อันหลักการแห่งการบัญชาทัพนั้น แม่ทัพรับโองการจากประมุข ระดมไพร่พล พื้นที่วิบากไม่ตั้งค่าย พื้นที่คาบเกี่ยวพึงคบมิตร พื้นที่กันดารอย่าหยุดทัพ พื้นที่โอบล้อมต้องใช้กลยุทธ์ พื้นที่มรณะต้องสู้ตาย
เส้นทางบางสายไม่ผ่าน กองทัพบางกองไม่ตี หัวเมืองบางเมืองไม่บุก ชัยภูมิบางแห่งไม่ชิง โองการบางอย่างไม่รับ
ฉะนั้น แม่ทัพผู้รู้แจ้งในประโยชน์แห่งเก้าลักษณะ จึงเป็นผู้รู้การศึก แม่ทัพผู้ไม่แจ้งแห่งเก้าลักษณะ แม้จะรู้ภูมิประเทศ ก็จักมิได้ประโยชน์จากพื้นที่ การบัญชาทัพมิรู้กลวิธีแห่งเก้าลักษณะ แม้จะแจ้งในผลดีทั้งห้าก็นำทัพมิได้
เหตุนี้ การคิดคำนึงของผู้ฉลาด จึ่งใคร่ครวญทั้งผลดีผลเสีย ใคร่ครวญผดดี จักทำให้เชื่อมั่นในภารกิจ ใคร่ครวญผลเสีย จักปัดเป่าภยันตรายให้หายสูญ
เหตุนี้ พึงให้เจ้าครองแคว้นอื่นสยบด้วยภยันตราย ให้เจ้าคลองแคว้นอื่นรับใช้ด้วยอิทธิพล ให้เจ้าครองแคว้นอื่นขึ้นต่อด้วยประโยชน์
ฉะนั้น หลักแห่งการบัญชาทัพ อย่างหวังข้าศึกไม่มา เราพึงเตรียมการให้พร้อม อย่าหวังข้าศึกไม่ตีเราพึงทำให้มิอาจโจมตี
ฉะนั้น แม่ทัพจึงมีอันตรายห้าประการ สู้ตายอาจถูกฆ่า กลัวตายอาจถูกจับ ฉุนเฉียวอาจถูกข่ม ซื่อตรงอาจถูกหยาม รักราษฎร์อาจถูกกวน ห้าประการนี้ เป็นความผิดของแม่ทัพ เป็นภัยแก่การบัญชา กองทัพล่มจมแม่ทัพมอดม้วย ก็ด้วยอันตรายห้าประการนี้ จักไม่พินิจพิเคราะห์มิได้ ิ
บทวิเคราะห์
บนนี้ ที่สำคัญพูดถึงการแก้ไขปัญหาอย่างผลิกแพลงภายใต้สภาพการณ์พิเศษ ซุนวูเน้นว่าจะต้องสันทัดในการปรับเปลี่ยนวิธีรบอย่างผลิกแพลงตามสถานะของสงคราม มิฉะนั้นแล้วแม้จะ “รอบรู้ภูมิประเทศ” ก็มิอาจ “ได้ประโยชน์จกพื้นที่” แม้จะรู้แจ้งใน “ผลดีทั้งห้า” ก็ “นำทัพมิได้” ซึ่งก็ย่อมไม่อาจจะได้ชัยชนะในสงครามอย่างแน่นอน
เพื่อป้องกันแม้ทัพมิให้ต้องได้รับความปราชัยเพราะนำหลักการไปใช่อย่างตายตัว ซุนวูจึงเสนอความเห็นอย่างแจ่มชัดว่า “เส้นทางบางสายไม่ผ่าน กองทัพบางกองไม่ตี หัวเมืองบางเมืองไม่บุก ชัยภูมิบางแห่งไม่ชิง โองการบางอย่างไม่รับ” ซึ่งในที่นี้ไม่รวมถึงการเรียกร้องให้แม่ทัพแก้ไขปัญหาอย่างผลิกแพลง ตลอดจนทัศนะ “มีสิ่งที่ไม่ทำ จึงจะมีสิ่งที่ทำได้” และ “เมื่อมีสิ่งที่ควรเอา จึงจำต้องมีสิ่งที่ไม่เอา” อันแนววิภาษวิธีแบบง่ายๆด้วย
ซุนวูเห็นว่า เพื่อบรรลุจุดประสงค์ของยุทธการที่กำหนดไว้ ต่อเป้าหมายที่ไม่มีความสลักสำคัญต่อสถาการณ์โดยส่วนรวม ก็ควรจะไม่ตี ไม่บุก ไม่ชิง “อย่างเด็ดเดียว” ดังนี้ จึงจะสามารถบรรลุซึ่เป้าประสงค์สำคัญของยุทธการนั้นๆได้
“การคิดคำนึงของผู้ฉลาด จึงใคร่ครวญทั้งผดดีผลเสีย” นี้เป็นความคิดสำคัญอีกประการหนึ่งที่ซุนวูได้เสนอไว้ในบทนี้ เขาเรียกร้องแม่ทัพจะต้องมองปัญหาอย่างรอบด้าน ในสถานการณ์ที่เป็นประโยชน์จะต้องมองเห็นด้านที่ไม่เป็นประโยชน์ ในเงื่อนไขที่ไม่เป็นประโยชน์ จะต้องมองเห็นด้านที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ จึงจะสามารถเสาะหาผลประโยชน์หลีกเลี่ยงภยันตราย ป้องกันไว้ล่วงหน้าได้
ในด้านความคิดการเตรียมรบ ซุนวูได้เสนอทัศนะ “อย่าหวังข้าศึกไม่มา เราพึงเตรียมการให้พร้อม อย่างหวังข้าศึกไม่ตี เราพึงทำให้มิอาจโจมตี” เขาเน้นว่า ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตาม อย่าเอาความหวังไปฝากที่ข้าศึกคงจะ “ไม่มา ไม่ตี” แต่ควรจะเตรียมการให้พรักพร้อมทำให้ข้าศึกไม่มีโอกาส ไม่มีช่องโหว่ให้โจมตี เป็นที่เห็นชัดว่า ทัศนะเหล่านี้เป็นคุณและมีค่าอย่างยิ่ง
คำว่า “เก้า” ใน “เก้าลักษณะ” นั้น มิได้หมายถึงเก้าตามจำนวนตัวเลข ในบทนี้ “เก้า” ในความหมายของภาษาจีน หมายถึง หลากหลาย ต่างๆนานา “เก้าลักษณะ” ที่แม้ก็หมายถึง ลักษณะต่างๆ” หรืออีกนักหนึ่ง คือ “สภาพการรบที่มีลักษณะหรือการเปลี่ยนแหลงหลากรูปหลายแบบ” นั่นเอง
ที่ว่า “ผลดีทั้งห้า” ก็คือที่ว่า “เส้นทางบางสายไม่ผ่าน กองทัพบางกองไม่ตี หัวเมืองบางเมืองไม่บุก ชัยภูมิบางแห่งไม่ชิง โองการบางอย่างไม่รับ” 5 ประการด้วยกัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น