วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความจริงที่เจ็บปวด

เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยได้ทำกรอบการค้าเสรีกับนานาประเทศมากมายทั้งกรอบการค้าเสรีข้อตกลง ทางการค้าระหว่าง 2 ประเทศหรือเอฟทีเอ ที่มีผลบังคับใช้แล้วหลายฉบับ เช่น เอฟทีเอไทย-จีนเอฟทีเอไทย-อินเดีย เอฟทีเอไทย-ออสเตรเลีย หรือเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่นแม้กระทั่งข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า10 ประเทศภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว เราสามารถส่งสินค้าออกไปขายในประเทศเหล่านี้โดยไม่เสียภาษี หรือภาษี 0% ตามกรอบข้อตกลงในกลุ่มสินค้าต่างๆ ที่เซ็นต่อกันไว้แต่เชื่อหรือไม่ว่า?วันนี้มีผู้ส่งออกไปใช้สิทธิประโยชน์ใน ด้านภาษีดังกล่าวน้อยมากแค่ 5% อีก 95% ยังยินดีเสียภาษีตามปกติเพราะอะไร?เมื่อ “บางกอกบิสิเนส” ได้พูดคุยกับผู้ส่งออก ก็รู้ว่าสาเหตุหนึ่งที่ผู้ส่งออกหลายคนไม่สนใจใช้สิทธิประโยชน์ ก็เพราะว่าความยุ่งยากในการขอแบบฟอร์มดี หรือที่เรียกกันว่าใบ C/O (Certificate ofOrigin) ซึ่งมีขั้นตอนยุ่งยาก ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม และต้องกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งที่มาของวัตถุดิบหนังสือรับรองแหล่ง กำเนิดสินค้าแบบดี (Certificate ofOrigin Form D) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความ

ตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff: CEPT) สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free TradeArea : AFTA) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา รวมถึงข้อตกลงเอฟทีเอกับประเทศคู่เจรจานอกจากนี้ ยังมี หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าแบบเอ(Certificate of Origin Form A) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร เป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences : GSP) โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้า สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษฯ GSP อาทิ สหภาพยุโรป แคนาดาญี่ปุ่น เป็นต้นหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าแบบ จี.เอส.ที.พี.(Certificate of Origin Form GSTP) เป็นหนังสือรับรองฯที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษภาย ใต้ระบบการแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนา(Global System of Trade Preferences : GSTP) ได้แก่แอลจีเรีย อังโกลา อาร์เจนตินา บังกลาเทศ บราซิล เป็นต้นซึ่งผู้ประกอบการบางคนมองว่าการกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สินค้าในแบบฟอร์มดีถือเป็นการเปิดเผยความลับของบริษัท เลยไม่ต้องการเข้ามาใช้สิทธิประโยชน์ ในขณะที่ผู้ประกอบการอีกจำนวนมากไม่เข้าใจในวิธีการใช้แบบฟอร์มดังกล่าวบาง คนกรอกรายละเอียดผิดพลาด แทนที่จะได้รับ

สิทธิประโยชน์ทางภาษี 0% กลับถูกปรับ ซึ่งค่าปรับดังกล่าวคิดเป็นจำนวนเงินแล้ว ปรากฏว่ามากกว่าการเสียภาษีตามปกติเสียอีกเช่น ผู้ส่งออกผลิตเสื้อขึ้นมาตัวหนึ่งแล้วใช้ด้ายที่เข้าใจว่ามีแหล่งกำเนิดภาย ในประเทศไทย โดยกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มดีทุกขั้นตอน แต่เมื่อสินค้าไปถึงประเทศผู้นำเข้าปรากฏว่าสืบย้อนกลับพบว่า วัตถุดิบ คือ ด้ายที่นำมาผลิตไม่ใช่ด้ายที่มีแหล่งกำเนิดในเมืองไทย จึงถูกปรับในฐานะที่กระทำผิดหลักการตรงนี้เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการจำนวนมาก ไม่กล้าเข้าไปใช้สิทธิประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าว เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดปัญหาในภายหลังแต่สำหรับคนที่เข้าใจรายละเอียดเกี่ยว กับแหล่งกำเนิดสินค้าอย่างแท้จริงจะได้เปรียบจากข้อตกลงเหล่านี้มาก ยกตัวอย่าง เช่นเครื่องดื่มจากประเทศยุโรปที่ถูกนำไปผลิตในประเทศอาเซียนโดยสามารถใช้ สิทธิด้านแหล่งกำเนิดสินค้า ทำให้สินค้าดังกล่าวส่งเข้ามาขายในกลุ่มประเทศอาเซียนได้โดยไม่ต้องเสียภาษี ประเทศไทยยังมีผู้ประกอบการไม่รู้เรื่องเหล่านี้อีกจำนวนมากไม่เข้าใจใน สิทธิประโยชน์ดังกล่าวอีกจำนวนมากในขณะที่รัฐบาลก็ตั้งหน้าตั้งตาเซ็นข้อ ตกลงทางการค้าอย่างเดียว โดยไม่สนใจให้ความรู้กับผู้ประกอบการเท่าที่ควรวันนี้กำลังจะมีการเปลี่ยน แปลงการแจ้งแหล่งกำเนิดสินค้าจากเดิม ที่ต้องกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มดีของราชการมาให้ผู้ส่งออกแจ้งได้โดยตรง ผ่านใบขนสินค้าของบริษัท เพื่อลดขั้นตอนความยุ่งยากและไม่ต้องกลัวความลับเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้าจะ รั่วไหลถามว่า? มีผู้ประกอบการกี่คนที่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งที่เตรียมจะ ทดลองใช้ในปีหน้าเมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของบประมาณเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ไปก็ฟาวล์ได้รับคำตอบจากต้นสังกัดที่ดูแลงบประมาณด้านนี้ว่า..ไม่มีเงิน อนิจจา! นี่แหละเรื่องเศร้าของข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น