คนชั้นกลางของไทยเป็นพวกดัดจริต เห็นแก่ตัว น่ารังเกียจ ไม่อ่านหนังสือ ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น แล้วยังเป็นเจ้าของวัฒนธรรมกระแดะ
อาจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ อธิบายไว้ในนิตยาสาร ฅ คน (ฉบับมีนาคม 2552) เรื่องหญิงไทยได้ผัวฝรั่งแก่ ๆ ก็เพราะหญิงไทยยากจน มองการแต่งงานเป็นการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ สร้างฐานะครอบครัว แล้วเป็นที่พึ่งของพ่อแม่ ไม่ใช่เรื่องศักดิ์ศรีของสตรีไทย หรือของชาติไทย
"เรื่องศักดิ์ศรีเป็นเรื่องของคนชั้นกลาง" แล้วย้ำว่า "ผู้หญิงชนชั้นกลางที่สามารถหาแดกได้ด้วยตัวเอง" อาจารย์นิธิยกตัวย่างศักดิ์ศรีนี้อีกว่า
"เวลา ที่อีหล้าไปหากิน หรือออกไปเป็นโสเภณีของภาคเหนือ นี่น่าสงสารมากนะ เขารับเอาภาระของลูกผู้หญิงในสมัยโบราณมาเป็นภาระของตัว ในเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการที่เขาจะทำภาระนั้นให้สำเร็จได้ เช่น
พ่อ แม่ไม่มีที่นาเหลืออยู่อีกแล้ว อีหล้านี่ ธรรมดาสมัยก่อน คือคนที่จะได้ที่นาผืนสุดท้าย รวมทั้งที่ที่เป็นเรือนตั้งอยู่ด้วย เพราะอีหล้าต้องรับผิดชอบพ่อแม่ในยามแก่
แต่บัดนี้ไม่มีปัจจัยที่จะให้เขารับเอาภาระอันนั้นได้อีกแล้ว ก็เหลืออยู่แค่ที่นาอันน้อยเท่านั้นเองที่จะเลี้ยงพ่อแม่ได้
เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องเศร้า ไม่ใช่เรื่องที่คุณจะมาพูดถึงศักดิ์ศรีส้นตี...หมาอะไรแบบคนชั้นกลางในเมืองซึ่งมันไม่เข้าใจ"
"คน ชั้นกลางที่ไหน ๆ มันมักจะน่ารังเกียจทั้งนั้น โดยเฉพาะคนชั้นกลางไทย เพราะแม่...ไม่อ่านหนังสือด้วย ไม่สนใจห่าเหวอะไรทั้งสิ้นเลย เพราะฉะนั้นมันจะเป็นพวกแบบนี้ พวกดัดจริต เห็นแก่ตัว ไม่เข้าใจห่าอะไร แล้วนึกว่าตัวเองเก่ง เที่ยวตัดสินนู่นตัดสินนี่อยู่ตลอดเวลา"
"ศีลธรรมจริยธรรมที่สอนกันในโรงเรียน ก็ล้วนแต่เป็นศีลธรรมจริยธรรมของคนชั้นกลางทั้งสิ้น
คุณ บอกลูกผู้หญิงเรา รักนวลสงวนตัว อ้าว ไอ้เหี้... สมัยก่อนนะ ส่วนใหญ่ของการแต่งงาน คือ การพาหนี แล้วก็มีลูกหรือไม่มีลูกก็แล้วแต่ เขาก็กลับมาขอขมากันภายหลัง ไม่เห็นแปลกเลย"
นอกจากนั้นคน ชั้นกลางยังอยู่ในวัฒนธรรมกระแดะ เรื่องนี้ อาจารย์นิธิเขียนบอกไว้ในมติชนสุดสัปดาห์(ฉบับวันที่ 20-26 มีนาคม 2552 หน้า 28) ว่า คนกลุ่มเดียวที่ไม่พอใจสถานภาพของตัวที่สุดคือคนชั้นกลาง
ใน ขณะที่คนชั้นสูงพอใจที่เป็นคนชั้นสูง และอยากให้ลูกหลานได้เป็นคนชั้นสูงชั่วฟ้าดินสลาย ชาวนาไม่รู้ หรือไม่สามารถเป็นอะไรอื่นได้ ก็ต้องรักษาความเป็นชาวนาของตัวไว้ และต้องส่งต่อให้ลูกหลานอย่างไม่มีทางเลือก
"แต่ คนชั้นกลางอยากไต่เต้าให้สูงขึ้นไป จนกลายเป็นคนชั้นสูง พวกเขาจึงเป็นคนกลุ่มเดียวที่ไม่อยากเป็นอย่างที่เขาเป็น ด้วยเหตุดังนั้น วัฒนธรรมของคนชั้นกลางในทุกสังคม จึงเป็นวัฒนธรรมกระแดะเสมอ"
อาจารย์นิธิสรุปว่า คนชั้นกลางที่กำลังผุดขึ้นมา (emerging)ในสังคมต่าง ๆ มีธรรมชาติ "จารีตนิยม" สูง เพราะในกระบวนการแปรเป็นคนชั้นกลางทางวัฒนธรรม คือการสลัดทิ้งรากเหง้าตัวเอง หันไปยึดอุดมคติทางวัฒนธรรมของคนชั้นสูง แล้วสร้าง "วัฒนธรรมกระแดะ" ขึ้นเป็นของตนเอง
มีตัวอย่างทางสังคมของ "วัฒนธรรมกระแดะ" คือ "ไม่ ชอบผู้หญิงแก้ผ้า, ตกใจที่ลูกหลานคนชั้นเดียวกับตัวขายบริการทางเพศผ่านอินเตอร์เน็ต, (แต่ถ้าเป็นลูกหลานคนชั้นล่าง ก็รับได้ และสรรเสริญว่า มีคุณแก่สังคมที่ทำให้คดีฉุดคร่าอนาจารน้อยลง), ยอมเสียเงินไปซื้อการปฏิบัติธรรมมาบริโภค, รังเกียจการคอร์รัปชั่นเข้ากระดูกดำ แต่พร้อมจะหยิบแบงก์ร้อยเผื่อแผ่แก่ตำรวจจราจร ฯลฯ"
แต่คนจนๆคนเล็ก ๆ ยังไม่มีโอกาสดัดจริตใช้วัฒนธรรมกระแดะ เพราะยังถูกกดทับด้วยสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมไทย อาจารย์นิธิสรุปว่า
"คน จน... หรือคนเล็กๆทั้งหลาย มันถูกวัฒนธรรม ถูกอะไรในสังคมไทยกดทับมาเป็นเวลาร้อยๆปี มันขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ฉะนั้นเมื่อไหร่ที่เขาลุกขึ้นยืนแล้วสู้ได้ เขาจะเปลี่ยนไป คือเหมือนกับเกิดใหม่กลายเป็นคนใหม่อีกคนขึ้นมา"
ที่มา คอลัมน์ สยามประเทศไทย มติชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น