย้งเป็นที่
พิโรธแก่พระองค์

มีคนแอบทูลกระซิบพระองค์ว่า ขุนนาง เว่ยเจิน ช่างหลงใหลตนเอง กราบทูลพระองค์ก็เพื่อหวัง
ผลประโยชน์ส่วนตัว พระเจ้า ไท่จง ทรงใช้ขุนนาง อุนยานฟู่ (อุงง่างพัก) ไปสอบถามขุนนาง เว่ยเจิน
มิกี่วันต่อมา เว่ยเจิน เข้าเฝ้ากราบทูลว่า

“ข้าพระองค์ขอกราบทูลว่า ความซื่อสัตย์ของข้าพระองค์ ก็ดั่งขุนนางทั่วๆ ไป หากทั่ว ๆ ไป
มิเชื่อใจข้า ก็ดั่งขุนนางทั่ว ๆ ไป ซึ่งข้าพระองค์มิอาจกราบบังคมทูลพ่ะย่ะค่ะ”

ไท่จง จึ่งทรงเข้าพระทัย ทรงตรัสว่า

“ข้ารู้แล้วละ”

เจิน กราบทูลอีกว่า

“ข้าพระองค์ยินดียิ่งที่รับใช้ฝ่าบาท ข้าพระองค์รับใช้ฝ่าบาทด้วยใจ หาใช่ความสัตย์ไม่”

พระเจ้า ถันไท่จง ทรงตรัส

“ขุนนางประเสริฐ และขุนนางซื่อสัตย์ มิใช่เช่นเดียวกันหรอกหรือ”

เว่ยเจิน ทูลตอบ

“ที่ทาง, โฉนด, เนินน้ำ, อยู่ในควบคุมของขุนนางประเสริฐ หลงฟง (เล่งฮง), ปีกาน (ปี่กัง)
สละชีพเพื่อชาติ เป็นขุนนางผู้ซื่อสัตย์พ่ะย่ะค่ะ”

นี่คือความสามารถของผู้ที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์ เขาเหล่านั้น ได้ร่วมเชิดชูราชวงศ์ด้วยความตั้งใจ
และสมัครใจ เป็นการใช้คนของพระเจ้า ถันไท่จง อย่างมีประสิทธิภาพ

พระเจ้า ถันไท่จง ทรงเห็นการตรวจสอบของขุนนางราชวงศ์ สุย อย่างมิมีประสิทธิภาพ เป็นเหตุให้
ราชวงศ์ สุย ล่มจมอย่างรวดเร็ว พระองค์จึ่งทรงตรวจสอบขุนนางอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มแรก
พระองค์ทรงพิโรธคำกราบทูลของขุนนาง เว่ยเจิน ทรงดำริคิดประหาร แต่ด้วยคำทูลอันหนักแน่น
ของขุนนาง เว่ยเจิน พระองค์ทรงจดจำเป็นบทเรียน ต่อเมืองขุนนาง เว่ยเจิน เจ็บป่วยถึงแก่อาสัญกรรม
พระองค์ทรงจัดงานศพด้วยน้ำพระเนตรร่วง ทรงตรัสว่า

“กระจกทองเหลือง เปรียบเสมือนหมวกเสื้อผ้าของคน กระจกโบราณ
เปรียบเสมือนรู้แจ้งความดีชั่ว กระจกของผู้คน สามารถสอดส่องอุปนิสัยของคน
ข้าสูญเสีย เว่ยเจิน เปรียบเสมือนกระจกของข้าสูญสิ้น”


การตรวจสอบขุนนางนั้นแม้นเป็นเรื่องยาก
แต่การตรวจสอบอุปนิสัยของขุนนางนั้นยิ่งยากกว่า

พระเจ้า ถันไท่จง ทรงนับได้ว่าเป็นผู้นำที่สามารถตรวจสอบจิตใจของขุนนางในประวัติศาสตร์

พระเจ้า ถันไท่จง ทรงสนับสนุนการศึกษาวิยาการ เมื่อพระองค์ยังทรงเป็นเจ้า ฉินหวาง
พระองค์ทรงตั้งสถานบันการศึกษา ทรงรวบรวมเหล่าบัณฑิตมาเผยแพร่

ความรู้ เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ขุนนางบัณฑิต หงเหวินเตี้ยน (ฮ่งบุงเต่ย) ได้รวบรวม
หนังสือวิชาการถึง 20 หมื่นบท

การรับบัณฑิตผู้มีความรู้มารับราชการ จำต้องเปิดโรงเรียนเผยแพร่ความรู้ จากจำนวนคนเป็นหมื่น
คัดเลือกคนมารับราชการมิกี่คน ด้วยพระราชดำริของพระเจ้า ถันไท่จง นี้ จึ่งมีเหล่าบัณฑิตเข้าเมืองหลวง
มาศึกษาทุกทิศทาง มีเหล่าบัณฑิตจากประเทศ เกาหลี, ไป่จี้ (เปะจี่), ซินลอ (ซิงล้อ..เกาหลี), ถู่ฟาน
(โถ่วฮวง..ธิเบต) มาร่วมชุมนุม ดังนั้น การศึกษาของยุคนี้ นับว่าเจริญยิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น